ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

พระราชพิธีพิเศษในรัชกาลปัจจุบัน : พระราชพิธีกาญจนาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๓๙, พระราชพิธีพิเศษในรัชกาลปัจจุบัน : พระราชพิธีกาญจนาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๓๙ หมายถึง, พระราชพิธีพิเศษในรัชกาลปัจจุบัน : พระราชพิธีกาญจนาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๓๙ คือ, พระราชพิธีพิเศษในรัชกาลปัจจุบัน : พระราชพิธีกาญจนาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๓๙ ความหมาย, พระราชพิธีพิเศษในรัชกาลปัจจุบัน : พระราชพิธีกาญจนาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๓๙ คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
พระราชพิธีพิเศษในรัชกาลปัจจุบัน : พระราชพิธีกาญจนาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๓๙

           ในศุภวาระที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ  ๕๐  ปี  ในวันที่  ๙  มิถุนายน  พุทธศักราช  ๒๕๓๙  เป็นมหามงคลสมัยอันพิเศษยิ่ง  และมิเคยปรากฏในประวัติศาสตร์ไทยมาก่อน  จึงยังความปลื้มปีติยินดีมาสู่พสกนิกรโดยทั่วหน้า  สมควรที่รัฐบาลและประชาชนชาวไทยจะจัดงานเฉลิมฉลองครั้งยิ่งใหญ่  ถวายเป็นราชสักการะและถวายชัยมงคลเพื่อให้ประชาชนทั่วประเทศได้แสดงความกตัญญูกตเวทิตาคุณ  ด้วยความจงรักภักดีแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ  เพื่อให้การจัดงานดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยถูกต้องตามโบราณราชประเพณีและสมพระเกียรติขั้นแรก  รัฐบาลจึงได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณา  ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจัดงานพระราชพิธี และขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยเกี่ยวกับระยะเวลาการจัดงานและชื่อของงาน

           พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  พระราชทานพระราชกระแสรับสั่งในการจัดงานดังกล่าวว่า  เขตงานเฉลิมฉลองทรงครองราชย์ครบ  ๕๐  ปี  ควรเริ่มต้นตั้งแต่วันที่  ๑  มกราคม  พุทธศักราช  ๒๕๓๘  อันเป็นวันขึ้นต้นปีที่  ๕๐  ในรัชกาลตามปฏิทินหลวง และจะให้สิ้นสุดในวันที่  ๙  มิถุนายน  พุทธศักราช  ๒๕๓๙หรือจะเลยไปจนสิ้นปี  ๒๕๓๙  ก็ได้ และพระราชทานชื่อการจัดงานนี้ว่า  “การจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ  ๕๐  ปี”  รัฐบาลจึงได้กำหนดวันสิ้นสุดของการเฉลิมฉลอง คือ  วันที่  ๓๑  ธันวาคม  พุทธศักราช  ๒๕๓๙  ส่วนการประกอบพระราชพิธีเฉลิมฉลอง  ตรงกับวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ ๕๐  ปี  คือวันที่  ๙  มิถุนายน  พุทธศักราช  ๒๕๓๙  นั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  พระราชทานชื่อว่า  “พระราชพิธีกาญจนาภิเษก”

           รัฐบาลจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ  ๕๐  ปี  มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ  กำหนดวัตถุประสงค์ของการจัดงานไว้เป็น  ๔  ประการ คือ เพื่อเผยแพร่เกียรติคุณของชาติไทยที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาแต่โบราณกาลกว่า ๗๐๐ ปี เพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณและพระบุญญาธิการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  เพื่อน้อมนำจิตใจประชาชนชาวไทยให้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณพร้อมใจกันเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท และเพื่อสร้างถาวรวัตถุ หรือสิ่งสาธารณะอันเป็นประโยชน์แก่ชาติ  ศาสนา  และประชาชน ไว้เป็นอนุสรณ์ในมหามงคลวโรกาสนี้

          ส่วนสำนักพระราชวังได้ออกหมายกำหนดการงานฉลองสิริราชสมบัติครบ  ๕๐  ปี  และพระราชพิธีกาญจนาภิเษก  ไว้เป็น  ๖  รายการด้วยกันคือ  พระราชพิธีเฉลิมพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลและพระราชกุศลทักษิญานุปทาน พระราชพิธีบวงสรวงสมเด็จพระมหากษัตริย์ในอดีต และเสด็จออกมหาสมาคมทรงรับการถวายชัยมงคลพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ  ๕๐  ปีกาญจนาภิเษก งานคณะทูตานุทูตและผู้แทนฝ่ายกงสุลถวายชัยมงคล  งานสโมสรสันนิบาตเฉลิมพระเกียรติและถวายชัยมงคล  ณ  ทำเนียบรัฐบาลและงานสวนสนามแสดงแสนยานภาพของกองทัพไทย  ซึ่งจะขอกล่าวถึงพระราชพิธีและงานต่างๆ  ข้างต้นพอสมควร           วันที่  ๙  มิถุนายน  พุทธศักราช  ๒๕๓๙  เวลา  ๑๐  นาฬิกา  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  และสมเด็จพระนางเจ้าฯ  พระบรมราชินีนาถเสด็จ  พระราชดำเนินไปยังพระที่นั่งกาญจนาภิเษกท้องสนามหลวง  เมื่อทรงศีลจบแล้วเสด็จพระราชดำเนินไปยังมณฑลพิธีบวงสรวง  ทรงแปรพระพักตร์สู่ปราสาทพระเทพบิดร  ในพระบรมมหาราชวัง  แล้วทรงจุดธูปเทียนเครื่องราชสักการะ  บวงสรวงสมเด็จพระมหากษัตริย์ในอดีตจากนั้น  ประทับ  ณ  มุขพระที่นั่งด้านทิศตะวันออกพระราชครูพราหมณ์อ่านประกาศบวงสรวง

           พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกมหาสมาคม  ณ  มุขพระที่นั่งด้านทิศเหนือประทับพระแท่นราชอาสน์ภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร  ชาวพนักงานประโคมมโหระทึก  สังข์แตร  ทหารกองเกียรติยศ  ๓  เหล่าทัพถวายความเคารพ  แตรวงบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี  ทหารบก  ทหารเรือ  ทหารอากาศ  ยิงปืนใหญ่เฉลิมพระเกียรติฝ่ายละ  ๒๑ นัด พระสงฆ์ทั่วราชอาณาจักรเจริญชัยมงคลคาถา  วัดทั่วราชอาณาจักรย่ำระฆังพร้อมกับการประกอบพิธีกรรมของศาสนาอื่น

           สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ  สยามมกุฎราชกุมาร  นายกรัฐมนตรี  ประธานรัฐสภา และประธานศาลฎีกา ทรงเปิดเละเปิดกรวยกระทงดอกไม้เป็นการถวายดอกไม้ธูปเทียนแพ  แล้วกราบบังคมทูลถวายชัยมงคลตามลำดับ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสตอบเป็นอันเสร็จพระราชพิธี

           กระแสพระราชดำรัสตอนหนึ่งมีความว่า
                 “...ในโอกาสพิเศษนี้  ข้าพเจ้าจึงขอให้ท่านทั้งหลายในมหาสมาคมนี้  ตลอดจนประชาชนชาวไทยทั่วหน้า ได้ตั้งความคิดจิตใจให้แน่วแน่  หนักแน่นอยู่ในความสัจสุจริต และความขยันหมั่นเพียร  ความเพียรที่ถูกต้องเป็นธรรมและพึงประสงค์นั้น คือ ความเพียรที่จะกำจัดความเสื่อมให้หมดไป และระวังมิให้เกิดขึ้นใหม่ อย่างหนึ่ง กับความเพียรที่จะสร้างสรรค์ความดีความเจริญให้เกิดขึ้น และระวังรักษามิให้เสื่อมสิ้นไป อย่างหนึ่ง ความเพียรทั้งสองประการนี้เป็นอุปการะอย่างสำกัญแก่การปฏิบัติตนปฏิบัติงานถ้าทุกคนในชาติจะได้ตั้งตนตั้งใจอยู่ในความเพียรดังกล่าว ประโยชน์และความสุขก็จะบังเกิดขึ้นพร้อม ทั้งแก่ส่วนตัวและส่วนรวม ประเทศชาติของเราก็จะสามารถรักษาความเป็นปรกติมั่นคงพร้อมกับพัฒนาให้เจริญรุดหน้าไปได้ดังปรารถนา...”

พระราชพิธีพิเศษในรัชกาลปัจจุบัน : พระราชพิธีกาญจนาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๓๙, พระราชพิธีพิเศษในรัชกาลปัจจุบัน : พระราชพิธีกาญจนาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๓๙ หมายถึง, พระราชพิธีพิเศษในรัชกาลปัจจุบัน : พระราชพิธีกาญจนาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๓๙ คือ, พระราชพิธีพิเศษในรัชกาลปัจจุบัน : พระราชพิธีกาญจนาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๓๙ ความหมาย, พระราชพิธีพิเศษในรัชกาลปัจจุบัน : พระราชพิธีกาญจนาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๓๙ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทย ฉบับกาญจนาภิเษก

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu