ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ยุคไมโครคอมพิวเตอร์ชนิด ๑๖ บิต (พ.ศ. ๒๕๒๔ - ๒๕๒๘), ยุคไมโครคอมพิวเตอร์ชนิด ๑๖ บิต (พ.ศ. ๒๕๒๔ - ๒๕๒๘) หมายถึง, ยุคไมโครคอมพิวเตอร์ชนิด ๑๖ บิต (พ.ศ. ๒๕๒๔ - ๒๕๒๘) คือ, ยุคไมโครคอมพิวเตอร์ชนิด ๑๖ บิต (พ.ศ. ๒๕๒๔ - ๒๕๒๘) ความหมาย, ยุคไมโครคอมพิวเตอร์ชนิด ๑๖ บิต (พ.ศ. ๒๕๒๔ - ๒๕๒๘) คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
ยุคไมโครคอมพิวเตอร์ชนิด ๑๖ บิต (พ.ศ. ๒๕๒๔ - ๒๕๒๘)

          ในยุคนี้เป็นยุคไมโครคอมพิวเตอร์ชนิด ๑๖ บิต ไมโครโพรเซสเซอร์ที่ใช้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

          -  สามารถรับคำสั่งได้ถึง ๑๖ ล้านคำสั่งหรือใช้ขนาดข้อมูลได้ถึง ๑๖ ล้านตัวอักษร

          -  สามารถประมวลหรือเรียกใช้ข้อมูลได้ ขนาด ๑๖ บิตต่อครั้ง ตัวเลขที่มีค่ามากกว่า ๖๕,๕๓๖ จะต้องถูกแยกประมวลเป็นหลายๆ ส่วนทำให้มีประสิทธิภาพต่ำ ข้อมูลที่ใช้ทั่วไปทางธุรกิจก็ยังมีขนาดมากกว่านี้ จึงทำให้ไมโครคอมพิวเตอร์ชนิด ๑๖ บิต ยังไม่มีประสิทธิภาพมากพอที่จะนำไปใช้ทางด้านธุรกิจ

          -  มีวิทยาการในการเปิด หรือปิดวงจรทรานซิสเตอร์ได้เร็วถึง ๑๒.๕ ล้านครั้งต่อวินาที(เร็วกว่าไมโครโพรเซสเซอร์รุ่นแรกถึง ๑๑๖ เท่า)

          -  สามารถบรรจุทรานซิสเตอร์ได้ถึง ๑๕๐,๐๐๐ ตัว (มากกว่าไมโครโพรเซสเซอร์รุ่นแรกถึง ๖๕ เท่า)

          -  สามารถประมวลคำสั่งได้เร็วถึง ๒.๗ ล้านครั้งต่อวินาที (เร็วกว่าไมโครโพรเซสเซอร์รุ่นแรกถึง ๔๔ เท่า)

          ไมโครคอมพิวเตอร์ยุคนี้ใช้ฟล็อปปีดิสก์ที่มีขนาด ๕.๒๕ นิ้ว และขนาด ๓.๕ นิ้ว ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลได้ถึง ๘.๖ แสนตัวอักษร หรือข้อความ ๔๓๐ หน้า และใช้ฮาร์ดดิสก์ซึ่ง สามารถเรียกใช้ข้อมูลได้รวดเร็วกว่าฟล็อปปีดิสก์มาก อีกทั้งสามารถเก็บข้อมูลได้ถึง ๒๐ ล้านตัวอักษร หรือข้อความ ๑,๐๐๐ หน้า การแสดงผลข้อมูลก็ใช้จอภาพที่มีความละเอียดสูงขึ้น ขนาดใหญ่ขึ้น มีจำนวนสีมากขึ้น และเริ่มมีเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ (laser printer) ซึ่งสามารถตีพิมพ์ข้อมูลทั้งภาพและตัวอักษรแบบขาวดำได้อย่างสวยงาม และใกล้เคียงกับโรงพิมพ์ การป้อนข้อมูลก็ใช้แป้นพิมพ์และเมาส์




          หลังจากที่ใช้เวลาในการออกแบบและพัฒนาถึง ๑ ปี บริษัทไอบีเอ็มก็ได้เริ่มออกจำหน่ายไมโครคอมพิวเตอร์รุ่นแรก คือ ไอบีเอ็ม ๕๑๕๐ พีซี (IBM 5150 PC - Personal Computer) ซึ่ง คำว่า พีซี หมายถึง คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลการให้นิยามคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลนั้น เนื่องจากบริษัทไอบีเอ็มต้องการเน้นถึงข้อแตกต่างระหว่างคอมพิวเตอร์รุ่นใหญ่ที่ผู้ใช้หลายคนจะต้องแบ่งกันใช้ในเวลาพร้อมๆ กัน และคอมพิวเตอร์รุ่นนี้ที่ผู้ใช้สามารถใช้ทุกอย่างได้คนเดียว

          พีซีรุ่นแรกได้ออกจำหน่ายในราคาประมาณ ๓,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ โดยใช้ไมโครโพรเซสเซอร์ของบริษัทอินเทล รุ่น ๘๐๘๘ และใช้สัญญาณนาฬิกาด้วยความเร็วถึง ๔.๗๗ ล้านครั้งต่อวินาทีโดยมีหน่วยความจำแบบชั่วคราว - แรม ขนาด ๖๔,๐๐๐ ตัวอักษร และหน่วยความจำแบบถาวรรอม ขนาด ๔๐,๐๐๐ ตัวอักษร ใช้ฟล็อปปีดิสก์ขนาด ๕.๒๕ นิ้ว ซึ่งสามารถบรรจุข้อมูลได้ถึง ๑๖๐,๐๐๐ ตัวอักษร ใช้จอภาพที่มี ๑ สี และใช้ชุดคำสั่งควบคุมระบบของบริษัทไมโครซอฟต์ คือ พีซีดอส ๑.๐ (PC-DOS 1.0)

          ปรากฏว่า ไมโครคอมพิวเตอร์รุ่นนี้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูง และเกินความคาดหมายของทั้งบริษัทไอบีเอ็มและบริษัทคู่แข่ง เมื่อถึงปลายปี พ.ศ. ๒๕๒๔ หลังจากเริ่มจำหน่ายได้ ๔ เดือน บริษัทไอบีเอ็มก็สามารถจำหน่ายพีซีได้ถึง ๕๐,๐๐๐ เครื่อง ในขณะที่บริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์สามารถจำหน่ายไมโครคอมพิวเตอร์ตลอดทั้งปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ได้เพียง ๑๓๕,๐๐๐ เครื่องเท่านั้น เมื่อถึงปี พ.ศ. ๒๕๒๕ เครื่องพีซีก็สามารถจำหน่ายได้มากกว่าเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์จากบริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์ถึง ๒ เท่า

          การประสบความสำเร็จอย่างสูงของเครื่องพีซีส่งผลให้บริษัทอื่นๆ เริ่มมีความคิดทึ่จะผลิตเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่เลียนแบบเครื่องพีซีขึ้นมา โดยเครื่องที่ลอกเลียนแบบเครื่องพีซีนี้สามารถจะใช้โปรแกรมทุกๆ อย่างของเครื่องพีซีได้ทันที โดยไม่ต้องมีการแก้ไขเลย เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ชนิดนี้เรีกยกว่า เครื่องโคลน (clone) การผลิตเครื่องพีซีโคลนสามารถทำได้อย่างง่ายดาย เนื่องจากเครื่องพีซีไม่ได้ใช้ชิ้นส่วนที่ทำขึ้นพิเศษโดยบริษัทไอบีเอ็ม จึงทำให้บริษัทอื่น ๆ สามารถซื้อชิ้นส่วนต่างๆ จากร้านจำหน่ายชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ทั่วไป และสามารถผลิตเครื่องโคลนได้ ส่วนชุดคำสั่งควบคุมระบบพีซีดอสนั้นบริษัทที่ผลิตเครื่องโคลนก็สามารถซื้อจากบริษัทไครซอฟต์ได้ เนื่องจากบริษัทไอบีเอ็มไม่ได้ทำสัญญากับบริษัทไมโครซอฟต์ว่าห้ามจำหน่ายให้แก่บริษัทอื่นๆ สิ่งที่ยากที่สุดในการผลิตเครื่องโคลนขึ้นมาคือ การเขียนโปรแกรมการควบคุมระบบเครื่องและชิ้นส่วนต่างๆ ในเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งเราเรียกว่า โปรแกรมไบออส (BIOS - Basic Input Output System) โปรแกรมไบออสโดยทั่วไปจะถูกเรียกใช้โดยชุดคำสั่งควบคุมอีกต่อหนึ่งจึงทำให้เราสามารถใช้ชุดคำสั่งควบคุม ๑ ชุด ในการควบคุมเครื่องพีซีหลายชนิดที่มีรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกันได้ โดยชุดคำสั่งควบคุมจะ    สั่งให้โปรแกรมไบออสทำงานด้วยคำสั่งมาตรฐานแต่โปรแกรมไบออสของแต่ละเครื่องจะปฏิบัติงานที่มีรายละเอียดแตกต่างกัน แล้วแต่ความเหมาะสม ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทราบถึงรายละเอียดปลีกย่อย และข้อแตกต่างทุกๆ อย่างของ   เครื่องพีซีทุกชนิด

          ภายในเวลา ๑ ปี ในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ก็มีหลายบริษัทเริ่มผลิตเครื่องโคลนของพีซีออกมาจำหน่าย บริษัทแรกที่ผลิตเครื่องโคลนของพีซีคือ บริษัทโคลัมเบียเดทาโปรดักต์ (Columbia Data Product) แต่ไม่ประสบความสำเร็จในการจำหน่ายบริษัทแรกที่ประสบความสำเร็จในการจำหน่ายเครื่องโคลนของพีซีคือ บริษัทคอมแพก (Compaq) ซึ่งผลิตเครื่องโคลนชนิดที่สามารถพกพาได้ โดยเรียกชื่อรุ่นว่า คอมแพก พอร์ตทาเบิล พีซี(Compaq Portable PC) ซึ่งใช้ไมโครโพรเซสเซอร์ที่เหมือนกันกับที่ใช้ในเครื่องพีซี และด้วยความเร็วของสัญญาณนาฬิกาที่เท่ากัน โดยจำหน่ายในราคา ๓,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ แต่มีหน่วยความจำแบบชั่วคราว - แรม ขนาด ๑๒๘,๐๐๐ ตัวอักษร และมีจอภาพขนาด ๙ นิ้ว ที่มี ๑ สี ติดอยู่ที่ตัวเครื่องด้วย บริษัทคอมแพกได้ลงทุนถึง ๑ ล้านเหรียญสหรัฐ ในการเขียนโปรแกรมไบออสขึ้นมาใหม่เพื่อที่จะไม่ละเมิดลิขสิทธิ์โปรแกรมไบออสของบริษัทไอบีเอ็ม ภายในระยะเวลา ๑ ปี บริษัทคอมแพกสามารถจำหน่ายเครื่องโคลนของพีซีได้ถึง ๕๗,๐๐๐ เครื่อง ซึ่งมีมูลค่าทั้งหมดประมาณ ๑๑๑ ล้านเหรียญสหรัฐ





ยุคไมโครคอมพิวเตอร์ชนิด ๑๖ บิต (พ.ศ. ๒๕๒๔ - ๒๕๒๘), ยุคไมโครคอมพิวเตอร์ชนิด ๑๖ บิต (พ.ศ. ๒๕๒๔ - ๒๕๒๘) หมายถึง, ยุคไมโครคอมพิวเตอร์ชนิด ๑๖ บิต (พ.ศ. ๒๕๒๔ - ๒๕๒๘) คือ, ยุคไมโครคอมพิวเตอร์ชนิด ๑๖ บิต (พ.ศ. ๒๕๒๔ - ๒๕๒๘) ความหมาย, ยุคไมโครคอมพิวเตอร์ชนิด ๑๖ บิต (พ.ศ. ๒๕๒๔ - ๒๕๒๘) คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 25

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu