ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

กระบวนการพ่นสี, กระบวนการพ่นสี หมายถึง, กระบวนการพ่นสี คือ, กระบวนการพ่นสี ความหมาย, กระบวนการพ่นสี คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
กระบวนการพ่นสี

          องค์ประกอบในการพ่นสีชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ มีรายละเอียดดังนี้

          ๑. ปืนและปั๊มดูดสี พ่นสี : มีทั้งชนิดที่พ่นด้วยคนงาน และชนิดที่พ่นด้วยเครื่องพ่นอัตโนมัติ
          ๒. ปั๊มลม : ต้องเป็นชนิดที่ขจัดน้ำมันออกจากลม เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวดันสีออกจากปืนพ่นให้เป็นละออง (สเปรย์)
          ๓. โซ่หิ้วชิ้นงาน : เพื่อทำหน้าที่หิ้วไม้แขวนชิ้นงานเข้าไปในห้องพ่นสี ห้องอบสีให้แห้ง วัสดุ : ทำด้วยโลหะเหล็กทนความร้อน
          ๔. ห้องพ่นสี : เป็นห้องสำหรับทำการพ่นสี ซึ่งจะมี ๒ ห้องเรียงกันคือ ห้องพ่นสีรองพื้น และห้องพ่นสีจริง คุณสมบัติของห้องคือ จะต้องสามารถป้องกันฝุ่นและผง และควบคุมปริมาณอากาศเข้า-ออกอย่างสมดุลกัน มีม่านน้ำไว้ป้องกันไม้ให้ละอองสีเกาะติด มีช่องสำหรับให้ละอองสีถูกดูดออกไปภายนอก
          ๕. ห้องพักตัวชิ้นงาน : เพื่อใช้เป็นห้องพักตัวหลังจากชิ้นงานถูกพ่นสีจากห้องพ่นสีแล้ว
          ๖. ห้องอบสี : เพื่อใช้อบสีให้แห้ง ซึ่งห้องดังกล่าวจะได้รับพลังงานความร้อนจากก๊าซแลพีจี โดยใช้อุณหภูมิในการอบ ๗๐-๗๕ องศาเซลเซียส สำหรับชื้นงานพลาสติก และ ๑๒๐-๑๓๐ องศาเซลเซียส สำหรับชิ้นงานเหล็ก
          ๗. สี : มีใช้อยู่ ๓ ชนิด คือ สีโซลิด สีเมแทลลิกส์ และสีทนความร้อน โดยทั้ง ๓ ชนิดเป็นสีชนิดที่ต้องผสมกับทินเนอร์
          ๘. น้ำยาผสมสี (ทินเนอร์) : ใช้ผสมสีเพื่อให้สีมีความหนืดตามมาตรฐานที่กำหนด
          ๙. ชิ้นงาน : มีทั้งชิ้นงานพลาสติกและชิ้นงานเหล็ก
          ๑๐. ไม้แขวนชิ้นงาน : ใช้สำหรับแขวนชิ้นงานซึ่งจะแขวนชิ้นงานได้จำนวนมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับขนาดและชนิดของชิ้นงาน
          ๑๑. ห้องล้างทำความสะอาดชิ้นงาน : เป็นห้องสำหรับล้างชิ้นงานให้สะอาด ปราศจากฝุ่นและไขมัน โดยใช้สารเคมีเป็นส่วนผสมกับน้ำ แล้วฉีดผ่านหัว ฉีดพ่นไปบนชิ้นงาน
          ๑๒. ชุดจ่ายอากาศ : เพื่อจ่ายอากาศบริสุทธิ์จากภายนอกเข้าไปในห้องพ่นสี เพื่อทำให้ระบบการหมุนเวียนอากาศในห้องพ่นสีเป็นไปตามมาตรฐานที่ได้กำหนดไว้
          ๑๓. ห้องติดสติกเกอร์ : เพื่อทำการติดสติกเกอร์สีสันต่างๆ บนชิ้นส่วนที่พ่นสีเสร็จแล้ว
          ๑๔. พนักงาน (Worker) : ทำหน้าที่แขวนชิ้นงาน เป่าลม เช็ดทำความสะอาด ผสมสี พ่นสี ติดสติกเกอร์ ปลดชิ้นงานหลังจากที่อบแห้งแล้ว ตรวจสอบคุณภาพ เคลื่อนย้ายชิ้นงานไปยังจุดต่อไป
          ๑๕. มาตรฐานการปฏิบัติงานและมาตรฐานการควบคุมคุณภาพ : กำหนดวิธีการทำงานและวิธีการตรวจสอบคุณภาพ
          ๑๖. รถเข็นใส่ชิ้นงาน : สำหรับใส่ชิ้นงานหลังจากพ่นสีเสร็จแล้ว และใช้ส่งชิ้นงาน

กระบวนการพ่นสี, กระบวนการพ่นสี หมายถึง, กระบวนการพ่นสี คือ, กระบวนการพ่นสี ความหมาย, กระบวนการพ่นสี คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 24

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu