สัตว์ทะเลหน้าดินจะมีความสามารถในการควบคุมปริมาณน้ำและเกลือแร่ในร่างกายของมันแตกต่างกัน เมื่อเรานำปลิงทะเลไปใส่ในน้ำจืดตัวปลิงทะเลจะพองออกเรื่อยๆ จนแตกตาย และในทางตรงกันข้ามถ้านำปลิงทะเลไปใส่ในน้ำทะเลที่เค็มจัด ตัวปลิงทะเลก็จะเหี่ยวลงเรื่อยๆ เนื่องจากมีน้ำออกจากตัว ทั้งสองกรณีที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากกระบวนการออสโมซิส (osmosis) กระบวนการดังกล่าวจะควบคุมการไหลของน้ำผ่านแผ่นเยื่อจากของเหลวที่มีความเค็มน้อยหรือที่มีปริมาณเกลือแร่น้อยกว่าไปยังของเหลวที่มีความเข้มข้นของเกลือแร่มากกว่า ในเซลล์ของสิ่งที่มีชีวิตจะมีเยื่อหุ้มเซลล์ล้อมรอบซึ่งน้ำสามารถจะซึมไหลผ่านได้ โมเลกุลอื่นและไอออนซึ่งรวมทั้งเกลือแร่สารละลายอินทรียสารและโปรตีนที่อยู่ในเลือดจะซึมผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้เช่นกันแต่ไม่สะดวกเท่ากับน้ำ การซึมผ่านของเกลือแร่และโมเลกุลอื่นๆนั้นถูกควบคุมด้วยกระบวนการออสโมซิสความเข้มข้นของเกลือแร่ภายในตัวปลิงทะเลนั้นจะใกล้เคียงกับน้ำทะเลภายนอก ดังนั้นเมื่อเรานำปลิงทะเลไปใส่ในน้ำจืด โมเลกุลของน้ำซึมผ่านเข้าผิวหนังของมันทำให้ตัวมันพองออกเรื่อยๆ
เกลือแร่จากส่วนลำไส้เข้าสู่เส้นเลือด บริเวณเหงือกของมันจะมีเซลล์คลอไรด์ทำหน้าที่ดึงเกลือแร่จากเลือดและขับออกมากับกระแสน้ำที่ไหลผ่านเหงือก สัตว์ทะเลหน้าดินที่อาศัยอยู่ในเขตน้ำกร่อยจะมีประสิทธิภาพสูงมากในการควบคุมปริมาณน้ำและเกลือแร่ภายในตัวของมัน มันสามารถจะเป็นได้ทั้ง ไฮเปอร์ออสโมเรกกูเลเตอรส์ (hyperosmoregulators) และ ไฮโปออสโมเรกกูเลเตอรส์ (hypoosmoregulators) ในขณะเดียวกัน กล่าวคือถ้าความเค็มภายนอกต่ำมากเนื่องจากมีฝนตกชุก หรือมีปริมาณน้ำจืดไหลหลากลงสู่บริเวณป่าชายเลนหรือเขตปากแม่น้ำมาก ปูก้ามดาบจะพยายามรักษาความเข้มข้นภายในตัวสูงกว่าน้ำทะเลภายนอกถ้าความเค็มภายนอกสูงมากกว่าปกติเช่นช่วงเวลาน้ำขึ้น มันก็จะพยายามรักษาความเข้มข้นภายในตัวต่ำกว่าน้ำทะเลภายนอก
กระบวนการที่สัตว์ทะเลหน้าดินในเขตน้ำกร่อยใช้ในการปรับตัวให้เข้ากับความเค็มที่เปลี่ยนไป มันจะพยายามป้องกันตัวเองให้สัมผัสกับน้ำภายนอกให้น้อยที่สุดเพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ เช่น พวกที่มีเปลือกหุ้มตัวหรือมีฝาปิด พวกสัตว์ทะเลในเขตน้ำกร่อย เช่นปูเขตน้ำกร่อยจะมีผนังลำตัวที่ยอมให้น้ำและเกลือแร่ซึมผ่านได้น้อยกว่า ปูทะเลจะมีผนังลำตัวที่ยอมให้น้ำและเกลือแร่ผ่านได้มากกว่าผนังลำตัวของปูที่พบในเขตน้ำกร่อยถึง ๒๐ เท่า นอกจากนี้พบว่ากระดองปูที่อยู่ในเขตน้ำกร่อยจะมีการสะสมสารพวกแคลเซียมมากกว่า บางชนิดเมื่อพบกับความเค็มสูงจะมีการปล่อยเมือกออกมาหุ้มตัวไว้ระบบขับถ่ายของเสีย คือระบบไตของสัตว์ทะเลในเขตน้ำกร่อยจะขับน้ำที่มีมากเกินไปออกทิ้งและกรองเอาเกลือแร่ไว้ภายใน นอกจากนี้ส่วนเหงือกยังมีความสำคัญในการขับถ่ายเกลือแร่ที่มีมากเกินหรือใช้ดูดเกลือแร่จากภายนอกในกรณีที่ขาดเกลือแร่ นอกจากนี้สัตว์ทะเลหน้าดินสามารถดูดซึมเกลือแร่เพิ่มเติมจากภายนอกได้ เช่น ไส้เดือนทะเลบางชนิดเมื่ออยู่ในความเค็มต่ำมากๆก็สามารถดูดซึมเอาเกลือโซเดียมและคลอไรด์เข้ามาในตัวได้
ปลากระดูกแข็งมักจะรักษาระดับความเข้มข้นของของเหลวภายในตัวมันในระดับหนึ่งในสามส่วนหรือหนึ่งในสี่ส่วนของน้ำทะเลปกติ ดังนั้นเลือดของมันจะเข้มข้นน้อยกว่าน้ำทะเล มันจะสูญเสียน้ำออกจากตัวเมื่ออยู่ในน้ำทะเล และในขณะเดียวกันมันต้องการกำจัดเกลือแร่ออกด้วยเพื่อให้เลือดของมันเจือจางลง ดังนั้นมันจะดื่มน้ำทะเลเพื่อชดเชยปริมาณน้ำที่เสียไป ในขณะเดียวกันเหงือกของมันจะกำจัดเกลือแร่ออกไปด้วย ปลาฉลามและปลากระเบนสะสมสารจำพวกยูเรียซึ่งช่วยควบคุมปริมาณเกลือแร่ในตัวของมัน สารจำพวกกรดอะมิโนอิสระในหอยสองฝาจะมีบทบาทเช่นเดียวกับสารพวกยูเรียในฉลาม ปลาฉลามและปลากระเบนจะขับสารพวกโซเดียมออกภายนอกมาก
การควบคุมปริมาณน้ำเกลือแร่ในร่างกายของสัตว์ทะเลหน้าดิน
การควบคุมปริมาณน้ำเกลือแร่ในร่างกายของสัตว์ทะเลหน้าดิน, การควบคุมปริมาณน้ำเกลือแร่ในร่างกายของสัตว์ทะเลหน้าดิน หมายถึง, การควบคุมปริมาณน้ำเกลือแร่ในร่างกายของสัตว์ทะเลหน้าดิน คือ, การควบคุมปริมาณน้ำเกลือแร่ในร่างกายของสัตว์ทะเลหน้าดิน ความหมาย, การควบคุมปริมาณน้ำเกลือแร่ในร่างกายของสัตว์ทะเลหน้าดิน คืออะไร
การควบคุมปริมาณน้ำเกลือแร่ในร่างกายของสัตว์ทะเลหน้าดิน, การควบคุมปริมาณน้ำเกลือแร่ในร่างกายของสัตว์ทะเลหน้าดิน หมายถึง, การควบคุมปริมาณน้ำเกลือแร่ในร่างกายของสัตว์ทะเลหน้าดิน คือ, การควบคุมปริมาณน้ำเกลือแร่ในร่างกายของสัตว์ทะเลหน้าดิน ความหมาย, การควบคุมปริมาณน้ำเกลือแร่ในร่างกายของสัตว์ทะเลหน้าดิน คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!