ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

หลักการรักษาทางศัลยศาสตร์, หลักการรักษาทางศัลยศาสตร์ หมายถึง, หลักการรักษาทางศัลยศาสตร์ คือ, หลักการรักษาทางศัลยศาสตร์ ความหมาย, หลักการรักษาทางศัลยศาสตร์ คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
หลักการรักษาทางศัลยศาสตร์

        การรักษาความเจ็บไข้ได้ป่วยได้ขยายตัวออกไปมาก สำหรับการรักษาทางศัลยศาสตร์นั้น มีหลักว่าจะกระทำเมื่อ
                ๑) การรักษาทางยา หรือทางอายุรศาสตร์ ไม่สามารถจะทำให้ โรคหายไปได้ 
                ๒) การรักษาทางศัลยศาสตร์สามารถทำให้โรคหายไปได้เร็วกว่าและดีกว่า ตลอดจนไม่เหลือความพิการไว้มากเท่ากับรักษาโดยวิธีอื่น 
          ดังนั้น เพื่อให้เข้าใจง่าย และตรงตามหลักการรักษาทางศัลยศาสตร์ตามที่กล่าวมา จึงอาจจัดประเภทของการผ่าตัดไว้เป็น ๔ ประเภท ดังนี้

          การอักเสบโดยมากเกิดจากการติดเชื้อ หมายถึง มีเชื้อโรคเข้าสู่อวัยวะใดอวัยวะหนึ่ง แล้วทำให้เกิดการอักเสบที่จริงเชื้อโรคมีอยู่มากมาย แต่ที่ทำให้เกิดการอักเสบ โดยมากเป็นเชื้อที่ทำให้เกิดหนอง การผ่าฝีซึ่งเคยกล่าวมาแล้วว่า เป็นการรักษาทางศัลยศาสตร์มาแต่ดึกดำบรรพ์  เดี๋ยวนี้ศัลยศาสตร์ก็ยังเป็นวิชาที่ว่าด้วยการผ่าฝีอยู่ แต่ได้ขยายวงกว้างและลึกลงไปมาก ดังจะได้ยกตัวอย่างให้ดูสักเล็กน้อย
          ฝีที่อยู่ตื้นมองเห็นได้ เช่น ตุ่มหนองข้างเล็บ อันเกิดจากเล็บขบ ฝีที่ปลายนิ้วที่อาจเกิดจากเสี้ยนตำ และพาเอาเชื้อหนองเข้าไป
          การรักษาทางยา หมายถึงการใช้ยาปฏิชีวนะ หรือการประคบด้วยความร้อน การอักเสบเหล่านี้อาจหายไปได้ถ้าได้รับการรักษา เมื่อเริ่มเป็นใหม่ๆ คือ เพียงแค่อักเสบ แต่ยังไม่มีหนอง ถ้ามีหนองเกิดขึ้นแล้ว การใช้ยาต่างๆ แทบจะไม่เกิดประโยชน์เลย ผู้ป่วยจะเจ็บปวดทรมานมาก ไม่เพียงแต่เท่านั้นเชื้อโรคอาจลามลึกลงไป ถึงเอ็นของนิ้ว เซาะไปตามเยื่อหุ้มเอ็นเข้าสู่ฝ่ามือ ข้อมือ และแขนได้ สมัยเมื่อยังไม่มียาปฏิชีวนะ ถ้าปล่อยไว้จนขนาดนี้ ผู้ป่วยมักเสียชีวิตจากเชื้อโรคเข้าสู่กระแสโลหิต และมีอาการโลหิตเป็นพิษวิชาศัลยศาสตร์ สอนให้ผ่าเอาหนองออกเสียแต่เนิ่นๆ ถ้าเกิดจากเล็บขบ ควรถอดเล็บส่วนที่ขบออกเสียด้วย เพราะถ้าทิ้งเอาไว้ ไม่ช้าไม่นานก็จะเป็นขึ้นมาอีก  การผ่าเอาหนองออกเสีย แต่เนิ่นๆ นี้ใช้กันเสมอในวิชาศัลยศาสตร์เรียกว่า การระบายหนอง เมื่อหนองมีทางออกมาภายนอกได้แล้ว โรคก็ไม่ลุกลามต่อไป จะหายเองโดยไม่จำเป็นต้องใช้ยาใดๆ เลย 
          ที่จริงฝีตามร่างกายยังมีอีกมากมาย เราคุ้นเคยและมองเห็นได้ง่าย การรักษาไม่สู้ยาก เพราะถ้าไม่ผ่าออก ฝีก็จะแตกเอง และค่อยๆ หายไป กระนั้นก็ดี ความรู้ทางศัลยศาสตร์เกี่ยวกับการระบายหนองนี้ ทำให้ฝีหายเร็วขึ้น พ้นจากความทุกข์ทรมานเกือบจะทันทีที่หนองในฝีได้รับการระบายออก ในบางกรณีฝีมีหลายหัว เช่น ฝีฝักบัว การระบายต้องให้ทั่วถึงทุกหัว มิฉะนั้นก็จะหายช้า ฝีที่อยู่ลึกลงไปในกล้ามเนื้อหรือกระดูก มองจากภายนอกดูไม่ออกว่าเป็นฝี เพราะมีแต่อาการอักเสบอันได้แก่ ความเจ็บปวด มีอาการบวม ผิวหนังเป็นสีแดง ถ้าเอามือจับดู จะพบว่าร้อน เป็นต้น ฝีใต้ผิวหนังอีกชนิดหนึ่งที่พบเสมอได้แก่ ฝีที่เต้านม โดยมากเกิดจากการให้นมบุตร โดยที่มารดาไม่ได้รักษาความสะอาดตามสมควร
          ฝี  คือผลของการอักเสบ โดยการอักเสบจะมีมาก่อน การอักเสบถ้ายังไม่มีหนอง ไม่เรียกว่าฝี อาจรักษาให้หายได้โดยวิธีทางอายุรศาสตร์ เช่น การให้ยาและการประคบต่างๆ แต่ถ้ามีหนองแล้วต้องระบายเอาออกจึงจะหาย วิชาศัลยศาสตร์ สอนให้แยกการอักเสบที่ยังไม่มีหนองออกจากฝี เพราะการผ่าตัดการอักเสบที่ไม่มีหนองนั้น ในบางกรณีไม่มีความจำเป็นและอาจทำให้เกิดอันตรายมากขึ้นก็ได้ 
          การอักเสบอีกชนิดหนึ่งเป็นการอักเสบที่อยู่ลึก มองไม่เห็นจากภายนอก เพราะเกิดกับอวัยวะภายในของร่างกาย เกิดได้กับอวัยวะทุกแห่ง ตั้งแต่สมองเกิดเป็นฝีในเนื้อสมอง ฝีในลำคอ ลงมาถึงทรวงอกก็อาจมีปอดอักเสบ ถ้าลุกลามมากก็อาจกลัดหนองกลายเป็นฝีในปอด เป็นต้น กระเพาะอาหารที่เป็นแผลแตกทะลุ หรือลำไส้แตกทะลุ ทำให้ช่องท้องอักเสบมีหนองเต็มไปทั่วช่องท้อง  ที่กล่าวมาแล้วนี้ ล้วนแต่เป็นการอักเสบชนิดเกิดหนองภายใน มองเห็นได้ยากจากภายนอก  การรักษาทางยาอย่างเดียว ไม่มีทางที่จะช่วยชีวิตผู้ป่วยไว้ได้เลย ต้องอาศัยการผ่าตัด ระบายเอาหนองออก เช่นเดียวกับที่กล่าวไว้ในการอักเสบภายนอกเหมือนกัน แต่เนื่องจากอยู่ลึก การผ่าตัดจึงยุ่งยากขึ้นไปกว่าการผ่าตัดระบายหนองที่อยู่ตื้น ยิ่งเกิดแก่ทรวงอก อันต้องใช้หายใจอยู่ตลอดเวลา  ก็ต้องใช้วิธีพิเศษมากขึ้น เริ่มตั้งแต่การให้ยาระงับความรู้สึกและการช่วยหายใจ 
          ใคร่จะยกตัวอย่างเรื่องไส้ติ่งอักเสบ ไส้ติ่งเป็นอวัยวะต่อจากลำไส้ใหญ่ส่วนต้นที่เรียกว่า "ซีคัม" สันนิษฐานว่า การอักเสบเกิดจากมีการอุดตันของทางออกของอวัยวะส่วนนี้ การอักเสบ เริ่มจากเยื่อเมือกที่บุผนังลำไส้ และลามออกมาภายนอก ทำให้มีอาการบวม เมื่อเวลาผ่านไป การอักเสบจะเพิ่มมากขึ้น ลำไส้จะขับน้ำซึ่งจะกลายเป็นหนองออกมาอยู่ภายในไส้ติ่ง ทำให้ไส้ติ่งบวมตึง ผนังของไส้ติ่งซึ่งบวมและตึงนี้จะเปราะ เมื่อมีหนองภายในโพรงไส้ติ่งเพิ่มมากขึ้น ก็จะแตกออก หนองจะแพร่กระจายทั่วไป ในคนที่ยังมีร่างกายแข็งแรง ร่างกายจะพยายามสร้างกำแพงล้อมหนองเหล่านี้ไว้  โดยใช้ผนังลำไส้บ้าง ผนังหลังของท้องบ้าง และมันเปลวในท้องเองบ้าง หนองจะรวมอยู่เป็นกระจุกใกล้กับไส้ติ่งที่แตก เรียกว่า ฝีไส้ติ่ง ระยะนี้ถ้าผู้ป่วยได้พักผ่อน ได้ยาปฏิชีวนะและได้รับการประคับประคองตามสมควรหนองอาจค่อยๆ แห้งหายไปได้ แต่ถ้าไม่ได้รับการรักษา หรือ ผู้ป่วยอ่อนแอลง หนองนี้ก็จะแตกออก กระจายไปทั่วท้อง กลายเป็นช่องท้องอักเสบทั่วไป โดยมากมักจะตาย ถ้าไม่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด
          ในผู้ป่วยที่เป็นไส้ติ่งอักเสบ แม้ระยะเริ่มแรก ก็ควรได้รับการผ่าตัดรักษา โดยการตัดเอาไส้ติ่งออกก่อนที่จะมีการอักเสบรุนแรง

หลักการรักษาทางศัลยศาสตร์, หลักการรักษาทางศัลยศาสตร์ หมายถึง, หลักการรักษาทางศัลยศาสตร์ คือ, หลักการรักษาทางศัลยศาสตร์ ความหมาย, หลักการรักษาทางศัลยศาสตร์ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 8

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu