โทรเลข
โทรเลข, โทรเลข หมายถึง, โทรเลข คือ, โทรเลข ความหมาย, โทรเลข คืออะไร
โทรเลข (ชนิดใช้กระแสไฟฟ้า)
การค้นพบอำนาจแม่เหล็กและไฟฟ้าของกรีกโบราณเป็นมูลเหตุให้บุคคลในอดีตคิดค้นกันต่อๆมา จนกระทั่งสามารถใช้ไฟฟ้าเพื่อกิจการโทรคมนาคมและกิจการอื่นๆได้
บุคคลแรกที่ทดลองพิสูจน์ให้เห็นว่า กระแสไฟฟ้าสามารถไหลไปในสายลวดยาวๆได้ คือ สตีเฟน เกรย์ (StephenGray) เมื่อ พ.ศ. ๒๒๗๒(ปลายรัชสมัยสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๙ ขุนหลวงท้ายสระ แห่งกรุงศรีอยุธยา) แต่ความรู้นี้มิได้ทำให้เขาคิดว่า จะเป็นการเริ่มต้นของการส่งข่าวสารที่รวดเร็ว
ใน พ.ศ. ๒๒๙๖ (ปลายรัชสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่๓ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แห่งกรุงศรีอยุธยา)มีผู้ใช้นามว่า ซี.เอ็ม.แสดงความคิดเห็นว่า น่าจะใช้การส่งกระแสไฟฟ้าไปในสายลวดเป็นวิธีการสื่อสาร เขาแนะนำให้ใช้ลวดเส้นหนึ่งสำหรับส่งตัวอักษรตัวหนึ่งไปปลายทาง เมื่อได้ทำให้เกิดประจุไฟฟ้าจะดูดชิ้นกระดาษเล็กๆ ที่ปลายสายลวดได้ (สมัยนั้นยังไม่มีหม้อไฟฟ้าหรือเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแส) โดยวิธีนี้จะส่งข่าวสารได้ไกล๒-๓ กิโลเมตร ด้วยความรวดเร็วมากทีเดียว
ผู้แก้ปัญหานี้ได้ในเวลาต่อมา คือ ศาสตราจารย์ชาวอิตาลีชื่อว่า อาเลสซันโดร วอลตา (Alessandro Volta เกิด พ.ศ. ๒๒๘๘ ถึงแก่กรรม พ.ศ. ๒๓๗๐) วอลตาคิดสร้างหม้อไฟฟ้าขึ้นได้เป็นคนแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๓ (รัชสมัยพระบาทสมเด็จ-พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์)
ใน พ.ศ. ๒๓๖๓ (ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธ-เลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) ชาวเดนมาร์กชื่อว่า ฮันส์ เออร์สเตด (Hans Oersted เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๐ ถึงแก่กรรม พ.ศ. ๒๓๙๔) ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า ถ้าเอาเข็มแม่เหล็ก (เช่น เข็มทิศ) วางไว้ใกล้สายลวด เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านไปในเส้นลวดเข็มแม่เหล็กนี้จะกระดิกได้ ความรู้นี้ได้เป็นประโยชน์ในการสร้างแม่เหล็กไฟฟ้าในเวลาต่อมา และเป็นประโยชน์อย่างใหญ่หลวงในงานโทรเลข
นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศสชื่อว่า อองเดร มารี อองแปร์ (Andremarie Ampere เกิด พ.ศ. ๒๓๑๘ ถึงแก่กรรม พ.ศ. ๒๓๗๙)จึงเสนอแนะทันทีว่า อาจใช้การกระดิกของเข็มแม่เหล็กเป็นประโยชน์ในการรับส่งสัญญาณไฟฟ้าได้ ด้วยการใช้สายเส้นหนึ่งสำหรับส่งสัญญาณตัวพยัญชนะตัวหนึ่ง
แต่ระบบโทรเลขที่อาศัยการกระดิกของเข็มแม่เหล็กก็ยังไม่เกิดขึ้นจนกระทั่ง พ.ศ. ๒๓๗๖ (รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์)ศาสตราจารย์ คาร์ล ฟรีดริค เกาส์ กับศาสตราจารย์ วิลเฮล์มเวเบอร์ (Wilhelm Weber) แห่งมหาวิทยาลัยเกอทิงเกน ประเทศเยอรมนี จึงได้ทดลองประดิษฐ์ขึ้นเป็นผลสำเร็จ
ชาวอังกฤษชื่อว่า โจเซฟ เฮนรี (Joseph Henry เกิดพ.ศ. ๒๓๔๐ ถึงแก่กรรม พ.ศ. ๒๔๓๑) ขณะเป็นศาสตราจารย์อยู่ในมหาวิทยาลัยพรินส์ตัน สหรัฐอเมริกา ได้ทดลองให้เห็นว่า ถ้าเอาเส้นลวดมาพันรอบแกนเหล็กอ่อน แล้วปล่อยกระแสไฟฟ้าให้ไหลไปในเส้นลวดนั้นอำนาจเส้นแรงแม่เหล็กอันเกิดจากกระแสไฟฟ้าอาจทวีขึ้นได้อีกหลายเท่า
ใน พ.ศ. ๒๓๗๙ วิลเลียม คุก (William FothergillCooke เกิด พ.ศ. ๒๓๔๙ ถึงแก่กรรม พ.ศ. ๒๔๒๒) ชาวอังกฤษ ผู้ถูกปลดจากประจำการในกองทัพอินเดียตะวันออกเพราะทุพพลภาพเนื่องจากการรบได้กลับมาประเทศอังกฤษเขาได้ร่วมมือกับศาสตราจารย์ ชาลส์ วีตสโตน (Charles Wheatstone เกิด พ.ศ. ๒๓๔๕ ถึงแก่กรรม พ.ศ. ๒๔๑๘) สร้างระบบโทรเลขชนิดรับด้วยเข็มแม่เหล็ก ๕ เข็ม โดยใช้สายลวด๕ เส้น เพื่อการสื่อสารในกิจการเดินรถไฟได้ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๐(รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) และได้ปรับปรุงเรื่อยมาเพื่อให้ใช้ได้สะดวกง่ายขึ้น จนสามารถลดจำนวนเข็มแม่เหล็กที่ต้องใช้ลงเหลือเพียงเข็มเดียวได้ (ภายหลังสมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรียแห่งราชอาณาจักรอังกฤษ ได้ทรงแต่งตั้งให้บุคคลทั้งสองมีฐานันดรศักดิ์ เป็นเซอร์ วิลเลียม และเซอร์ ชาลส์ ในฐานะเป็นผู้บุกเบิกพัฒนาการโทรเลขในประเทศอังกฤษ
การรับส่งโทรเลขแบบมอร์สแต่เดิมนั้น ใช้กระแสไฟฟ้าชนิดกระแสตรงส่งไปในสายลวด สามารถส่งโทรเลขได้เพียงครั้งละฉบับเดียว เมื่อสถานีต้นทางเป็นผู้ส่งโทรเลข สถานีปลายทางต้องเป็นผู้รับโทรเลขจนหมดฉบับ แล้วสถานีปลายทางจึงจะส่งโทรเลขของตนมาสถานีต้นทางได้ วิธีการเช่นนี้เรียกว่า ระบบซิมเพล็กซ์ (simplex) ต่อมาจึงได้มีการปรับปรุงทางวิชาการ จนสามารถส่งโทรเลขสวนทางกันไปมาได้ ในทางสายเส้นเดียวกัน ระบบนี้เรียกว่าระบบ ดูเพล็กซ์ (duplex)ภายหลังก็มีระบบ มัลติเพล็กซ์ (multiplex) ซึ่งสามารถส่งโทรเลขไปมาในเวลาเดียวกัน และใช้สายเส้นเดียวกันได้มากกว่าระบบดูเพล็กซ์ ถึง ๔ เท่า
ปัจจุบัน การโทรเลขทางสายได้พัฒนาไปมาก จนถึงกับใช้กระแสสลับความถี่วิทยุขนาดความถี่ต่ำๆ ส่งไปในสายโทรเลขแทนการส่งกระแสตรงอย่างที่เคยใช้กันมา ทำให้สามารถส่งโทรเลขไปในสายเส้นเดียวได้มากกว่า ๓๐๐ ฉบับ
ในเวลาเดียวกัน
เครื่องส่งสัญญาณโทรเลขมอร์สแบบอัตโนมัติ มีแป้นอักษรเหมือนเครื่องพิมพ์ดีด แต่ไม่ได้พิมพ์เป็นตัวอักษร ใช้ปรุหรือเจาะรูแถบกระดาษตามขวางตัวอักษรละ๒ รู ถ้ารูบนกับรูล่างตรงกันจะส่งสัญญาณเป็นจุด ถ้ารูเยื้องกันจะส่งสัญญาณเป็นขีดแล้วป้อนแถบที่ปรุแล้วเข้าเครื่องส่งอัตโนมัติ ส่งเป็นรหัสสัญญาณโทรเลขมอร์สออกไปแทนการเคาะด้วยมือ อาจใช้ความเร็วต่ำเพียง ๕ คำต่อนาทีหรือเพิ่มความเร็วถึง ๑๐๐ คำต่อนาทีก็ได้ (๑ คำโทรเลขเท่ากับ ๕ ตัวอักษรโรมัน)
โทรเลข, โทรเลข หมายถึง, โทรเลข คือ, โทรเลข ความหมาย, โทรเลข คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!