การดำเนินงานตามแนวคิดและวิธีการของการพัฒนาเกษตรกรรมสำหรับพื้นที่เฉพาะ
การดำเนินงานตามแนวคิดและวิธีการของการพัฒนาเกษตรกรรมสำหรับพื้นที่เฉพาะ, การดำเนินงานตามแนวคิดและวิธีการของการพัฒนาเกษตรกรรมสำหรับพื้นที่เฉพาะ หมายถึง, การดำเนินงานตามแนวคิดและวิธีการของการพัฒนาเกษตรกรรมสำหรับพื้นที่เฉพาะ คือ, การดำเนินงานตามแนวคิดและวิธีการของการพัฒนาเกษตรกรรมสำหรับพื้นที่เฉพาะ ความหมาย, การดำเนินงานตามแนวคิดและวิธีการของการพัฒนาเกษตรกรรมสำหรับพื้นที่เฉพาะ คืออะไร
จากแนวทางการดำเนินงานตามโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริทั้ง ๖ แห่ง แสดงให้เห็นชัดเจนว่าการพัฒนาตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีลักษณะเป็นการพัฒนาเกษตรกรรมสำหรับพื้นที่เฉพาะ ด้วเหตุผลที่ว่าพื้นที่ประเทศไทยแม้จะไม่ใหญ่โตแต่ก็ไม่เล็กเกินไปนัก ความแตกต่างทางสภาพภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ และสังคมอย่างน้อยก็มีถึง ๖ ลักษณะ หรือ ๖ ภาค การพัฒนาในแต่ละภาคหรือแต่ละพื้นที่ก็มีความแตกต่างกันไปด้วย ดังนั้น แนวทางการพัฒนาจึงได้เน้นเป็นพื้นที่ โดยหวังผลว่าตัวอย่างของการพัฒนาของแต่ละศูนย์ฯ จะสามารถเป็นแบบอย่างการพัฒนาเกษตรกรรมในภาคนั้นๆ ได้
อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานในศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ ทุกศูนย์ได้ใช้หลักการพัฒนาสำหรับพื้นที่เฉพาะเหมือนกันทั้งหมด จะแตกต่างกันเฉพาะวิธีการดำเนินงานให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่เท่านั้น โดยมีการศึกษาวิเคราะห์สภาพพื้นที่ก่อนการวางแนวทางการพัฒนาเสมอทั้งนี้เพื่อให้แนวทางการพัฒนาสอดคล้องกับสภาพของเกษตรกรและสิ่งแวดล้อมในแต่ละพื้นที่นั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาที่ดิน การพัฒนาแหล่งน้ำการพัฒนาพันธุ์พืชและสัตว์ หรือแม้กระทั่งการพัฒนาด้านการตลาดและผลิตผลทางการเกษตรก็ตาม ในรายละเอียดของวิธีการดำเนินงานตามโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริดังได้ยกตัวอย่างมาแล้วข้างต้น จะเห็นได้ว่าสอดคล้องกับหลักการของการพัฒนาเกษตรกรรมทั้งในด้านแนวคิดและวิธีการดังนี้ จากแนวความคิดในการพัฒนาเกษตรกรรม รวมทั้งปัจจัยต่างๆ ที่จะสนับสนุนให้การพัฒนามีประสิทธิภาพ และบรรลุวัตถุประสงค์ในการที่จะให้เกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม มีกิจกรรมหลายประเภทที่ต้องดำเนินการพัฒนาในพื้นที่เฉพาะเป็นแห่งๆ ไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยการผลิตทางการเกษตร เช่น การพัฒนาที่ดินและแหล่งน้ำ การพัฒนาพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ การพัฒนาด้านการตลาดเพื่อผลิตผลทางการเกษตร รวมทั้งการพัฒนาวิทยาการการเกษตรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เป็นต้น
๑. การพัฒนาที่ดิน ที่ดินเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญในการเกษตรกรรม การจัดหาที่ดินทำกินให้แก่เกษตรกรผู้ยากไร้ และการอนุรักษ์ดินให้มีสภาพเหมาะสมกับการประกอบอาชีพทางการเกษตรตลอดไป เป็นกิจกรรมหลักในการพัฒนาที่ดินเพื่อเกษตรกร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอนุรักษ์ดินให้สามารถใช้ประโยชน์ได้ยาวนาน
วิธีการอนุรักษ์ดินมีแนวทางปฏิบัติดังนี้
๑. การปลูกพืชตามแนวระดับความสูงต่ำของพื้นที่ (Contour farming)
๒. การปลูกพืชเป็นขั้นบันได (Terrace planting) ในพื้นที่ที่มีความลาดชัน เช่น ตามไหล่เขา
๓. การปลูกพืชแบบเป็นแถว หรือเป็นแนว (Strip cropping) ในพื้นที่ที่ลาดชันไม่มากนัก โดยการให้พันธุ์ไม้ธรรมชาติขึ้นสลับกับแนวที่ปลูก
๔. การปลูกพืชคลุม (Cover cropping) ส่วนมากจะปลูกในพื้นที่ที่ปลูกไม้ผล หรือไม้ยืนต้น
๕. การระบายน้ำ ซึ่งจะช่วยให้น้ำไหลผ่านทางที่จัดทำขึ้นเพื่อป้องกันการชะล้างหน้าดิน
๖. การทำไม้ที่ถูกวิธี เช่น ทางลากไม้จากเขาควรตัดทางตามแนวลาดเขา (Contour)
๗. การปลูกไม้บังลม (Wind break) เพื่อป้องกันลมพัดผิวหน้าดินจากที่แห่งหนึ่งไปยังที่แห่งหนึ่ง
นอกจากนี้ยังมีการอนุรักษ์ดินอีกหลายวิธี ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพท้องที่ ได้แก่ การปลูกพืชหมุนเวียน การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ การชลประทานอย่างถูกวิธี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการชลประทานในพื้นที่ที่มีปริมาณเกลือในดินอยู่ในระดับสูง เช่น บริเวณดินเค็มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือการควบคุมระดับน้ำใต้ดินอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น กรณีพื้นที่พรุในภาคใต้ เป็นต้น
๒. การพัฒนาแหล่งน้ำ ประเทศไทยต้องประสบกับภาวะฝนแล้ง น้ำท่วม เป็นประจำทุกปี ก่อให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และการพัฒนาประเทศในทุกด้านทุกสาขา โดยเฉพาะด้านการเกษตร ซึ่งเคยทำรายได้ให้แก่ประเทศเป็นอันดับหนึ่งต้องมีมูลค่าลดลง ทั้งนี้ เนื่องจากความวิปริตของลมฟ้าอากาศและความไม่สมดุลทางธรรมชาติ การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่ออนุรักษ์ไว้เป็นทรัพยากรที่จำเป็นต่อการพัฒนาและ การดำรงชีพของมนุษย์เป็นสิ่งที่จำเป็นมากในปัจจุบัน
วิธีการพัฒนาโดยทั่วไป มีลักษณะดังนี้
๑. ลดอัตราการทำลายป่าไม้ให้น้อยลง โดยเฉพาะป่าไม้ในแถบต้นน้ำลำธารเพื่อรักษาสภาพสมดุลทางธรรมชาติ
๒. ปลูกป่าเพิ่มขึ้นเพื่อรักษาความชุ่มชื้นของดิน
๓. เก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูกาลที่ขาดแคลน เช่น การสร้างเขื่อน ฝาย หรืออ่างเก็บน้ำ รวมทั้งการบำรุงรักษาแหล่งน้ำที่มีอยู่แล้วให้สามารถเก็บกักน้ำได้ตลอดไป
๔. พัฒนาการใช้น้ำอย่างถูกวิธีเพื่อลดความสิ้นเปลืองน้ำ และช่วยให้ดินสามารถเก็บกักน้ำได้มากขึ้น
๓. การพัฒนาพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ ประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตรเพื่อให้เกิดผลิตผลและมีกำไรมากที่สุดขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ แต่ปัจจัยที่สำคัญชนิดหนึ่ง คือ พันธุ์พืชหรือพันธุ์สัตว์ที่ดีให้ผลิตผลสูงและมีคุณภาพการศึกษาค้นคว้าวิจัยและทดลองหาพันธุ์ชนิดใหม่ๆ ตลอดจนการปรับปรุงพันธุ์เดิมให้ดีขึ้นเป็นแนวทางการพัฒนาเกษตรกรรมแนวทางหนึ่ง
วิธีการพัฒนาพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ในพื้นที่ มีการดำเนินการในลักษณะดังต่อไปนี้ คือ
๑. ศึกษา วิจัย และพัฒนาพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ที่มีอยู่แล้วในพื้นที่
๒. ทดสอบพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ที่ให้ผลดีในพื้นที่อื่นๆ เพื่อหาความเหมาะสมกับพื้นที่ที่จะดำเนินการพัฒนา
๓. ขยายพันธุ์ดีที่เหมาะสมให้กระจายสู่เกษตรกรในพื้นที่อย่างทั่วถึงมากขึ้น
๔. สาธิตและส่งเสริมให้เกิดการยอมรับพันธุ์ดีโดยทั่วไป
๔. การพัฒนาตลาดผลิตผลการเกษตร การพัฒนาเกษตรกรรมอีกด้านหนึ่งที่สำคัญ คือ ด้านการตลาด เพื่อสนับสนุนการผลิตของเกษตรกรให้เกิดความมั่นใจ ซึ่งแนวทางการพัฒนาจะเน้นไปยังบุคคลเป้าหมาย ๒ กลุ่มกลุ่มแรก คือ กลุ่มของตลาดสินค้าหรือผู้รับซื้อโดยศึกษาถึงความต้องการสินค้า ทั้งประเภทปริมาณ และคุณภาพหรือมาตราฐาน และกลุ่มที่สองหมายถึงเกษตรกรผู้ผลิตเองที่จะต้องเข้าใจในเรื่องความต้องการของตลาดที่มีลักษณะแตกต่างกันออกไป
วิธีการพัฒนาการตลาดมีขั้นตอนในการปฏิบัติ ดังนี้
๑. ศึกษาและวิจัยตลาดเพื่อให้เห็นถึงโอกาสและช่องทางการตลาดของสินค้าประเภทต่างๆ
๒. พัฒนาระบบข้อมูลข่างสารการตลาดให้สามารถถึงมือเกษตรกรผู้ผลิตได้ทันเวลา เพื่อประกอบการตัดสินใจในการผลิตของเกษตรกรเอง
๓. พัฒนาคุณภาพของผลิตผลเพื่อปรับปรุงสินค้าให้ตรงกับความต้องการของตลาด
๔. รวมกลุ่มกันจำหน่ายเพื่อสร้างอำนาจต่อรองของเกษตรกรเอง
๕. พัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปจากผลิตผลทางการเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้าเกษตร
กล่าวโดยสรุปได้ว่า การพัฒนาเกษตรกรรมสำหรับพื้นที่เฉพาะนั้น มีลักษณะคล้ายๆ กับการพัฒนาผสมผสาน คือ รวมกิจกรรมการพัฒนาทุกๆ อย่างเข้าด้วยกันแบบเบ็ดเสร็จ มีการประสานสัมพันธ์กิจกรรมเหล่านั้นอย่างสอดคล้องและเป็นระบบ เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้เหมาะสมกับสภาพในแต่ละพื้นที่ โดยมีหลักการที่สำคัญคือ ก่อนการดำเนินการพัฒนาจะต้องมีการพิจารณาหรือศึกษาสภาพพื้นที่ เพื่อให้ทราบปัญหาที่แท้จริง สาเหตุของปัญหา ความสำคัญหรือความรุนแรงของปัญหา วิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน สภาพแวดล้อม ศักยภาพในท้องถิ่นแล้วจึงพิจารณาหาวิธีการขจัดปัญหาต่างๆ อย่างเหมาะสม ดังที่ดำเนินการอยู่ในโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทั้ง ๖ ภาคทั่วประเทศ มีผลให้เกษตรกรซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศมีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม นอกจากนั้นการพัฒนาดังกล่าวยังสามารถนำไปเป็นรูปแบบในการปฏิบัติเพื่อขยายการพัฒนาในพื้นที่อื่นที่มีสภาพคล้ายคลึงกัน อันส่งผลให้มีสภาพแวดล้อมดีขึ้นและสามารถรักษาความสมดุลทางธรรมชาติของภูมิภาคต่างๆ ไว้ตลอดไป
(ดูเพิ่มเติมเรื่อง การพัฒนาชนบท หมวดเดียวกันเล่มเดียวกัน)
การดำเนินงานตามแนวคิดและวิธีการของการพัฒนาเกษตรกรรมสำหรับพื้นที่เฉพาะ, การดำเนินงานตามแนวคิดและวิธีการของการพัฒนาเกษตรกรรมสำหรับพื้นที่เฉพาะ หมายถึง, การดำเนินงานตามแนวคิดและวิธีการของการพัฒนาเกษตรกรรมสำหรับพื้นที่เฉพาะ คือ, การดำเนินงานตามแนวคิดและวิธีการของการพัฒนาเกษตรกรรมสำหรับพื้นที่เฉพาะ ความหมาย, การดำเนินงานตามแนวคิดและวิธีการของการพัฒนาเกษตรกรรมสำหรับพื้นที่เฉพาะ คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!