ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

พันธุ์กล้วยในประเทศไทย, พันธุ์กล้วยในประเทศไทย หมายถึง, พันธุ์กล้วยในประเทศไทย คือ, พันธุ์กล้วยในประเทศไทย ความหมาย, พันธุ์กล้วยในประเทศไทย คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
พันธุ์กล้วยในประเทศไทย

          ประเทศไทยมีการปลูกกล้วยกันมาช้านาน กล้วยที่ปลูกมีมากมายหลายชนิด พันธุ์กล้วยที่ใช้ปลูกในประเทศไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณนั้น มีทั้งพันธุ์พื้นเมืองดั้งเดิม และนำเข้ามาจากประเทศใกล้เคียง กล้วยที่รู้จักกันในสมัยสุโขทัยคือ กล้วยตานี  และปัจจุบันในจังหวัดสุโขทัยก็ยังมีการปลูกกล้วยตานีมากที่สุด แต่เรากลับไม่พบกล้วยตานีในป่า ทั้งๆ ที่กล้วยตานีก็เป็นกล้วยป่าชนิดหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย จีน และพม่า ดังนั้นจึงสันนิษฐานว่า กล้วยตานีน่าจะนำเข้ามาปลูกในประเทศไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัยตอนต้น หรือช่วงการอพยพของคนไทยมาตั้งถิ่นฐานที่สุโขทัย

          ในสมัยอยุธยา เดอลาลูแบร์  (De La Loub`ere)  อัครราชทูตชาวฝรั่งเศสที่เดินทางมาเมืองไทยในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๐ ได้เขียนบันทึกถึงสิ่งที่เขาได้พบเห็นในเมืองไทยไว้ว่า ได้เห็นกล้วยงวงช้าง ซึ่งก็คือ  กล้วยร้อยหวีในปัจจุบัน ที่ส่วนใหญ่ปลูกไว้เพื่อเป็นไม้ประดับนั่นเอง  นอกจากนี้ยังมีตำนานเล่ากันมาว่า มีการค้าขายกล้วยตีบอีกด้วย แสดงให้เห็นว่า ได้มีการปลูกกล้วยทั้งเพื่อความสวยงาม และเพื่อการบริโภคกันมาช้านานแล้ว

          ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๗ ในรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ซึ่งเป็นปรมาจารย์ทางด้านภาษาไทย ได้เขียนหนังสือ พรรณพฤกษากับสัตวาภิธาน เพื่อเป็นแบบเรียนภาษาไทยสำหรับใช้ในโรงเรียน กล่าวถึงชื่อของพรรณไม้และสัตว์ชนิดต่างๆ ที่มีอยู่ในเมืองไทย  โดยเรียบเรียงเป็นกาพย์ฉบัง ๑๖ เพื่อให้ไพเราะและจดจำได้ง่าย ในหนังสือดังกล่าว มีข้อความที่พรรณนาถึงชื่อกล้วยชนิดต่างๆ ไว้

          จากกาพย์ดังกล่าว ทำให้เราได้ทราบชนิดของกล้วยมากขึ้น แสดงให้เห็นถึงความนิยมในการปลูกกล้วยในสมัยนั้น ทั้งนี้เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จประพาสประเทศต่างๆ หลายประเทศ จึงได้มีการนำกล้วยบางชนิดเข้ามาปลูกในรัชสมัยของพระองค์

          หลังจากที่นักวิชาการชาวตะวันตกได้ เริ่มจำแนกชนิดของกล้วยตามลักษณะทางพันธุกรรม โดยใช้จีโนมของกล้วยเป็นตัว  กำหนดในการแยกชนิดตามวิธีของซิมมอนดส์ และเชบเฟิร์ด ดังได้กล่าวแล้วข้างต้น จึงกล่าวได้ว่า กล้วยที่บริโภคกันอยู่ในปัจจุบันมีบรรพบุรุษอยู่เพียง  ๒  ชนิดเท่านั้น คือ กล้วยป่า และกล้วยตานี กล้วยที่มีกำเนิดจากกล้วยป่ามีจีโนมทางพันธุกรรมเป็น  AA  ส่วนกล้วยที่มีกำเนิดจากกล้วยตานีมีจีโนมเป็น BB และกล้วยลูกผสมของทั้ง ๒ ชนิด  มีจีโนมเป็น  AAB, ABB,  AABB และ ABBB นอกจากนี้ ซิมมอนดส์ยังได้จำแนกชนิดของกล้วยในประเทศไทยว่ามีอยู่  ๑๕  พันธุ์

          ต่อมานักวิชาการไทยได้ทำการศึกษา ค้นคว้าเกี่ยวกับพันธุ์และชนิดของกล้วย คือ ใน พ.ศ. ๒๕๑๐  วัฒนา เสถียรสวัสดิ์  และปวิณ ปุณศรีได้ทำการรวบรวมพันธุ์กล้วยที่พบในประเทศได้ ๑๒๕ สายพันธุ์ และจากการจำแนกจัดกลุ่มแล้ว พบว่ามี ๒๐  พันธุ์หลังจากนั้นในระหว่าง พ.ศ. ๒๕๒๓ - ๒๕๒๖  เบญจมาศ  ศิลาย้อย และฉลองชัย แบบประเสริฐ แห่งภาควิชาพืชสวน  มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์  ได้ทำการสำรวจพันธุ์กล้วยในประเทศไทย และรวบรวมพันธุ์ไว้ที่สถานีวิจัยปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา โดยรวบรวมได้ทั้งหมด ๓๒๓ สายพันธุ์ แต่เมื่อจำแนกชนิดแล้ว พบว่ามีอยู่เพียง ๕๓ พันธุ์  หลังจากสิ้นสุดโครงการ  ยังได้ทำการรวบรวมเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน พบว่ามีอยู่ ๗๑ พันธุ์  รวมทั้งกล้วยป่าและกล้วยประดับ ทั้งนี้ไม่นับรวมพันธุ์กล้วยที่ได้มีการนำเข้ามาจากต่างประเทศ  ซึ่งมีอีกหลายพันธุ์ ปัจจุบันกล้วยในเมืองไทย ซึ่งจำแนกชนิดตามจีโนม มีดังนี้          กล้วยกลุ่มนี้มีจำนวนโครโมโซม 2n = 33 ผลจึงมีขนาดใหญ่กว่ากลุ่มแรก รูปร่างผลเรียวยาว มีเนื้อนุ่ม รสหวาน กลิ่นหอม   รับประทานสดเช่นกันได้แก่  กล้วยหอมทอง  กล้วยนาก  กล้วยครั่ง  กล้วยหอมเขียว  กล้วยกุ้งเขียว  กล้วยหอมแม้ว  กล้วยไข่พระตะบอง  กล้วยคลองจัง

พันธุ์กล้วยในประเทศไทย, พันธุ์กล้วยในประเทศไทย หมายถึง, พันธุ์กล้วยในประเทศไทย คือ, พันธุ์กล้วยในประเทศไทย ความหมาย, พันธุ์กล้วยในประเทศไทย คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 30

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu