มันฝรั่งเป็นพืชหัวซึ่งมนุษย์ใช้บริโภค และมีความสำคัญทางเศรษฐกิจของโลกมานานแล้ว ในปีหนึ่งๆ ทั้งโลกผลิตมันฝรั่งได้ประมาณ ๓๐๐ ล้านตันต่อเนื้อที่ปลูกทั้งหมดประมาณ ๗-๘ หมื่นไร่แหล่งผลิตมันขนาดใหญ่ ได้แก่ รุสเซีย โปแลนด์ เยอรมนี ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา ลาตินอเมริกา และบรรดาประเทศในตะวันออกไกล ประเทศที่สามารถผลิตมันฝรั่งได้ผลผลิตต่อไร่สูงสุด ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ คือ ๕ ตัน และที่รองลงมาก็คือเบลเยี่ยมและเยอรมันตะวันตก คือ ได้ผลผลิต ๔.๕ตันเท่ากันสำหรับประเทศไทยนั้น เนื้อที่ปลูกมันฝรั่งจะขึ้นลงตามราคามันฝรั่งในท้องตลาด ถ้าหากราคามันฝรั่งดี กสิกรก็ปลูกมันมาก ดังเช่นในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ เนื้อที่ปลูกทั้งหมดทั่วประเทศ ๗,๒๔๐ ไร่ในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ ลดลงเหลือ ๕,๒๗๒ ไร่ และลดลงอีกในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ เหลือ ๒,๐๑๙ ไร่ ส่วน ในปี ๒๕๑๕ เนื้อที่ปลูกเพิ่มขึ้นเป็น ๖,๒๙๕ ไร่ เป็นต้น
มันฝรั่งเป็นพืชฤดูหนาว และปลูกได้ผลดีทางภาคเหนือ มันฝรั่งเป็นพืชที่ปลูกง่าย อายุสั้นปริมาณผลผลิตที่ได้ค่อนข้างสูง คือ ให้น้ำหนักหัวประมาณ ๑ ตันต่อไร่
ตารางแสดงเนื้อที่ปลูกและผลผลิตของมันฝรั่ง ปี พ.ศ. ๒๕๑๒-๒๕๑๕
ปี พ.ศ.
เนื้อที่ปลูก
(ไร่)
เนื้อที่ปลูกเพิ่มขึ้น
หรือลดลงแต่ละปี
(%)
ผลผลิต
(ตัน)
ผลผลิตเพิ่มขึ้นหรือ
ลดลงแต่ละปี
(%)
ผลผลิตเฉลี่ย
(ตัน/ไร่)
๒๕๑๒
๒๕๑๓
๒๕๑๔
๒๕๑๕
๗,๒๔๐
๕,๒๗๒
๒,๐๑๙
๖,๒๙๕
-
-๓๗.๓๒๙
-๑๖๑.๑๑๙
+๒๑๑.๗๘๘
๙,๐๔๐
๖,๕๑๗
๑,๕๔๕
๘,๖๕๐
-
-๓๘.๗๑๔
-๓๒๑.๘๑๒
+๔๕๙.๘๗๐
๑.๒๗๑
๑.๒๗๘
๐.๗๖๕
๑.๔๐๙
ภายในหัวมันฝรั่งจะมีแกนตรงกลางพุ่งไปยังตาทุกตา รอบๆ แกนเป็นเซลล์พวกพาเรนไคมา (parenchyma) ซึ่งมีสารพวกแป้งอยู่ ต่อจาก พาเรนไคมา ออกมาเป็นวาสคูลาร์ริง (vascularring) ประกอบด้วย แคมเบียม (cambium) และคอร์เทกซ์ (cortex) ซึ่งเป็นเซลล์ที่ทำให้เกิดสีชมพู แดง ม่วง ตามผิวมัน ฝรั่งแต่ละพันธุ์ ผิวของมันฝรั่ง (periderm) หนา ๖-๑๐ ชั้น ประกอบด้วย คอร์ก (cork) และ ซูเบอริน (suberin) เป็นส่วนใหญ่ ซูเบอรินเป็นสารซึ่งมีส่วนประกอบคล้ายไขมัน แผ่นที่ป้องกันตามันฝรั่งนั้นเกิดจากเซลล์ผิวนอกรอบๆ หัวมันฝรั่งมีรูถ่ายเทอากาศเลนติเซล (lenticel) รูถ่ายเทอากาศนี้จะขยายใหญ่เมื่อได้รับความชื้น เมื่อผ่าตัดหัวมันฝรั่งออกแล้วนำไปเก็บไว้ในที่เหมาะสมมันจะสร้างสารคล้ายไขมันหรือซูเบอริน ปิดแผลใหม่เพื่อป้องกันการเน่า หัวมันฝรั่งเมื่อขุดขึ้นมาหรือยังไม่ได้ขุดขึ้นมา ถ้าปล่อยให้ถูกแสงแดดนานๆ ผิวหัวจะกลาย
เป็นสีเขียว และบางพันธุ์จะกลายเป็นสีม่วง เนื่องจากปฏิกิริยาของคลอโรฟิลล์