วันที่ 3 ธันวาคม
  • วันเกิด กฤษณา อโศกสิน

    วันเกิด กฤษณา อโศกสิน

    27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474 วันเกิด กฤษณา อโศกสิน นามปากกาของสุกัญญา ชลศึกษ์ นักประพันธ์สตรีรางวัลซีไรต์ประจำปี 2528 เจ้าของผลงานนวนิยาย บทความ สารคดี เรื่องสั้นรวมกันกว่าร้อยเรื่อง เริ่มเขียนหนังสือตั้งแต่อายุ 15 ปี คือในปี 2489 ด้วยเรื่องสั้นเรื่องแรก ของขวัญปีใหม่ โดยใช้นามปากกาว่า กัญญ์ชลา ส่วนามปากกากฤษณา อโศกสิน เริ่มใช้ในปี 2501 จากนวนิยายเรื่อง วิหคที่หลงทาง ซึ่งได้รับความนิยมจากผู้อ่านอย่างมาก ผลงานของท่านหลายเรื่องถูกนำมาสร้างเป็นละครทีวี กฤษณา อโศกสิน...

    สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เริ่มออกอากาศเป็นครั้งแรก

    สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เริ่มออกอากาศเป็นครั้งแรก

    27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 หรือ ช่อง 7 สี เริ่มออกอากาศ-แพร่ภาพเป็นครั้งแรกตามมาตรฐาน CCIR 625 เส้น ระบบ PAL โดยการถ่ายทอดสดรายการประกวดนางสาวไทยประจำปี 2510 จากเวทีบริเวณงานวชิรานุสรณ์ พระราชวังสราญรมย์ นับว่าเป็นโทรทัศน์สีแห่งแรกในประเทศไทย และเป็นครั้งแรกที่ประชาชนได้มีโอกาสชมรายการโทรทัศน์ที่มีสีสันตามธรรมชาติ โดยได้นางสาวอภันตรี ประยุทธเสนีย์ เป็นนางสาวไทยประจำปี 2510 ...

    พิธีเปิด เขื่อนสิรินธร

    พิธีเปิด เขื่อนสิรินธร

    27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เสด็จทรงเปิด เขื่อนสิรินธร หลังจากที่เริ่มก่อสร้างในปี 2510 เขื่อนสิรินธรเป็นเขื่อนประเภทหินถมแกนดินเหนียว สร้างปิดกั้นแม่น้ำลำโดมน้อยสาขาของแม่น้ำมูล ที่บริเวณแก่งแซน้อย ตำบลช่องเม็ก อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี มีความสูง 42 เมตร ยาว 940 เมตร สันเขื่อนกว้าง 7.5 เมตร อ่างเก็บน้ำมีพื้นที่ประมาณ 288 ตารางกิโลเมตร สามารถกักเก็บน้ำได้ 1,966.5 ล้า...

  • กองเรือของโปรตุเกสค้นพบมหาสมุทรแปซิฟิก

    กองเรือของโปรตุเกสค้นพบมหาสมุทรแปซิฟิก

    28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2063 กองเรือของโปรตุเกส ภายใต้การควบคุมของ เฟอร์ดินานด์ มาเจแลน (Ferdinand Magellan) เป็นชาวยุโรปกลุ่มแรกที่ค้นพบ มหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific Ocean) โดยแล่นเรือจากมหาสมุทรแอทแลนติกผ่านทางช่องแคบอเมริกาใต้ แล้วมาพบกับมหาสมุทรกว้างใหญ่อีกแห่งที่คลื่นลมสงบมาก จนเขาตั้งชื่อว่า Pacific ซึ่งมาจากภาษาละตินแปลว่า ความสงบ-สันติ ...

    มะสึโอะ บาโช ปรมาจารย์ด้านกวีไฮกุของญี่ปุ่นเสียชีวิต

    มะสึโอะ บาโช ปรมาจารย์ด้านกวีไฮกุของญี่ปุ่นเสียชีวิต

    28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2237 มะสึโอะ บาโช หรือ บาโช (Basho) ปรมาจารย์ด้าน กวีไฮกุ (Haiku) ของญี่ปุ่น เสียชีวิต บาโช (แปลว่าต้นกล้วย) คือนามแผงของ มะสึโอะ มุเนะฟุซะ (Matsuo Munefusa) บาโชเกิดเมื่อปี 2187 ที่เมืองอิงะ (Iga ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดมิเอะ-Mie) ในตระกูลซามูไร ภายหลังจากใช้ชีวิตอยู่ในวิถีแห่งบูชิโดและศึกษาปรัชญาเซนอยู่หลายปี จนค้นพบว่าตนเองควรจะเป็นกวีมากกว่า จึงได้ละทิ้งดาบและจับปากกาออกท่องเที่ยวไปทั่วญี่ปุ่น และเขียนกวีมาตั้งแต่นั้น โดยเฉพาะบท...

    ลี กวน ยู โอนตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ให้แก่ นายโก๊ะ จ๊ก ตง

    ลี กวน ยู โอนตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ให้แก่ นายโก๊ะ จ๊ก ตง

    28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533 ลี กวน ยู (Lee Kuan Yew) โอนตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ให้แก่ผู้นำรุ่นสอง นายโก๊ะ จ๊ก ตง (Ko Jok Tong) หลังจากที่เป็นนายกฯ ยาวนานถึง 31 ปีโดยเริ่มเป็นนายกฯ มาตั้งแต่ปี 2502 แม้จะลงจากตำแหน่งแล้วแต่ลี กวน ยูก็ยังคงอยู่เบื้องหลัง โดยเป็นรัฐมนตรีอาวุโสอยู่ร่วมในคณะรัฐมนตรีของโก๊ะ จ๊ก ตง ซึ่งเขาต้องรับรู้ถึงการตัดสินใจและการบริหารประเทศสิงคโปร์ต่อไป เขาได้รับยกย่องจากนานาประเทศในฐานะนักการเมืองผู้ประสบผลสำเร็จในการสร้างสิงคโปร์ให้เป็นประเ...

  • วันประสูติ พระนางซูสีไทเฮา

    วันประสูติ พระนางซูสีไทเฮา

    29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2378 วันประสูติ พระนางซูสีไทเฮา หรือรู้จักกันในประเทศจีนว่า ไทเฮาฝ่ายตะวันตก มีพระนามแต่งตั้งว่า เสี้ยวชินเซียนฮองเฮา เป็นมเหสีในจักรพรรดิเสียงเฟิง หลังจากจักรพรรดิเสียนเฟิงสวรรคตก็ได้ขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการแทนจักรพรรดิองค์น้อยนามถงจื้อ ผู้เป็นพระโอรสของจักรพรรดิเสียนเฟิง เมื่อจักรพรรดิถงจื้อผู้ยังทรงพระเยาว์สวรรคต ซูสีไทเฮาได้ฝ่าฝืนกฏการสืบสันตติวงศ์โดยนำหลานชายนาม กวางซวี อายุเพียง 3 ขวบ ขึ้นมาเป็นจักรพรรดิองค์ต่อไป ฮองเฮาทั้ง 2 พระองค์ก...

    ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล  เป็นสตรีคนแรกที่ได้รับอิสริยาภรณ์เชิดชูคุณความดีของอังกฤษ

    ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล เป็นสตรีคนแรกที่ได้รับอิสริยาภรณ์เชิดชูคุณความดีของอังกฤษ

    29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2450 ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล (Florence Nightingale) ชาวอิตาลี อายุ 87 ปี เป็นสตรีคนแรกที่ได้รับอิสริยาภรณ์เชิดชูคุณความดีของอังกฤษ เธอเป็นที่รู้จักกันในฐานะผู้บุกเบิกวิชาการพยาบาลสมัยใหม่และนักปฏิรูประบบสุขอนามัยในโรงพยาบาล ได้รับฉายาว่า “สตรีผู้ถือตะเกียง” จากการอุทิศตนในการดูแลทหารอังกฤษที่ล้มป่วยและบาดเจ็บในสงครามไครเมียที่ตุรกี อย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยแม้ในยามค่ำคืน บทบาทของเธอในสงครามไครเมียทำให้เธอมีชื่อเสียงและทำให้ส...

    ริชาร์ด อีเวลิน ไบรด์ นักบินชาวอเมริกันสามารถขับเครื่องบินถึงขั้วโลกใต้ได้เป็นครั้งแรก

    ริชาร์ด อีเวลิน ไบรด์ นักบินชาวอเมริกันสามารถขับเครื่องบินถึงขั้วโลกใต้ได้เป็นครั้งแรก

    29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472 ริชาร์ด อีเวลิน ไบรด์ (Richard Evelyn Byrd) นักบินชาวอเมริกัน สามารถขับเครื่องบินถึงขั้วโลกใต้ได้เป็นครั้งแรก ด้วยเครื่องบินปีกคู่ NC-4 โดยบินจาก Ross Ice Shelf ไปถึงขั้วโลก แล้วบินกลับ ใช้เวลา 18 ชั่วโมง 41 นาที ...

  • วันเกิด มาร์ค ทเวน นักเขียนชาวอเมริกัน

    วันเกิด มาร์ค ทเวน นักเขียนชาวอเมริกัน

    30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2378 วันเกิด แซมมวล แลงฮอร์น คลีเมนซ์ (Samuel Langhorne Clemens) นักเขียนชาวอเมริกันเจ้าของนามปากกา มาร์ค ทเวน (Mark Twain) ผลงานที่มีชื่อเสียงคือวรรณกรรมเยาวชนเรื่อง การผจญภัยของทอม ซอว์เยอร์ (The Advanture of Tom Sawyer) ได้รับการขนานขามว่าเป็นยอดแห่งวรรณกรรมเยาวชนของอเมริกา และเรื่อง การผจญภัยของฮักเคิล เบอร์รี ฟินน์ (The Advanture of Huckleberry Finn) ซึ่งเป็นภาคต่อจากทอม ซอว์เยอร์ ผลงานของมาร์ค ทเวนล้วนแต่เป็นผลจากการใช้ชีวิตของเขา ทั...

    วันเกิด วินสตัน เชอร์ชิลล์ รัฐบุรุษของอังกฤษ

    วันเกิด วินสตัน เชอร์ชิลล์ รัฐบุรุษของอังกฤษ

    30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2417 วันเกิด วินสตัน เชอร์ชิลล์ (Sir.Winston Churchill) รัฐบุรุษของอังกฤษ ผู้นำพาประเทศผ่านพ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 เชอร์ชิลล์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีวาระแรกระหว่างปี 2483-2488 โดยได้รับแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีหลังจากเยอรมนีบุกฝรั่งเศส เขาเป็นผู้นำสหราชอาณาจักรฝ่าวิกฤตสงครามโลกครั้งที่สองได้อย่างเข้มแข็ง และเป็นหนึ่งในผู้นำที่สำคัญของฝ่ายสัมพันธมิตร ร่วมกับประธานาธิบดีแฟรงคลิน ดี. รูสเวลท์ แห่งสหรัฐอเมริกา และโจเซฟ สตาลิน ผู้นำของสหภาพโซเว...

  • วันเกิด ฟูจิโกะ เอฟ. ฟูจิโอะ นักวาดการ์ตูนชาวญี่ปุ่น

    วันเกิด ฟูจิโกะ เอฟ. ฟูจิโอะ นักวาดการ์ตูนชาวญี่ปุ่น

    วันเกิด ฟูจิโกะ เอฟ. ฟูจิโอะ (ฮิโรชิ ฟุจิโมโตะ)นักวาดการ์ตูนชาวญี่ปุ่น โดยมีเรื่องที่โด่งดังคือ โดราเอมอน ฮิโรชิ ฟุจิโมโตะ ถึงแก่กรรมวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2539 ...

    วันประสูติ สมเด็จพระราชินีอเล็กซานดรา

    วันประสูติ สมเด็จพระราชินีอเล็กซานดรา

    วันประสูติ เจ้าหญิงอเล็กซานดราแห่งเดนมาร์ก ซึ่งภายหลังคือ สมเด็จพระบรมราชินีแห่งสหราชอาณาจักร (อเล็กซานดรา แคโรไลนา มารี ชาร์ล็อต หลุยส์ จูเลีย) ทรงเป็นพระมเหสีใน สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร ก่อนหน้านี้ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าหญิงแห่งเวลส์ ระหว่างปี พ.ศ. 2406 - พ.ศ. 2444 (ยาวนานกว่าผู้ใดที่เคยดำรงพระอิสริยยศนี้) หลังการเสด็จสวรรคตของพระสวามีในปี พ.ศ. 2453 ตราบจนถึงการเสด็จสวรรคตของพระองค์เอง ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมราชชนนี ที...

    วันสิ้นพระชนม์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

    วันสิ้นพระชนม์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

    วันสิ้นพระชนม์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๕๗ ใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเจ้าจอมมารดาชุ่ม ธิดาพระอัพภันตริกามาตย์ (ดิศ) ต้นราชสกุล โรจนดิศ เป็นเจ้าจอมมารดา ประสูติในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๐๕ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกนาถ พระราชทานพระนามและพระพร ประกอบด้วยคาถาเป็นภาษาบาลีซึ่งมีคำแปลดังต่อไปนี้ สมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฏ พระจอมเกล้าเจ้าแผ่นดินสยาม ผู้บิดาตั้งนามกุมา...

  • พระนางซูสีไทเฮาทรงตั้งให้ ซวนถง ปูยี เป็นจักรพรรดิแห่งประเทศจีน

    พระนางซูสีไทเฮาทรงตั้งให้ ซวนถง ปูยี เป็นจักรพรรดิแห่งประเทศจีน

    2 ธันวาคม พ.ศ. 2451 พระนางซูสีไทเฮา ทรงตั้งให้ ซวนถง ปูยี (Pu Yi) เป็น จักรพรรดิแห่งประเทศจีน ในราชวงศ์ชิง (ชาวแมนจู) ในขณะที่มีอายุเพียง 3 ขวบ จักรพรรดิปูยี มีชื่อเต็มๆ ว่า อ้ายซินเจียหลอ ปูยี เกิดวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 1906 เป็นบุตรขององค์ชายชุน ปูยี เป็นจักรพรรดิ และใช้ชื่อว่าซวนถง ปูยีเป็นจักรพรรดิ์องค์สุดท้ายก่อนที่จีนจะเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบบสังคมนิยม ...

    นโปเลียน โบนาปาร์ต สถาปนาตนเองขึ้นเป็นจักรพรรดิฝรั่งเศส

    นโปเลียน โบนาปาร์ต สถาปนาตนเองขึ้นเป็นจักรพรรดิฝรั่งเศส

    2 ธันวาคม พ.ศ. 2347 นโปเลียน โบนาปาร์ต (Napoleon Bonaparte) สถาปนาตนเองขึ้นเป็นจักรพรรดิฝรั่งเศส ภายใต้พระนามว่า “นโปเลียนที่ 1 ” โดยประกอบพิธีในมหาวิหารนอร์ตเตอร์ดาม (Notre Dame) กรุงปารีส ฝรั่งเศส ก่อนหน้านั้นนโปเลียนเคยเป็นนายพลในช่วงปฏิวัติฝรั่งเศส เคยดำรงตำแหน่งผู้ปกครองประเทศฝรั่งเศสมาตั้งแต่ปลายปี 2342 ก่อนจะได้เป็นจักรพรรดินโปเลียนที่ ในช่วงปี 2347-2357 ในสมัยนั้นจักพรรรดินโปเลียนได้ทำสงครามกับดินแดนต่าง ๆ จนสามารถเข้าปกครองดินแด...

    พรรคประชาชนปฏิวัติลาว เคลื่อนไหวล้มล้างรัฐบาลระบอบประชาธิปไตย

    พรรคประชาชนปฏิวัติลาว เคลื่อนไหวล้มล้างรัฐบาลระบอบประชาธิปไตย

    2 ธันวาคม พ.ศ. 2518 พรรคประชาชนปฏิวัติลาว (คอมมิวนิสต์ลาว) โดย ไกสอน พมวิหาน เคลื่อนไหวล้มล้างรัฐบาลระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ของเจ้ามหาชีวิตสว่างวัฒนา และจักรพรรดิล่าเมืองขึ้นสำเร็จแล้วสถาปนาเป็นประเทศ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และเริ่มปกครองในระบอบสังคมนิยม โดยพรรคการเมืองเดียวคือ พรรคประชาชนปฏิวัติลาว มีอำนาจสูงสุด วันนี้ของทุกปีจึงถือเป็น วันชาติลาว ...

  • วันเกิด โจเซฟ คอนราด นักประพันธ์ชาวอังกฤษ

    วันเกิด โจเซฟ คอนราด นักประพันธ์ชาวอังกฤษ

    3 ธันวาคม พ.ศ. 2400 วันเกิด โจเซฟ คอนราด (Joseph Conrad) ชื่อเดิมคือ Teodor Józef Konrad Korzeniowski เกิดที่ประเทศโปแลนด์ สูญเสียพ่อแม่ตอนอายุ 12 ปี จึงย้ายไปอยู่กับลุงที่สวิสต์เซอร์แลนด์ จากนั้นเขาก็เริ่มทำงานกับเรือพาณิชย์ของฝรั่งเศส ภายหลังเปลี่ยนมาทำงานกับเรือของอังกฤษ และได้เป็นกับตันในที่สุด หลังจากนั้นเขาได้รับสัญชาติอังกฤษ และเปลี่ยนชื่อเป็นโจเซฟ คอนราด เมื่ออายุ 36 ปี เขาเลิกออกทะเล เริ่มตั้งหลักปักฐานในอังกฤษ แต่งงานมีบุตรชายสองคน และเ...

    มีการประกวดนางสาวไทยขึ้นอีกครั้ง หลังจากที่ได้เว้นไปประมาณ 10 ปี

    มีการประกวดนางสาวไทยขึ้นอีกครั้ง หลังจากที่ได้เว้นไปประมาณ 10 ปี

    3 ธันวาคม พ.ศ. 2507 มีการประกวดนางสาวไทยขึ้นอีกครั้ง หลังจากที่ได้เว้นไปประมาณ 10 ปี โดยการประกวดจัดขึ้นในงาน วชิราวุธานุสรณ์ วังสราญรมย์ ผู้ได้ตำแหน่งนางสาวไทยประจำปีนี้คือ อาภัสรา หงสกุล ซึ่งในปีต่อมาเธอก็ได้เป็นนางงามจักรวาล ส่วนรองอันดับ 1-4 ได้แก่ อรัญญา นามวงศ์, เนาวรัตน์ วัชรา, ละอองดาว กิริยา และ เสาวนีย์ วรปัญญาสกุล ...

    ดร. คริสเตียน บาร์นาร์ด ทำการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ของมนุษย์สำเร็จเป็นครั้งแรกในโลก

    ดร. คริสเตียน บาร์นาร์ด ทำการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ของมนุษย์สำเร็จเป็นครั้งแรกในโลก

    3 ธันวาคม พ.ศ. 2510 ดร. คริสเตียน บาร์นาร์ด (Dr.Christiaan Barnard) ได้ทำการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ของมนุษย์สำเร็จเป็นครั้งแรกในโลก ที่เมืองเคปทาวน์ แอฟริกาใต้ โดยผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจให้กับคนไข้วัย 53 ปี ซึ่งหัวใจที่ได้นั้นมาจากหญิงสาววัย 25 ปีที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ การผ่าตัดประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามผู้ที่ได้รับการเปลี่ยนหัวใจกลับเสียชีวิตในอีก 18 วันต่อมา จากโรคแทรกซ้อนและการติดเชื้อในปอด ...

  • ประธานาธิบดี วูดโรว์ วิลสัน เดินทางไปฝรั่งเศสเพื่อร่วมประชุมสันติภาพสำหรับสงครามโลกครั้งที่ 1

    ประธานาธิบดี วูดโรว์ วิลสัน เดินทางไปฝรั่งเศสเพื่อร่วมประชุมสันติภาพสำหรับสงครามโลกครั้งที่ 1

    4 ธันวาคม พ.ศ. 2461 ประธานาธิบดี วูดโรว์ วิลสัน (Woodrow Wilson) เดินทางออกจากสหรัฐอเมริกาทางเรือไปยังเมืองแวร์ซายด์ ประเทศฝรั่งเศส เพื่อร่วมประชุมสันติภาพสำหรับสงครามโลกครั้งที่ 1 และเขาเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่เดินทางไปยุโรปอย่างเป็นทางการ ...

    วันเกิด ศาสตราจารย์ระพี สาคริก อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

    วันเกิด ศาสตราจารย์ระพี สาคริก อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

    4 ธันวาคม พ.ศ. 2465 วันเกิด ศาสตราจารย์ระพี สาคริก อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และนายกสมาคมกล้วยไม้แห่งประเทศไทย ผู้ริเริ่มในการอบรมการปลูกและเพาะเลี้ยงกล้วยไม้แก่บุคคลทั่วไป และมีส่วนที่ทำให้กล้วยไม้ตัดดอกของไทยทำรายได้สู่ประเทศเป็นจำนวนมหาศาล ...

    นางชูศรี มีสมมนต์ ดาราภาพยนตร์ผู้มีชื่อเสียง ถึงแก่กรรมด้วยโรคหัวใจล้มเหลว

    นางชูศรี มีสมมนต์ ดาราภาพยนตร์ผู้มีชื่อเสียง ถึงแก่กรรมด้วยโรคหัวใจล้มเหลว

    4 ธันวาคม พ.ศ.2535 นางชูศรี มีสมมนต์ ดาราภาพยนตร์ผู้มีชื่อเสียง ถึงแก่กรรมด้วยโรคหัวใจล้มเหลว ที่โรงพยาบาลนนทเวช ขณะมีอายุ 63 ปี ชูศรีเป็นดาราตลกหญิงอาวุโสที่มีชื่อเสียงมาพร้อมกับล้อต๊อก และสมพงษ์ พงษ์มิตร จบการศึกษาจากโรงเรียนดุริยางค์ทหารอากาศ เคยร่วมแสดงคณะเทพศิลป์ ของ ส. อาสนจินดา ชูศรีเคยมีผลงานกำกับภาพยนตร์เรื่อง เมียสั่งทางไปรษณีย์ (2523) และแสดงภาพยนตร์อีก 60 กว่าเรื่อง เคยได้รับรางวัลผู้แสดงตลกฝ่ายหญิงยอดเยี่ยม จากเรื่อง อ้อน..กะล่อนเต็มสูตร เมื่อ ...

  • โวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ต คีตกวีเอกของโลกชาวออสเตรีย เสียชีวิต

    โวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ต คีตกวีเอกของโลกชาวออสเตรีย เสียชีวิต

    5 ธันวาคม พ.ศ. 2334 โวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ต (Wolfgang Amadeus Mozart) คีตกวีเอกของโลกชาวออสเตรีย เสียชีวิตขณะกำลังประพันธ์เพลง Requiem mass in D minor เขาเกิดที่เมืองซัลสบูร์ก (Salzbourg) ประเทศออสเตรีย ในครอบครัวนักดนตรี โมซาร์ตมีประสาทหูที่ยอดเยี่ยม และมีความจำที่แม่นยำ เขาเริ่มฉายแววอัจฉริยะทางดนตรีตั้งแต่วัยเพียง 3 ขวบ เริ่มเรียนไวโอลินและออร์แกนตอน 5 ขวบ ในวัย 6 ขวบเขาสามารถแต่งเพลงชิ้นแรกได้แล้ว จากนั้นเขาได้ออกเดินทางตระเวนเล่นดนตรีกับบิดาไปทั่วยุ...

    วันเกิด วอลท์ ดีสนีย์ นักสร้างสรรค์ภาพยนตร์การ์ตูนชาวอเมริกัน

    วันเกิด วอลท์ ดีสนีย์ นักสร้างสรรค์ภาพยนตร์การ์ตูนชาวอเมริกัน

    5 ธันวาคม พ.ศ. 2444 วันเกิด วอลท์ ดีสนีย์ (Walter Elias Disney) ผู้อำนวยการสร้างและนักสร้างสรรค์ภาพยนตร์การ์ตูนชาวอเมริกัน ผู้บุกเบิกการสร้างภาพยนตร์การ์ตูน ผู้เนรมิตตัวการ์ตูนอมตะ มิกกี้ เมาส์ เขาทำให้ภาพยนตร์การ์ตูนได้รับความนิยมสูงสุด ภาพยนตร์การ์ตูนของเขาได้ให้ความสุขและเสียงหัวเราะแก่คนทั่วโลก ต่อมาเขาได้สร้างสวนสนุกดีสนีย์แลนด์ ผลงานการ์ตูนที่เป็นที่รู้จักได้แก่ แฟนตาเซีย สโนไวต์กับคนแคระทั้งเจ็ด พินอคคิโอ ฯลฯ ...

    พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชสมภพ

    พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชสมภพ

    5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 --พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชสมภพ ณ โรงพยาบาลเคมบริดจ์ เมืองบอสตัน มลรัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา เป็นพระราชโอรสองค์เล็กในสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงสงขลานครินทร์ และหม่อมสังวาลย์ มหิดล ทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2489 ถึงปัจจุบัน ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ในฐานะประมุขแห่งรัฐ เป็นเวลายาวนานที่สุดในโลก (70 ปี ในพ.ศ. 2559) ในปี 2530 ได้มีการถวายพระราชสมัญญาใหม่ว่า พระบาทสมเด็จพ...

  • ประเทศฟินแลนด์ประกาศเอกราชจากรัสเซีย

    ประเทศฟินแลนด์ประกาศเอกราชจากรัสเซีย

    6 ธันวาคม พ.ศ. 2460 ประเทศฟินแลนด์ (Republic of Finland) ประกาศเอกราชจากรัสเซีย หลังจากการปฏิวัติบอลเชวิกประสบความสำเร็จ รัฐสภาของฟินแลนด์ลงมติเห็นชอบในเรื่องการประกาศเอกราชของฟินแลนด์ โดยมี คาร์โล ยุโอ สโตห์ลเบิร์ก เป็นประธานาธิบดีคนแรก ฟินแลนด์เป็นประเทศกลุ่มนอร์ดิก ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของยุโรป มีประชากรประมาณ 5 ล้านคน ใช้ภาษาฟินแลนด์ และสวีเดนเป็นภาษาราชการ ปกครองในระบอบสาธารณรัฐ โดยใช้ระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน แบ่งการปกครองออกเป็น 6 จังหวัด เมื...

    เกิดการระเบิดครั้งใหญ่ที่ท่าเรือฮาลิแฟกซ์ ประเทศแคนนาดา

    เกิดการระเบิดครั้งใหญ่ที่ท่าเรือฮาลิแฟกซ์ ประเทศแคนนาดา

    6 ธันวาคม พ.ศ. 2460 เวลาประมาณ 09.04 น. เกิดการระเบิดครั้งใหญ่ ที่ ท่าเรือ ฮาลิแฟกซ์ (Halifax) เมืองโนวา สโกเชีย ประเทศแคนนาดา เนื่องจากเรือ มงต์-บลังต์ (Mont-Blanc) ซึ่งเป็นเรือบรรทุกยุทโธปกรณ์ของฝรั่งเศส ซึ่งบรรทุกวัตถุระเบิดหนัก 2,400 ตัน กำลังออกเดินทางไปทวีปยุโรปเพื่อเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แต่ได้ชนกับเรืออีกลำหนึ่งจนระเบิดอย่างรุนแรง ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 2,000 คน บาดเจ็บอีกกว่า 9,000 คน ตาบอดอีกกว่า 200 คน บ้านเรือนพังทลายกว่า 1,600 หลัง ...

  • ฝูงบินรบกามิกาเซ่ของญี่ปุ่นลอบโจมตีเพิร์ล ฮาร์เบอร์ฐานทัพของสหรัฐฯ

    ฝูงบินรบกามิกาเซ่ของญี่ปุ่นลอบโจมตีเพิร์ล ฮาร์เบอร์ฐานทัพของสหรัฐฯ

    7 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ฝูงบินรบ กามิกาเซ่ (kamikaze) ของกองทัพอากาศญี่ปุ่นลอบโจมตี เพิร์ล ฮาร์เบอร์ ซึ่งเป็นฐานทัพที่สำคัญที่สุดของสหรัฐฯ ในภาคพื้นแปซิฟิก ตั้งอยู่ในหมู่เกาะฮาวาย ทำให้กองเรือรบและฝูงบินได้รับความเสียหายรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐฯ นับเป็นเหตุการณ์สำคัญที่ผลักดันให้อเมริกาประกาศเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างเป็นทางการ การโจมตีครั้งนี้ส่งผลให้ทหารเสียชีวิต 2,335 นาย ทหารอากาศ 55 นาย ทหารเรือดำน้ำ 9 นาย พลเรือน 68 คน ทหารบาดเจ็บ 1,14...

    ยานกาลิเลโอ เดินทางถึงดาวพฤหัสบดี

    ยานกาลิเลโอ เดินทางถึงดาวพฤหัสบดี

    7 ธันวาคม พ.ศ. 2538 ยานกาลิเลโอ (Galileo Space Probe) ขององค์การนาซา เดินทางถึงดาวพฤหัสบดี หลังจากใช้เวลาเดินทางในอวกาศนานกว่า 6 ปี คือส่งจากผิวโลกตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคม 2532 ยานกาลิเลโอมีภารกิจในการสำรวจชั้นบรรยากาศของดาวพฤหัสบดี ยานกาลิเลโอเป็นยานสำรวจอวกาศขนาดใหญ่ หนัก 2,222 กิโลกรัม โดยครึ่งหนึ่งของน้ำหนักเป็นเชื้อเพลิง การเดินทางสู่ดาวพฤหัสบดีของยานกาลิเลโอเป็นการเดินทางตามเส้นทางอ้อม และใช้เวลามาก เพราะยานกาลิเลโอไม่มีเชื้อเพลิงมากพอที่จะเดินทางจากโล...

    รัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยกระบวนพยุหยาตราสถลมารค

    รัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยกระบวนพยุหยาตราสถลมารค

    7 ธันวาคม พ.ศ. 2506 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ทรงพระมหามาลาประทับพระที่นั่งราชยานพุดตานทอง เสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยกระบวนพยุหยาตราสถลมารค (กระบวนพยุหยาตราใหญ่ทางบก) ตามโบราณราชประเพณีเนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 3 รอบ นับเป็นการฟื้นฟูพระราชพิธีนี้ขึ้นอีกครั้ง หลังจากที่จัดครั้งสุดท้ายในสมัยรัชกาลที่ 7 (พ.ศ. 2468 เนื่องในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และอีกครั้งในปี พ.ศ. 2475)...

  • ทหารญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกเข้าไทยในสงครามโลกครั้งที่ 2

    ทหารญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกเข้าไทยในสงครามโลกครั้งที่ 2

    8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 เช้าตรู่วันนี้ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่น “ยกพลขึ้นบก” โดยเดินทัพเข้าไทยทั้งทางบกและทางทะเลด้านอ่าวไทย 7 จังหวัดภาคใต้คือ สมุทรปราการ ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี ชุมพร นครศรีธรรมราช สงขลา และปัตตานี เพื่อขอผ่านไปตีพม่าและมลายูของอังกฤษ จนเกิดปะทะกับ ทหาร ตำรวจและยุวชนทหารไทย ซึ่งได้ต่อสู้อย่างดุเดือด ในที่สุดรัฐบาลไทยโดยจอมพล ป. พิบูลย์สงคราม ได้ประกาศอนุญาตให้ทหารญี่ปุ่นเดินทัพผ่านประเทศได้ ...

    จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ถึงแก่อสัญกรรม

    จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ถึงแก่อสัญกรรม

    8 ธันวาคม พ.ศ. 2506 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีคนที่ 11 ของไทยถึงแก่อสัญกรรมที่โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า ด้วยโรคโลหิตไปเลี้ยงสมองน้อยกว่าปกติ และโรคไตกับโรคหัวใจแทรกซ้อน ขณะอายุได้ 55 ปี เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของไทยที่ถึงแก่อสัญกรรมขณะดำรงตำแหน่ง ...

    จอห์น เลนนอน นักร้องนำวงสี่เต่าทองถูกยิงเสียชีวิต

    จอห์น เลนนอน นักร้องนำวงสี่เต่าทองถูกยิงเสียชีวิต

    8 ธันวาคม พ.ศ. 2523 จอห์น เลนนอน (John Lennon) นักร้องนำวงสี่เต่าทอง--The Beatles ถูกยิงเสียชีวิต บริเวณอพาร์ตเมนต์ของเขาที่กรุงนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา โดยมาร์ก เดวิด แชปแมน (Mark David Chapman) แฟนเพลงที่คลั่งไคล้เขา ตำรวจพบหลักฐานว่าแชปแมนติดยาเสพติด และมีอาการป่วยทางจิต วันที่เขายิงเลนนอนนั้นในมืออีกข้างเขาถืออัลบัม Double Fantasy ซึ่งเป็นอัลบัมล่าสุดของจอห์นกับโยโกะ และที่หน้าปกมีลายเซ็นของจอห์นซึ่งเซ็นให้เขาเมื่อคืนก่อนหน้านั้นอยู่ด้วย จอห์นเป็นหนึ่งในผู...

  • วันสิ้นพระชนม์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส

    วันสิ้นพระชนม์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส

    9 ธันวาคม พ.ศ. 2396 วันสิ้นพระชนม์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส พระนามเดิมคือ พระองค์เจ้าชายวาสุกรี ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 28 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงประสูติในวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2333 เมื่อพระชนมายุ 12 พรรษา ได้ผนวชเป็นสามเณร ประทับ ณ พระตำหนักท่าวาสุกรี วัดพระเชตุพนฯ ในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้รับการโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปรมานุชิตชิโนรส ได้ทรงนิพนธ์วรรณคดีที่สำคัญ ได้แก่ สรรพสิทธ์คำฉันท์ กฤษณา สอนน้องคำฉั...

    พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ในรัชกาลที่ 5 สิ้นพระชนม์

    พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ในรัชกาลที่ 5 สิ้นพระชนม์

    9 ธันวาคม พ.ศ. 2476 พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ในรัชกาลที่ 5 สิ้นพระชนม์ เจ้าดารารัศมีทรงเป็นพระธิดาองค์สุดท้ายของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ 7 ทรงเป็นเจ้านายพระองค์หนึ่งของอาณาจักรล้านนาที่ได้รับการกล่าวถึงมากที่สุด มีส่วนสำคัญในการประสานอาณาจักรล้านนาและอาณาจักรทางใต้ให้เป็นหนึ่งเดียว และทรงเป็นตัวอย่างในการรักษาประเพณีอันดีงามของล้านนาไว้อย่างเคร่งครัด ...

    เลค วาเลซา ได้รับเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดีคนแรกแห่งโปแลนด์

    เลค วาเลซา ได้รับเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดีคนแรกแห่งโปแลนด์

    9 ธันวาคม พ.ศ. 2533 เลค วาเลซา (Lech Walesa) ผู้นำแรงงานเสรีแห่งโปแลนด์ ได้รับเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดีเป็นคนแรก หลังจากเปลี่ยนแปลงจากระบบสังคมนิยม โดยจัดให้ประชาชนมีสิทธิเลือกตั้งประธานาธิบดีเป็นครั้งแรก ก่อนหน้านั้นในปี 2526 เขาเคยได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ ...

  • รัชกาลที่ 7 พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม(พ.ศ. 2475)ให้แก่ปวงชนชาวไทย

    รัชกาลที่ 7 พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม(พ.ศ. 2475)ให้แก่ปวงชนชาวไทย

    10 ธันวาคม พ.ศ.2475 --วันรัฐธรรมนูญ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 พระราชทาน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม (พ.ศ. 2475) ให้แก่ปวงชนชาวไทย หลังจากที่ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน ปีเดียวกัน ภายหลังจาก คณะราษฎร ทำการอภิวัฒน์ เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับถาวรฉบับแรกขอ...

    รัดยาร์ด คิปลิง ได้รับรางวัลโนเบล สาขาวรรณกรรม

    รัดยาร์ด คิปลิง ได้รับรางวัลโนเบล สาขาวรรณกรรม

    10 ธันวาคม พ.ศ. 2450 รัดยาร์ด คิปลิง (Rudyard Kipling) ได้รับรางวัลโนเบล สาขาวรรณกรรม เขาเป็นนักประพันธ์ชาวอังกฤษคนแรกที่ได้รับรางวัลนี้ เกิดเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2408 ในบอมเบย์ ประเทศอินเดีย และโตในอังกฤษ เสียชีวิตในวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2479 ในลอนดอน เขาเขียนเรื่องสั้น นวนิยายและบทกวี เนื้อหาของผลงานส่วนใหญ่เกี่ยวกับจักรวรรดิอังกฤษโดยเฉพาะในอินเดีย บทประพันธ์ที่มีชื่อเสียงได้แก่ Just So Stories, The Jungle Book (เมาคลีลูกหมาป่า) เป็นต้น ในยุคปัจจุบั...

    นวนิยายเรื่องผู้ชนะสิบทิศ เริ่มลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ ประชาชาติ

    นวนิยายเรื่องผู้ชนะสิบทิศ เริ่มลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ ประชาชาติ

    10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 นวนิยายเรื่อง “ผู้ชนะสิบทิศ” ของ ยาขอบ (โชติ แพร่พันธุ์) เริ่มลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ ประชาชาติ ของกุหลาบ สายประดิษฐ์ (ศรีบูรพา) ผู้เขียนเรียกว่านวนิยายปลอมพงศาวดาร โดยอาศัยเค้าเรื่องจากพงศาวดารพม่าเพียง 8 บรรทัด ใช้เวลาเขียนถึง 8 ปี เริ่มลงตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ สุริยา เมื่อหนังสือปิดตัวลง นวนิยายเรื่องนี้จึงย้ายไปลงที่ประชาชาติแทน โดยมาลัย ชูพินิจเปลี่ยนชื่อจาก“ยอดขุนพล” เป็นผู้ชนะสิบทิศ ซึ่งหมายถึ...

  • สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทอดพระเนตรจันทรุปราคา ณ เมืองลพบุรี

    สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทอดพระเนตรจันทรุปราคา ณ เมืองลพบุรี

    11 ธันวาคม พ.ศ. 2228 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงกล้องโทรทรรศน์ทอดพระเนตร จันทรุปราคา เต็มดวง ณ พระที่นั่งเย็น ทะเลชุบศร เมืองลพบุรี พร้อมด้วยคณะทูต นักบวชและนักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส นับเป็นครั้งแรกที่มีการศึกษาด้านดาราศาสตร์ด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย สมเด็จพระนารายน์ทรงเป็น พระมหากษัตริย์ นับเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ทรงมีพระราชกรณียกิจที่สำคัญตลอดรัชกาลของพระองค์ ทั้งด้านการทหาร วรรณคดี และการทูต โด...

    สมัชชาสามัญแห่งสหประชาชาติก่อตั้ง กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูนิเซฟ

    สมัชชาสามัญแห่งสหประชาชาติก่อตั้ง กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูนิเซฟ

    11 ธันวาคม พ.ศ. 2489 สมัชชาสามัญแห่งสหประชาชาติก่อตั้ง กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูนิเซฟ (The United Nations Internationals Children’s Emergency Fund--UNICEF) เป็นหน่วยงานหนึ่งของสหประชาชาติ ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม, พัฒนาการ, สุขภาพรวมถึงความเป็นอยู่ของเด็กและแม่ในประเทศกำลังพัฒนา ...

  • กันยา เทียนสว่าง คว้าตำแหน่ง นางสาวสยาม คนแรกของไทย

    กันยา เทียนสว่าง คว้าตำแหน่ง นางสาวสยาม คนแรกของไทย

    12 ธันวาคม พ.ศ. 2477 กันยา เทียนสว่าง วัย 20 ปี คว้าตำแหน่ง “นางสาวสยาม” คนแรกของไทยในงานฉลองรัฐธรรมนูญ การประกวดครั้งนี้ได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นอย่างมาก เพราะเป็นสีสันสำคัญในงานฉลองฯ ...

    สนามหลวงได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ

    สนามหลวงได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ

    12 ธันวาคม พ.ศ. 2520 สนามหลวง หรือ ท้องสนามหลวง ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ มีเนื้อที่ 75 ไร่ 63 ตารางวา เดิมเรียกว่า ทุ่งพระเมรุ เนื่องจากใช้เป็นที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระเจ้าแผ่นดิน และพระบรมวงศานุวงศ์ ต่อมาปี 2398 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อทุ่งพระเมรุ” เป็น “ท้องสนามหลวง” ในรัชกาลปัจจุบันมีการใช้สนามหลวงเป็นที่ประกอบพระราชพิธีสำคัญ ๆ เช่น พระราชพิธ...

  • เซอร์ ฟรานซิส เดรก นักเดินเรือชาวอังกฤษออกเดินทางรอบโลก

    เซอร์ ฟรานซิส เดรก นักเดินเรือชาวอังกฤษออกเดินทางรอบโลก

    13 ธันวาคม พ.ศ. 2120 เซอร์ ฟรานซิส เดรก (Sir Francis Drake) นักเดินเรือชาวอังกฤษ ออกเดินเรือจากอังกฤษด้วยเรือ โกลเด้นไฮน์ (Goldenhinde) เพื่อเดินทางรอบโลก เขาต้องใช้เวลาถึง 3 ปีจึงกลับอังกฤษผ่านแหลมกู้ดโฮป เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ.2123 และได้เป็นชาวอังกฤษคนแรกที่เดินทางรอบโลกสำเร็จ ...

    ซัดดัม ฮุสเซน อดีตประธานาธิบดีแห่งอีรักถูกจับกุมโดยกองทัพสหรัฐอเมริกา

    ซัดดัม ฮุสเซน อดีตประธานาธิบดีแห่งอีรักถูกจับกุมโดยกองทัพสหรัฐอเมริกา

    13 ธันวาคม พ.ศ. 2546 ซัดดัม ฮุสเซน (Suddam Hussain) อดีตประธานาธิบดีแห่งอีรักถูกจับกุมโดยกองทัพสหรัฐอเมริกา ในขณะที่ซ่อนตัวอยู่ในหลุมขนาดเล็ก ในฟาร์มแห่งหนึ่งชานเมืองตีกรีต หลังจากที่จอร์จ ดับเบิลยู บุช ประกาศทำสงครามกับอีรักด้วยข้อกล่าวหาว่า ซัดดำมีอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูงไว้ในครอบครอง ปกครองประเทศอย่างโหดเหี้ยม แต่หลังจากจับตัวซัดดัมได้แล้วก็ไม่พบอาวุธดังที่บุชกล่าวหาแต่อย่างใด หลายฝ่ายวิเคราะห์ว่าแท้จริงแล้วสงครามครั้งนี้อเมริกาต้องการน้ำมันในตะวันออกกลา...

    ยูเนสโก ได้ประกาศให้อุทยานประวัติศาสตร์ของไทย 3 แห่ง เป็นมรดกโลก

    ยูเนสโก ได้ประกาศให้อุทยานประวัติศาสตร์ของไทย 3 แห่ง เป็นมรดกโลก

    13 ธันวาคม พ.ศ. 2534 คณะกรรมการมรดกโลก ยูเนสโก ได้ประกาศให้อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร และอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม และประกาศให้ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ และในวันเดียวกันนี้ในปีต่อมายูเนสโกก็ได้มีมติให้ แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง อ. หนองหาน จ. อุดรธานี เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมเพิ่มอีกแห่ง ...

  • จอร์จ วอชิงตัน ประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐอเมริกาถึงแก่อสัญกรรม

    จอร์จ วอชิงตัน ประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐอเมริกาถึงแก่อสัญกรรม

    14 ธันวาคม พ.ศ. 2342 จอร์จ วอชิงตัน (George Washington) ประธานาธิปดีคนแรกของสหรัฐอเมริกา ถึงแก่อสัญกรรม จอร์จ วอชิงตัน เกิดเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2275 ที่รัฐเวอร์จิเนียประเทศสหรัฐอเมริกา ในวัยเด็กเรียนหนังสือที่บ้าน ตอนอายุ 20 ปีเข้าเป็นทหาร แต่ภายหลังได้ลาออก ในปี 2302 แต่งงานกับมาร์ธา คัสติส จากนั้นก็ทำไร่กับครอบครัวอยู่ในชนบทของอเมริกา ต่อมาได้เกิดความขัดแย้งระหว่างอาณานิคมอเมริกันกับประเทศอังกฤษเพราะอาณานิคมไม่พอใจที่ถูกเรียกเก็บภาษี และปกครองโดยรัฐบาลอังก...

    วันเกิด พระยาอนุมานราชธน (เสฐียรโกเศศ)

    วันเกิด พระยาอนุมานราชธน (เสฐียรโกเศศ)

    14 ธันวาคม พ.ศ. 2431 วันเกิด พระยาอนุมานราชธน (เสฐียรโกเศศ) ผู้เป็นนักปราชญ์คนสำคัญของประเทศ เรียนจบชั้นมัธยม 5 จากโรงเรียนอัสสัมชัญ เริ่มทำงานเป็นเสมียนที่กรมศุลกากร การงานก้าวหน้ามาโดยตลอด ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาเมื่ออายุได้ 36 ปี แต่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองจึงมีเหตุให้ต้องลาออก ต่อมาหลวงวิจิตรวาทการก็ชวนมาทำงานที่กรมศิลปากร ด้วยความที่เป็นผู้มีความสามารถจึงได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นตามลำดับ จนได้เป็นอธิบดีกรมศิลปากรในที่สุด แม้จะเกษียณอายุแล้วก็...

  • วันเกิด นอสตราดามุส นักพยากรณ์ชื่อดัง

    วันเกิด นอสตราดามุส นักพยากรณ์ชื่อดัง

    15 ธันวาคม พ.ศ. 2043 วันเกิด นอสตราดามุส (Nostradamus) หรือ มิเคล เดอ นอสตราดาม (Michel De Nostradame) แพทย์และนักพยากรณ์ชื่อดังชาวฝรั่งเศส เชื้อสายยิว เขาเกิดที่เมืองแซงต์ เรมี นอสตราดามุสจบการศึกษาด้านการแพทย์ จากมหาวิทยาลัยมงต์เปลลีเยต์ ในสมัยที่โรคกาฬโรคกำลังระบาด โดยที่ยังไม่รู้สาเหตุ นอสตราดามุสจึงศึกษาและพัฒนายาจนในที่สุดต้องเสียภรรยาและลูกไป จากนั้นเขาจึงออกเดินทางไปทั่วฝรั่งเศสและอิตาลี ค้นคว้าเรื่องยาจนตั้งหลักอีกครั้งที่เมือง ซาลอง (Salon) แต่งงา...

    วันเกิด กุสตาฟ ไอเฟล ผู้ออกแบบหอไอเฟล

    วันเกิด กุสตาฟ ไอเฟล ผู้ออกแบบหอไอเฟล

    15 ธันวาคม พ.ศ. 2375 วันเกิด กุสตาฟ ไอเฟล (Alexandre Gustave Eiffel) วิศวกรและสถาปนิกชาวฝรั่งเศส ผู้ออกแบบหอไอเฟล (Eiffel Tower) เขาเป็นปรมาจารย์ในด้านการก่อสร้างด้วยเหล็ก สิ่งก่อสร้างที่เขาสร้างและคนจดจำได้มากที่สุดนอกจากหอไอเฟลแล้วยังมี Three-Hinged Arch นอกจากนั้นเขายังเป็นผู้สร้าง สะพานข้ามแม่น้ำดูโร (Douro) ในตอนเหนือของโปรตุเกส ซึ่งถือว่าเป็นสะพานที่มีช่วงกว้างที่สุดในเวลานั้น ...

    เจมส์ ไนสมิธ คิดค้นกีฬาบาสเก็ตบอลได้สำเร็จ

    เจมส์ ไนสมิธ คิดค้นกีฬาบาสเก็ตบอลได้สำเร็จ

    15 ธันวาคม พ.ศ. 2434 เจมส์ ไนสมิธ (James Naismith) นายแพทย์ชาวคานาดา สามารถคิดค้นกีฬาบาสเก็ตบอล ได้สำเร็จ กีฬาชนิดนี้สามารถเล่นได้ภายในอาคาร ในช่วงฤดูหนาวซึ่งไม่สามารถเล่นกีฬากลางแจ้งอื่น ๆ ได้ เขาคิดค้นกีฬานี้ขณะเป็นครูสอนพละใน The International Y.M.C.A. Training School อยู่ที่เมืองสปริงฟิลด์ (Springfield) รัฐแมสซาชูเซต (Massachusetts) สหรัฐอเมริกา โดยเขาได้นำเกมที่เคยเล่นตอนเด็กที่ชื่อ ดั๊กออนอะร็อค (Duck-on-a-Rock) มาดัดแปลงเป็นกีฬาบาสเกตบอลในปัจจุบัน ใน...

  • ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ

    ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ

    16 ธันวาคม พ.ศ. 2489 ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ (United Nation-UN) ฐานะสมาชิกใหม่เป็นลำดับที่ 55 โดยมี พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงษ์ประพันธ์ ทรงเป็นผู้แทนของไทยคนแรกประจำองค์การนี้ ...

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับการทูลเกล้า ฯ ถวายเหรียญทองจากการแข่งขันเรือใบประเภทโอเค

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับการทูลเกล้า ฯ ถวายเหรียญทองจากการแข่งขันเรือใบประเภทโอเค

    16 ธันวาคม พ.ศ. 2510 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ทรงได้รับการทูลเกล้า ฯ ถวายเหรียญทองจากการแข่งขันเรือใบประเภทโอเค ในการแข่งขันกีฬาแหลมทองครั้งที่ ๔ ณ สนามศุภชลาศัย ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๓๒ ทางราชการได้กำหนดให้ วันที่ ๑๖ ธันวาคม ของทุกปี เป็น วันกีฬาแห่งชาติ ...

  • วันสวรรคตของ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า

    วันสวรรคตของ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า

    17 ธันวาคม พ.ศ. 2498 วันสวรรคตของ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พระนามเดิม พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา ทรงเป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เป็นพระเจ้าลูกเธอชั้นเล็ก ลำดับที่ 60 ในจำนวนทั้งหมด 82 พระองค์ ทรงเป็นพระมารดาของ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สวรรคตขณะพระชนมายุได้ 93 ปี และได้มีการถวายพระเพลิง ณ พระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2499 ...

    สองพี่น้อง ออร์วิลและวิลเบอร์ ไรต์ นำเครื่องบินคิตตี้ ฮอว์ก ขึ้นบิน

    สองพี่น้อง ออร์วิลและวิลเบอร์ ไรต์ นำเครื่องบินคิตตี้ ฮอว์ก ขึ้นบิน

    17 ธันวาคม พ.ศ.2446 สองพี่น้อง ออร์วิลและวิลเบอร์ ไรต์ (Orville & Wilbur Wright) นักบุกเบิกการบินของอเมริกัน นำเครื่องบินชื่อ คิตตี้ ฮอว์ก (Kitty Hawk) บินขึ้นได้นาน 12 วินาที ขึ้นสูง 120 ฟุต ที่เนินเขาคิลล์ ดีวิล รัฐนอร์ทแคโรไลนา อเมริกา นับเป็นการบินโดยใช้เครื่องยนตร์โดยมีนักบินบังคับเป็นครั้งแรกของโลก ความสำเร็จครั้งนี้ถือเป็นการเริ่มต้นของยุคอากาศยาน และทำให้ความฝันในการบินของมนุษย์ก้าวหน้าขึ้นอีกระดับ ...

  • ประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสัน สั่งให้ส่งเครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ บี-52 ไปทิ้งระเบิดโจมตีเวียดนามเหนือ

    ประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสัน สั่งให้ส่งเครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ บี-52 ไปทิ้งระเบิดโจมตีเวียดนามเหนือ

    18 ธันวาคม พ.ศ. 2515 ประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสัน ได้สั่งให้ส่งเครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ บี-52 ไปทิ้งระเบิดโจมตีเวียดนามเหนือในวันนี้ ที่ กรุงฮานอย (Hanoi) เมืองหลวงของเวียดนาม และให้วางทุ่นระเบิดปิดอ่าวเมืองท่าไฮฟอง (Haiphong) หลังจากการเจรจาสันติภาพที่กรุงปารีสในช่วงเดือนธันวาคม 2515 เพื่อยุติสงครามเวียดนาม ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากไม่สามารถตกลงกันได้ถึงสถานะของเวียดนามเหนือหลังการหยุดยิง เวียดนามใต้ไม่ยอมรับเงื่อนไขของเวียดนามเหนือ เมื่อการเจรจาชะงักลง ป...

    ดาวเทียมไทยคมดาวเทียมดวงแรกของไทย ถูกส่งขึ้นวงโคจร

    ดาวเทียมไทยคมดาวเทียมดวงแรกของไทย ถูกส่งขึ้นวงโคจร

    18 ธันวาคม พ.ศ. 2536 ดาวเทียมไทยคม (THAICOM) ดาวเทียมดวงแรกของไทย ถูกส่งขึ้นวงโคจร จากฐานส่งของบริษัท แอเรียนสเปซ (Arianespace) แห่งฝรั่งเศส ที่เมืองคูรู (Kourou) ประเทศเฟรนช์ เกียนา (French Guiana) ทวีปอเมริกาใต้ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้รับพระราชทานชื่อ “ไทยคม” เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2534 โดยมาจากคำว่า ไทยคม (นาคม) สร้างโดยบริษัท ฮิวจ์ แอร์คราฟท์ (Hughes Aircraff) สหรัฐอเมริกา สามารถถ่ายทอดได้ทั้งสัญญาณโทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียง...

  • วันเกิด อัลเบิร์ต ไมเคิลสัน นักวิทยาศาสตร์คนแรกของอเมริกันที่ได้รับรางวัลโนเบล

    วันเกิด อัลเบิร์ต ไมเคิลสัน นักวิทยาศาสตร์คนแรกของอเมริกันที่ได้รับรางวัลโนเบล

    19 ธันวาคม พ.ศ. 2395 วันเกิด อัลเบิร์ต ไมเคิลสัน (Albert Abraham Michelson) นักฟิสิกส์ผู้มีชื่อเสียงชาวอเมริกัน เป็นนักวิทยาศาสตร์คนแรกของอเมริกันที่ได้รับรางวัลโนเบล จากผลการศึกษาค้นคว้าของเขาเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของโลก ได้ให้แนวทางหลักที่สำคัญอันนำไปสู่ทฤษฎี สัมพัทธภาพ (relativity) ของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ...

    อังกฤษ และ จีน ร่วมลงนาม ณ กรุงปักกิ่ง ในการส่งมอบอาณานิคม ฮ่องกง คืนให้จีน

    อังกฤษ และ จีน ร่วมลงนาม ณ กรุงปักกิ่ง ในการส่งมอบอาณานิคม ฮ่องกง คืนให้จีน

    19 ธันวาคม พ.ศ. 2527 อังกฤษ และ จีน ร่วมลงนาม ณ กรุงปักกิ่ง ในการส่งมอบอาณานิคม ฮ่องกง คืนให้จีน ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2540 โดยอังกฤษมีสัญญาเช่าเกาะฮ่องกงจากจีนเป็นเวลา 100 ปี ...

    โรเบิร์ต ริปลีย์ เริ่มต้นคอลัมน์ Believe It or Not ! ในหนังสือพิมพ์ New York Globe

    โรเบิร์ต ริปลีย์ เริ่มต้นคอลัมน์ Believe It or Not ! ในหนังสือพิมพ์ New York Globe

    19 ธันวาคม พ.ศ. 2461 โรเบิร์ต ริปลีย์ (Robert Ripley) เริ่มต้นคอลัมน์ Believe It or Not ! ในหนังสือพิมพ์ New York Globe ต่อมาได้มีการแปลเรื่องราวเหลือเชื่อเหล่านี้ไปยังหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงมีการสร้างพิพิธภัณฑ์ขึ้นหลายแห่ง รวมถึงในประเทศไทยด้วย ...

  • พระธรรมปิฎก รับรางวัล การศึกษาเพื่อสันติภาพ จากองค์การยูเนสโก

    พระธรรมปิฎก รับรางวัล การศึกษาเพื่อสันติภาพ จากองค์การยูเนสโก

    20 ธันวาคม พ.ศ. 2537 พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตโต) รับรางวัล “การศึกษาเพื่อสันติภาพ” จากองค์การยูเนสโก ที่กรุงปารีส นับเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับรางวัลนี้ ท่านเป็นพระสงฆ์ที่อุทิศตนให้กับการเผยแพร่พระศาสนา ทั้งด้านการบรรยายทางวิชาการ การแสดงพระธรรมเทศนา ตลอดจนงานได้นิพนธ์เอกสารวิชาการและตำราต่าง ๆ จำนวนมาก ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนังสือ พุทธธรรม ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็น มรดกธรรมอันล้ำค่าแห่งยุค ที่ควรค่าแก่การศึกษาอย...

    จอห์น สไตน์เบ็ค นักเขียนนวนิยายชาวอเมริกันเสียชีวิต

    จอห์น สไตน์เบ็ค นักเขียนนวนิยายชาวอเมริกันเสียชีวิต

    20 ธันวาคม พ.ศ.2511 จอห์น สไตน์เบ็ค (John Ernst Steinbeck) นักเขียนนวนิยายชาวอเมริกัน เสียชีวิต ไสตน์แบ็คได้สร้างงานเขียนไว้มากมาย ผลงานที่สำคัญคือเรื่อง เพื่อนยาก (Of Mice and Men) โลกียชน (Tortilla Flat) และ ผลพวงแห่งความคับแค้น (The Grapes of Wrath) เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมในปี 2505 ...

    พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีเปิด มหาวิทยาลัยขอนแก่น

    พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีเปิด มหาวิทยาลัยขอนแก่น

    20 ธันวาคม พ.ศ. 2510 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชการที่ 9เสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีเปิด มหาวิทยาลัยขอนแก่น อย่างเป็นทางการ มหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มมีการก่อสร้างในรัฐบาล จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อปี 2507 โดยมีมติจัดตั้งสถาบันการศึกษาชั้นสูงด้านวิศวกรรมศาสตร์ และเกษตรศาสตร์ และเสนอชื่อสถาบันนี้ว่า มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต่อมาในปี 2508 คณะรัฐมนตรีมีมติให้เปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิท...

วันนี้ในอดีตปีอื่นๆ