ไฟฟ้าที่ใช้ในบ้าน
ไฟฟ้าที่ใช้ในบ้าน, ไฟฟ้าที่ใช้ในบ้าน หมายถึง, ไฟฟ้าที่ใช้ในบ้าน คือ, ไฟฟ้าที่ใช้ในบ้าน ความหมาย, ไฟฟ้าที่ใช้ในบ้าน คืออะไร
เมื่อการก่อสร้างตัวบ้านเสร็จเรียบร้อยแล้ว เจ้าของบ้านจะต้องไปติดต่อที่การไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคของเขตนั้นๆ เพื่อขออนุญาตใช้ไฟฟ้า เจ้าหน้าที่ของการไฟฟ้าจะมาตรวจสอบการวางสายไฟในอาคาร ดูขนาดของสายไฟ ดวงโคม และจุดต่างๆที่ต้องใช้ไฟ ว่าเป็นไปตามมาตรฐานของการไฟฟ้าหรือไม่ เมื่อทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว ทางการไฟฟ้าก็จะนำมิเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งมีขนาดเพียงพอกับปริมาณไฟฟ้าที่จะขอใช้มาติดยังเสาไฟฟ้าซึ่งปักอยู่หน้าบ้าน โดยผู้ขออนุญาตใช้ไฟเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายในการขออนุญาต เมื่อทำการต่อสายเข้าบ้าน และได้สับสวิตช์ซึ่งอยู่ภายในตัวบ้านแล้ว บ้านนั้นก็จะมีไฟฟ้าใช้ได้
การเดินสายไฟในบ้าน และการติดตั้งดวงโคม ฟิวส์ และปลั๊กเสียบสวิตช์ไฟต่างๆ นับเป็นสิ่งสำคัญมาก ถ้ามีการใช้ไฟฟ้ามากผิดปกติ เช่น ในกรณีที่ใช้สายไฟฟ้าขนาดเล็ก แต่ทางบ้านได้นำเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ เช่น เครื่องหุงต้มไฟฟ้า เตารีดไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น พัดลมหลายๆอันใช้พร้อมๆกัน กระแสไฟฟ้าจะไหลเข้ามาตามสายอย่างมาก ทำให้สายไฟเกิดร้อนจัด เป็นเหตุให้ฉนวนหุ้มสายเสื่อม ใช้การไม่ได้ อันตรายจะเกิดขึ้นเมื่อสายไฟมาแตะกัน ทำให้เกิดวงจรลัด (short circuit)หรือที่เรียกว่า ไฟช็อต เป็นเหตุให้กระแสไฟจำนวนมากมายไหลเข้ามาในบ้านหลังนั้น ซึ่งอาจเป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้ในบ้านหลังนั้นได้ เพื่อป้องกันมิให้กระแสไฟฟ้าเข้าสู่บ้านมากเกินไปจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายดังกล่าว ทุกบ้านจะต้องติดตั้งสวิตช์ไฟตัดตอนพร้อมทั้งกลักฟิวส์ หรือสวิตช์อัตโนมัติ (circuit breaker)เมื่อเกิดกระแสไฟฟ้าเข้าบ้านผิดปกติ หรือในกรณีที่เกิดวงจรลัดกระแสไฟจำนวนมาก จะไหลผ่านกลักฟิวส์ เกิดร้อนละลายขาดออกจากกัน กระแสไฟก็จะหยุดไหลเข้าในบ้านหลังนั้นทันที
ในเขตกรุงเทพมหานคร การไฟฟ้านครหลวงได้จ่ายกระ-แสไฟฟ้าให้ประชาชน โดยอาศัยกระแสไฟฟ้าที่ได้มาจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ที่ตั้งอยู่ ณ ตำบลต่างๆ เช่น ที่สถานีจ่ายไฟย่อยบางกรวย ธนบุรี โรงจักรพลังไอน้ำพระนครเหนือ โรงจักรพลังไอน้ำพระนครใต้ โรงจักรพลังไอน้ำสามเสน และโรงจักรดีเซลตามที่ต่างๆ รวมทั้งพลังไฟฟ้าจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ติดตั้งควบกับกังหันน้ำ ณ เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก เขื่อนสิริกิติ์จังหวัดอุตรดิตถ์ เขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี กระ-แสไฟฟ้าจากเขื่อนต่างๆ จะถูกส่งมาตามสายส่งศักย์สูง ซึ่งขึงตึงอยู่บนหอคอย (pylon) วางเป็นระยะๆ จากจังหวัดดังกล่าวลงมาผ่านกรุงเทพมหานคร และเลยลงไปยังจังหวัดบางจังหวัดทางภาคใต้ของประเทศ แรงดันไฟฟ้าจากเขื่อนจะถูกยกขึ้นจนสูงถึง๒๓๐,๐๐๐ โวลต์ โดยใช้หม้อแปลงไฟขึ้น (step-up transformer)และได้ส่งพลังงานไฟฟ้า จากเขื่อนภูมิพล ลงมายังกรุงเทพฯ โดยมีสถานีย่อย (sub-station) ๕ แห่ง ที่นครสวรรค์ อ่างทองพระนครเหนือ บางกะปิ และบางกอกน้อย ที่สถานีย่อยนี้ แรงดัน๒๓๐,๐๐๐ โวลต์ จะถูกลดลงมาเหลือ ๖๙,๐๐๐ โวลต์ การสร้างสถานีย่อยนี้ เพื่อจ่ายไฟฟ้าให้แก่ประชาชนในจังหวัดต่างๆโดยลดแรงดันให้เป็น ๑๑,๐๐๐ โวลต์ การลดแรงดันไฟฟ้ากระทำโดยใช้หม้อแปลงไฟลง (step-down transformer) กระแสไฟฟ้าที่มีแรงดัน ๑๑,๐๐๐ โวลต์ ก็จะถูกส่งไปตามสายไฟ ซึ่งขึงบนเสาคอนกรีตแต่ละเสาปักห่างเป็นระยะทางประมาณ ๕๐ เมตรเมื่อเข้าเขตที่มีอาคารบ้านเรือน การไฟฟ้าจะติดตั้งหม้อแปลงไฟลงอีกชุดหนึ่ง เพื่อลดแรงดันไฟฟ้าที่สูง ๑๑,๐๐๐ โวลต์ ลงมาเหลือเพียง ๒๒๐ โวลต์ อันเป็นแรงดันไฟฟ้าสำหรับใช้ตามบ้านเรือนทั่วไป
ไฟฟ้าที่ใช้ในบ้าน, ไฟฟ้าที่ใช้ในบ้าน หมายถึง, ไฟฟ้าที่ใช้ในบ้าน คือ, ไฟฟ้าที่ใช้ในบ้าน ความหมาย, ไฟฟ้าที่ใช้ในบ้าน คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!