ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

การแพทย์แผนปัจจุบันในสมัยรัตนโกสินทร์, การแพทย์แผนปัจจุบันในสมัยรัตนโกสินทร์ หมายถึง, การแพทย์แผนปัจจุบันในสมัยรัตนโกสินทร์ คือ, การแพทย์แผนปัจจุบันในสมัยรัตนโกสินทร์ ความหมาย, การแพทย์แผนปัจจุบันในสมัยรัตนโกสินทร์ คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
การแพทย์แผนปัจจุบันในสมัยรัตนโกสินทร์

           หลังจากที่ประเทศไทยในแผ่นดินสมเด็จพระเพทราชา (พ.ศ. ๒๒๓๑-๒๒๔๖) ได้ขับไล่ชาวฝรั่งเศสออกไปจากประเทศไทยแล้ว การแพทย์แผนปัจจุบันที่นำมาโดยชาวฝรั่งเศสก็พลอยสูญไปด้วย กลับไปใช้การแพทย์แผนโบราณตามเดิม การแพทย์แผนปัจจุบันได้กลับมาอีก พร้อมกับการเข้ามาของนักสอน ศาสนาคริสต์ นิกายโปรเตสแตนท์  ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๓๖๗-๒๓๙๔) พ.ศ. ๒๓๗๑ มีนักสอนคริสต์ศาสนานิกายโปรเตสแตนท์ ๒ คน เข้ามาในประเทศไทย เป็นแพทย์ชาวเยอรมนีคนหนึ่งชื่อ กุตซ์ลัฟฟ์  (Rev. Carl Augustus Gutzlaff) และหมอสอนศาสนาชาวอังกฤษคนหนึ่งชื่อ ทอมลิน (Rev. Jacob Tomlin) นอกจากการสอนศาสนา  แจกหนังสือภาษาจีน และแจกยาแล้วก็ไม่ได้ทำการทางการแพทย์แผนปัจจุบันไว้ให้เป็นหลักฐานประการใด 

           ต่อจากบุคคลทั้งสองแล้วก็มีนักสอนศาสนาเป็นแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ติดตามเข้ามาอีกหลายคน แต่ผู้ที่นำการแพทย์แผนปัจจุบันและวิทยาศาสตร์ เข้ามาเผยแผ่จนเป็นที่รู้จักกันดีมี ๒ ท่าน คนแรกเป็นแพทย์คือ ดร.บรัดเลย์ (Dan Beach Bradley) เข้ามาใน พ.ศ. ๒๓๗๗ อีกผู้หนึ่งคือ ดร.เฮาส์ (Reynolds Samuel House) เป็นทั้งแพทย์และเป็นนักวิทยาศาสตร์ในสาขาเคมี  ฟิสิกส์ และสนใจทางชีววิทยาด้วย 

           ดร.บรัดเลย์ได้มาปฏิบัติงานทางแพทย์ มีชื่อเสียงเป็นที่    รู้จักกันทั่วไป ทั้งในหมู่ข้าราชการและประชาชนตลอดจนบุคคลชั้นสูงสุดของประเทศ  เป็นการนำการแพทย์แผนปัจจุบันมาสู่ประเทศไทย หลังจากที่การแพทย์แผนปัจจุบันได้มีการเจริญเปลี่ยนแปลง กิจการสำคัญๆ ที่ได้มีบันทึกไว้ชัดเจนมีดังต่อไปนี้

           ๑. เป็นคนแรกที่ทำการถ่ายเลือด เพื่อแก้ไขผู้ป่วยที่เสียเลือดไปเป็นจำนวนมาก  แม้การถ่ายเลือดจะไม่ได้ทำในประเทศไทยก็ตาม ก็ได้ทำกับบุคคลที่จะเข้ามาในประเทศไทย  คือคนที่รอเรืออยู่ที่เมืองสิงคโปร์ก่อนเข้ามากรุงเทพฯ เช่น ภรรยาของนักสอนศาสนาดีน (Rev. William Dean) ตกเลือด เนื่องจากการ คลอดบุตร  ดร.บรัดเลย์ได้ถ่ายเลือดจากสามีให้ แม้ความรู้พื้นฐาน  ของการถ่ายเลือดในสมัยนั้นจะรู้กันน้อยก็ตาม

            ๒. เป็นผู้ตั้งร้านจำหน่ายยา (dispensary) และเนื่องจากได้ให้การตรวจวินิจฉัยและการรักษาโรค  จึงมีลักษณะเป็นคลินิก ซึ่งเป็นแบบอย่างของคลินิกต่างๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน คลินิกของ ดร.บรัดเลย์ไม่เก็บเงิน การทำคลินิกแล้วเก็บค่าตรวจและ  ค่ายา ทำขึ้นตอนต่อมาโดย ดร.เฮยส์ (T. Hayward Hays)

            ๓. เป็นผู้นำวิธีป้องกันโรคฝีดาษ ซึ่งทำให้คนไทยเสียชีวิตไปปีละมากๆ แม้เดิมจะไม่ค่อยได้ผล คือการใช้สะเก็ดจาก
แผลของผู้ป่วยเอามาปลูก ต่อมาการปลูกฝีก็สำเร็จอย่างดี เมื่อ ดร.บรัดเลย์ได้สั่งพันธุ์หนองผีมาทางเรือ จากเมืองบอสตัน อันเป็นเหตุให้มีแพทย์ไทยออกไปฝึกการทำหนองฝีที่ประเทศฟิลิปปินส์จนนำมาใช้ได้เองในประเทศ

            ๔. ได้ร่วมมือกับนายแพทย์เฮาส์ ไปทำการคลอดให้พระสนมของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสำหรับ ดร.เฮาส์ที่ทำงานแทน ดร.บรัดเลย์ระหว่างการไปพักผ่อนในอเมริกา ก็ได้ปฏิบัติการในทางการแพทย์และทางวิทยาศาสตร์เป็นที่สนใจของข้าราชการ และประชาชนยิ่งขึ้น ประกอบกับที่รัชกาลที่ ๔ ทรงซาบซึ้งในทางภาษาอย่างดี โดยอาศัยบุคคลในคณะมิชชันนารีเป็นครูสอน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโดยอาศัยศิลปวิทยาของชาวตะวันตกเพิ่มขึ้นทีละน้อย เตรียมประเทศและประชาชนไทยให้พร้อมที่จะรับการแก้ไขเปลี่ยนแปลง ซึ่งได้มีขึ้นอย่างมากมายในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในทางการแพทย์ก็มีการจ้างแพทย์ชาวอังกฤษมาประจำในราชสำนัก แต่กิจการที่สำคัญที่ทำให้การแพทย์แผนปัจจุบัน เข้ามาปักหลักมั่นคงในประเทศไทย  ก็คือพระราชดำริให้สร้างโรงศิริราชพยาบาลเป็นที่พักถาวรสำหรับราษฎรที่เกิดการป่วยไข้ขึ้น ก่อนหน้านั้น ถ้ามีโรคระบาดเกิดขึ้น ก็อาศัยวังของเจ้านายและเคหสถานของขุนนางใหญ่ทำเป็นที่พักชั่วคราว

การแพทย์แผนปัจจุบันในสมัยรัตนโกสินทร์, การแพทย์แผนปัจจุบันในสมัยรัตนโกสินทร์ หมายถึง, การแพทย์แผนปัจจุบันในสมัยรัตนโกสินทร์ คือ, การแพทย์แผนปัจจุบันในสมัยรัตนโกสินทร์ ความหมาย, การแพทย์แผนปัจจุบันในสมัยรัตนโกสินทร์ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 8

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu