โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด, โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด หมายถึง, โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด คือ, โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด ความหมาย, โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด คืออะไร
โรคของระบบหัวใจและหลอดเลือด นับว่าเป็นโรคซึ่งเป็นสาเหตุของการตายที่พบได้บ่อยที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรคของหลอดเลือดโคโรนารี (coronary) และความดันเลือดสูง โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย เกิดเนื่องจากมีการอุดกั้นของหลอดเลือดแดงโคโรนารี ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดแดงแข็งตัวเนื่องจากอะเทอโรมาทำให้หัวใจขาดเลือดเลี้ยงทันที ถ้ามีการอุดกั้นของหลอดเลือดโดยสมบูรณ์ จะทำให้หัวใจขาดเลือดเลี้ยงทันที ทำให้ผู้ป่วยเป็นลมและถึงแก่กรรมได้ภายในเวลาอันสั้นผู้ป่วยที่ไม่ถึงแก่กรรมก็มีอาการรุนแรงได้ เช่น มีอาการปวดเช่นเดียวกับการปวดเนื่องจากหัวใจขาดเลือดเลี้ยง แต่อาการปวดจะมีความรุนแรงมากกว่าและเป็นเวลานาน อาการจะไม่ดีขึ้นเมื่อพักผ่อน และมี อาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น อาการหายใจลำบากและเป็นลม ซึ่งอาจเป็นอยู่นานหลายชั่วโมงได้ ผู้ป่วยบางรายอาจจะมีอาการมากจนถึงกับมีภาวะหัวใจซีกซ้ายวายและมีอาการหมดสติร่วมด้วย และอาจถึงแก่กรรมเนื่องจากหัวใจหยุดเต้นทันที หรือมีความผิดปกติของการเต้นของหัวใจ อาการอื่นๆ ซึ่งอาจเกิดขึ้นร่วมด้วย เมื่อผู้ป่วยหายจากอาการปวดที่บริเวณหน้าอกแล้ว ได้แก่ อาการไข้ อ่อนเพลีย เหนื่อย หายใจลำบาก รวมทั้งอาจจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วยได้ การตรวจร่างกายในขณะที่ผู้ป่วยมีอาการจะปรากฏว่าผู้ป่วยมีอาการกระวนกระวายอย่างมาก มีอาการซีดและเหงื่อออกมาก ชีพจรเต้นเร็ว ช็อก และความดันเลือดต่ำแต่ผู้ป่วยที่มีอาการน้อยอาจไม่มีความผิดปกติเหล่านี้นอกจากนี้อาจตรวจพบอาการแสดงอื่นๆ ของภาวะหัวใจวายหรือภาวะที่มีการเต้นของหัวใจผิดปกติร่วมด้วยการตรวจคลื่นไฟฟ้าของหัวใจจะช่วยบอกว่าผู้ป่วยมีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายหรือไม่ และถ้ามี เกิดขึ้นที่บริเวณใดของหัวใจ
การรักษา แบ่งเป็น ๔ ประเภทคือ
๑. การรักษาฉุกเฉิน ผู้ป่วยที่มีการอุดกั้นของหลอดเลือดแดงโคโรนารี ทำให้มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายทันที จำเป็นต้องได้รับการรักษาฉุกเฉิน และต้องรีบรักษาความผิดปกตินั้นๆ โดยทั่วไปควรให้ผู้ป่วยนอนพักอย่างเต็มที่บนเตียง ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้มีอาการภาวะหัวใจวาย และป้องกันมิให้เกิดความดันภายในห้องหัวใจเพิ่มขึ้น เพราะจะทำให้ผู้ป่วยมีหัวใจแตก ผู้ป่วยที่มีอาการปวดหน้าอกอย่างรุนแรงจำเป็นต้องให้ยาระงับปวด เช่น การให้มอร์ฟีน (morphine) ทันทีและอาจให้ซ้ำได้ถ้าผู้ป่วยมีอาการปวดอย่างรุนแรง ผู้ป่วยที่มีอาการเป็นลมหรือมีอาการของภาวะหัวใจวายหรือภาวะความดันเลือดต่ำ ช็อก หรือมีจังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติที่ทำให้เกิดมีอาการอย่างรุนแรงก็ต้องรักษาตามสาเหตุนั้นๆ
๒. การรักษาภายหลัง เมื่อผู้ป่วยพ้นระยะแรกที่มีอาการเจ็บหน้าอกอย่างมาก หรือมีอาการช็อก หรือมีอาการจากโรคแทรกอื่นๆ แล้ว ควรให้ผู้ป่วยนอนอยู่บนเตียงเป็นเวลา ๒-๔ สัปดาห์ (ตามความรุนแรงของโรค) แล้วจึงให้ผู้ป่วยเริ่มลุกขึ้นช้าๆ จนกระทั่งเดินได้ภายใน ๑-๒ สัปดาห์หลังจากนั้น อย่างไรก็ดี ในขณะที่ผู้ป่วยนอนบนเตียงจำเป็นจะต้องเคลื่อนไหวแขนขาอยู่เสมอ ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้มีภาวะทร็อมโบเอ็มบอลิซึม(thromboembolism) ซึ่งอาจหลุดไปอุดกั้นที่บริเวณปอดทำให้เกิดภาวะปอดตายขึ้นได้ การรักษาอื่นๆ เป็นการรักษาตามอาการ เช่น ให้อาหารอ่อนๆ ในระยะ ๒-๓ วันแรก สวนอุจจาระถ้าผู้ป่วยมีอาการท้องผูกเนื่องจากนอนเป็นเวลานาน
๓. การให้ยาต้านการแข็งเป็นลิ่มของเลือดผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อของหัวใจตายควรได้รับยาต้านการแข็งเป็นลิ่มของเลือดทันที เช่น ฉีดยาฮีพาริน (heparin) ในขณะเดียวกันอาจให้ยาต้านการกลายเป็นลิ่มของเลือดชนิดกินร่วมด้วย โดยหวังว่าเมื่อยากินออกฤทธิ์แล้วจะหยุดยาฉีดฮีพารินได้ การให้ยาต้านการกลายเป็นลิ่มของเลือดจะช่วยป้องกันภาวะทร็อมโบเอ็มบอลิซึม และป้องกันมิให้มีการขยายขอบเขตของการกลายเป็นลิ่มของเลือดภายในหลอดเลือดแดงโคโรนารีเพิ่มขึ้น
๔. การรักษาอื่นๆ เป็นการรักษาภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ ภาวะอุดกั้นหัวใจ รักษาโดยการใช้ยาหรือใช้ไฟฟ้ากระตุ้น นอกจากนี้ก็เป็นการป้องกันโดยการผ่าเปิดขยายหลอดเลือดหรือตัดต่อหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น
โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด, โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด หมายถึง, โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด คือ, โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด ความหมาย, โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!