พระอัจฉริยภาพทางภาษาและหนังสือ
พระอัจฉริยภาพทางภาษาและหนังสือ, พระอัจฉริยภาพทางภาษาและหนังสือ หมายถึง, พระอัจฉริยภาพทางภาษาและหนังสือ คือ, พระอัจฉริยภาพทางภาษาและหนังสือ ความหมาย, พระอัจฉริยภาพทางภาษาและหนังสือ คืออะไร
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระอัจฉริยภาพด้านภาษาและหนังสืออย่างยอดเยี่ยมพระองค์หนึ่ง อันเนื่องมาจากทรงสนพระราชหฤทัยและทรงศึกษาภาษาไทยอย่างลึกซึ้ง ดังปรากฏเด่นชัดโนพระบรมราโชวาท กระแสพระราชดำริ หรือพระราชดำรัส ที่ได้พระราชทาน แก่คณะบุคคลในวโรกาสและสถานที่ต่างๆ ทรงพระเมตตาห่วงใยการใช้ภาษาไทย การออกเสียง และการบัญญัติศัพท์ ดังกระแสพระราชดำริเมื่อครั้งเสด็จไปร่วมประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พุทธศักราช ๒๕๐๕ ซึงมีความบางตอนดังนี้
“ภาษาไทยเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งของชาติภาษาทั้งหลายเป็นสิ่งที่สวยงามอย่างหนึ่ง เช่น ในทางวรรณคดี เป็นต้น ฉะนั้น จึงจำเป็นต้องรักษาไว้ให้ดี... เรามีโชคดีทีมีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้..ปัญหาเฉพาะในด้านรักษาภาษานี้มีหลายประการอย่างหนึ่ง ต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียงคือให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน อีกอย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในวิธีใช้ หมายความว่า วิธีใช้คำมาประกอบเป็นประโยคนับเป็นปัญหาที่สำคัญปัญหาที่สามคือ ความร่ำรวยในคำของภาษาไทยซึ่งพวกเรานึกว่าไม่ร่ำรวยพอ จึงต้องมีการบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้... การบัญญัติศัพท์ใหม่ก็เป็นสิ่งสำคัญเหมือนกัน จำเป็นแต่เป็นอันตราย...คำใหม่ที่ตั้งขึ้นมีความจำเป็นทางวิชาการไม่น้อยแต่บางคำที่ง่ายๆ ก็ควรจะใช้คำเก่าๆ ที่มีอยู่แล้วไม่ควรจะตั้งศัพท์ใหม่ให้ยุ่งยาก และผู้ที่ตั้งคำนั้นต้องรู้คำ และหลักภาษาลึกซึ้ง ทั้งกาษาไทยทั้งภาษาต่างประเทศ...”
ในกระแสพระราชดำริฉบับดงกล่าว พระองค์ทรงตั้งข้อสังเกตในเรื่องการแปลภาษาต่างประเทศมาเป็นภาษาไทย แต่แปลไม่ตรงตามความหมายเดิมว่าเป็นอันตราย ดังนี้
“ที่อันตรายที่สุดจากการแปลในข่าวอย่างหนึ่ง การแปลในบันเทิง โดยเฉพาะภาพยนตร์ผิดกันมาก ผิดเรื่อย เพราะว่าเอาภาษาที่พูดมาแล้วมาแปลคำนั้นตามที่นึกว่าตรง จนกระทั่งความหมายไม่เหมือนกัน อย่างนี้เป็นสิงที่อันตราย...”
การที่ทรงพระปรีชาญาณ ทรงวิจารณ์และพระราชทานกระแสพระราชดำริเกี่ยวกับภาษาได้อย่างลึกซึ้ง ส่วนหนึ่งเนื่องจากการฝึกฝนพระองค์ในยามว่างเว้นจากพระราชกรณียกิจดังที่ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค กล่าวว่า
“เมื่อใดพระองค์ทรงมีเวลาว่างแม้เพียงเล็กน้อย ก็ยังทรงสำราญพระราชอิริยาบถและพระราชหฤทัยในงานสนุกที่เกี่ยวกับการใช้ภาษา อันได้แก่ การทรงเล่นปริศนาอักษรไขว้ ซึ่งเป็นที่นิยมและเล่นกันในหมู่ชาวต่างประเทศ พระองค์ก็ทรงได้อย่างสบายไม่ลำบากในทางใช้ภาษาเลยและนอกจากนั้น ในปัจจุบันมีเครื่องจักรสมองกลหรือคอมพิวเตอร์เกิดขึ้น และกำลังนิยมใช้กันอย่างกว้างขวางในวงการธุรกิจ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงสนพระราชหฤทัยศึกษาด้วยทรงเรียนการใช้ระบบกราฟิกดัดแปลงรูปแบบต่างๆ ทรงตั้งโปรแกรมเองจนทรงสามารถประดิษฐ์เป็นรูปอักษรเทวนาครี อินเดียโบราณ เช่น อักษรภาษาบาลีสันสกฤต ทำให้ทรงมีโอกาสศึกษาภาษาเก่าแก่อันเป็นเค้าโครงของภาษาไทยกับผู้ทรงคุณวุฒิด้านนี้โดยตรง เป็นการศึกษาพิเศษทรงมีความจำดียิ่ง ทรงค้นคว้าไม่หยุดนิ่งในเรื่องการใช้ภาษาไทย และเป็นที่สบพระราชอัธยาศัยอย่างยิ่ง”
พระปรีชาสามารถด้านภาษาต่างประเทศของพระบาทสม เด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นเรื่องที่ทราบกันอย่างแพร่หลายว่า ทรงรอบรู้ภาษาต่างประเทศเป็นอย่างตี ทั้งภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาอื่นๆ เมื่อพระองค์เสด็จเยือนประเทศต่างๆ ตามคำกราบบังคมทูลเชิญของประมุขประเทศนั้นๆ จะมีกระแสพระราชดำรัสซึ่งทรงเตรียมด้วยพระองค์เอง ดังพระดำรัสยืนยันของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต ซึ่งประทานคำบรรยายเกี่ยวกับการเสด็จเยือนสหรัฐอเมริกา ครั้งที่ ๒ กับแคนาดา เมื่อวันที่ ๖ - ๒๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๑๐ ณ สำนักงานแถลงข่าวอเมริกันปีเดียวกันนี้ว่า
“ภายในเวลา ๑๘ วัน ของการเสด็จพระราชดำเนินครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสถึง ๒๗ ครั้ง เป็นภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศส แล้วแต่ที่ไหนและโอกาสดี บางครั้งก็รับสั่งสด ๆ เพราะไม่มีเวลาเตรียม ไม่มีในหมายกำหนดการ”
พระอัจฉริยภาพทางภาษาและหนังสือ, พระอัจฉริยภาพทางภาษาและหนังสือ หมายถึง, พระอัจฉริยภาพทางภาษาและหนังสือ คือ, พระอัจฉริยภาพทางภาษาและหนังสือ ความหมาย, พระอัจฉริยภาพทางภาษาและหนังสือ คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!