การเลี้ยงปลาในบ่อ
การเลี้ยงปลาในบ่อ, การเลี้ยงปลาในบ่อ หมายถึง, การเลี้ยงปลาในบ่อ คือ, การเลี้ยงปลาในบ่อ ความหมาย, การเลี้ยงปลาในบ่อ คืออะไร
การเลี้ยงปลาในบ่อ
การเลี้ยงปลาส่วนใหญ่เป็นการเลี้ยงในบ่อ ซึ่งมีการควบคุมการขยายพันธุ์ การให้อาหาร การเจริญเติบโต ขนาดและอัตราการปล่อย ตลอดจนให้การดูแลรักษา แทนที่จะปล่อยปละละเลยให้เป็นไปตามธรรมชาติ
การเลี้ยงปลาในบ่อ เป็นการพัฒนาการใช้ที่ดินให้เกิดผลผลิต เช่น ใช้ที่ดินซึ่งเป็นที่ลุ่ม หรือที่ดินที่ไม่เหมาะแก่การเพาะปลูกมาดัดแปลงแก้ไขให้เกิดผลผลิตเป็นปลาซึ่งเป็นอาหารโปรตีนผลผลิตต่อหน่วยเนื้อที่ของบ่อสูงมากเมื่อเทียบกับผลผลิตจากแหล่งน้ำธรรมชาติ
สิ่งที่ต้องพิจารณา สำหรับการเลี้ยงปลาในบ่อมีดังนี้
ก่อนลงมือก่อสร้างควรวางแผนผังและออกแบบบ่อคันดิน ท่อทางระบายน้ำ อาคาร และรายละเอียดเกี่ยวกับระดับพื้นที่ดังนี้
๒.๑ การจัดพื้นก้นบ่อ ถากถางเอาพืชก้นบ่อออกแล้วขุดร่องน้ำตามก้นบ่อติดต่อกันเป็นรูปก้างปลา เพื่อให้สะดวกแก่การระบายน้ำ ร่องก้นบ่อควรมีขนาดความกว้างและลึก ๕๐ เซนติเมตร มีความลาดเทอย่างน้อย ๒-๓ ใน ๑,๐๐๐ในระหว่างการสร้างบ่อควรกลบหลุมและแอ่ง เพื่อให้การระบายน้ำก้นบ่อแห้งตลอดจะได้จับปลาได้สะดวก ร่องน้ำตรงกลางจะขุดตรงไปยังทางระบายน้ำออก และขยายร่องให้กว้างและลึกก่อนถึงปากท่อระบายน้ำทิ้ง ๒-๓ เมตร เพื่อให้เป็นที่รวบรวมปลาเมื่อต้องการจับ
๒.๒ คันบ่อ เป็นส่วนสำคัญในการเก็บกักน้ำ หากสร้างคันบ่อในพื้นที่เป็นกรวด หรือที่แฉะ จะต้องขุดให้ถึงส่วนที่เป็นดินแข็ง บริเวณที่จะตั้งคันต้องถากถางเอาหญ้า ต้นไม้กิ่งไม้ และเศษวัชพืชออกให้หมด หากดินบริเวณนั้นเก็บน้ำไม่ดีจะต้องขุดร่องทำแกนกลางด้วยดินเหนียวในที่ดินปนทราย ความกว้างของคันดินจะต้องเป็น ๒ เท่า และมีแกนกลางที่เป็นดินเหนียวหนา ๔๐-๕๐ เซนติเมตร ดินที่ใช้ทำคันควรปราศจากเศษไม้ ก้อนหิน
คันบ่อควรจะถมเป็นชั้นหนาชั้นละ ๒๐ เซนติเมตรและอัดแน่น ถ้าดินแห้งควรจะรดน้ำ บด และอัดถมให้มีความสูงตามความต้องการ ความกว้างของสันคันบ่อไม่ควรจะน้อยกว่า๑ เมตร แต่ถ้าทำให้กว้างไว้จะสะดวกต่อการใช้ยานพาหนะขนถ่ายปลา อาหารและอุปกรณ์อื่นๆ ความสูงของคันบ่อ ควรสูงกว่าระดับเก็บกักน้ำ ๓๐ เซนติเมตรสำหรับบ่อขนาดเล็ก และ ๕๐เซนติเมตรสำหรับบ่อขนาดใหญ่ และควรจะคำนวณถึงการยุบตัวของคันดินไว้เผื่ออีกร้อยละ ๑๐
ความลาดเทของคันดินด้านนอกควรจะเป็น ๑ : ๑และด้านใน ๑ : ๒ และถ้าหากบ่อมีขนาดใหญ่ที่รับคลื่นลมหรือเป็นดินร่วน ควรจะมีความลาดเท ๑ : ๔ เมื่อทำคันเรียบร้อยแล้วควรปลูกหญ้าคลุมคันดิน เพื่อป้องกันการพังทลาย ไม่ควรปลูกต้นไม้บนคันเพราะรากจะชอนไชทำให้น้ำรั่วได้ ในระหว่างการสร้างส่วนที่จะทำท่อทางระบายน้ำควรจะทิ้งว่างไว้ก่อน
๒.๓ ท่อทางระบายน้ำออก ระบบการระบายน้ำมีหลายแบบด้วยกัน แบบธรรมดาสำหรับบ่อขนาดเล็กใช้ฝังท่อใต้คันดินในตำแหน่งที่ต่ำสุด เพื่อให้การระบายน้ำได้ถึงก้นบ่อ เพื่อความรวดเร็วในการระบายน้ำ ขนาดของท่อควรมีความสัมพันธ์กับขนาดบ่อ ท่อระบายน้ำ ควรทำด้วยวัตถุที่ทนทาน เช่นซีเมนต์ไฟเบอร์กลาส หรือเหล็กอบสังกะสี การวางท่อควรป้องกันน้ำไหลซึมข้างๆ ด้วยการหุ้มท่อด้วยคอนกรีตเป็นตอนๆควรวางท่อต่ำกว่าก้นบ่อ ๓๐-๔๐ เซนติเมตร
สำหรับบ่อขนาดใหญ่ควรทำเป็นประตูระบายน้ำทำด้วยคอนกรีต ลักษณะของประตูน้ำประกอบด้วยส่วนที่สามารถควบคุมน้ำ มีช่องสำหรับใส่ไม้อัดน้ำ ๒ ช่อง ระหว่างช่องทั้งสองอาจใส่ดินอัดแน่นก็ได้ และมีช่องสำหรับใส่ตะแกรงป้องกันปลาหนีอีกหนึ่ง ช่องประตูน้ำดังกล่าวอาจจะทำด้วยไม้ซึ่งมีความหนาประมาณ ๒ นิ้วก็ได้ จะมีความคงทนนานถึง ๒๕ ปี
ช่องสำหรับใส่ตะแกรงอาจจะทำตะแกรงเฉพาะส่วนล่าง แต่ส่วนบนใช้ไม้อัดน้ำปิดไว้ เป็นประโยชน์มากในการระบายน้ำส่วนล่างออกไปพร้อมกับก๊าซที่เป็นพิษหรือเศษเหลือตามก้นบ่อ ควรใช้ตะแกรงตาห่างเพื่อให้น้ำไหลสะดวก หรือจะคอยเปลี่ยนขนาดช่องตาของตะแกรงตามขนาดของปลาที่เลี้ยงก็ได้
๒.๔ ท่อทางระบายน้ำเข้า ท่อทางน้ำเข้าควรจะวางให้
(๑) น้ำผ่านได้สม่ำเสมอ และสามารถควบคุมการปล่อยน้ำได้
(๒) สามารถป้องกันไม่ให้ปลาหลบหลีกทวนน้ำออกไปได้และ
(๓) ป้องกันไม่ให้ปลาที่ไม่ต้องการ หรือศัตรูปลาเข้ามากับน้ำ การวางท่อระบายน้ำควรระมัดระวังเป็นพิเศษ สำหรับบ่ออนุบาลควรมีตะแกรงป้องกัน ๒ ชั้น ขนาดช่องตาของตะแกรงควรเปลี่ยนแปลงตามขนาดของปลา และต้องหมั่นทำความสะอาดเก็บเอาเศษตะกอน กิ่งไม้ ใบไม้ที่เข้าไปอุดตันออกทิ้งเพื่อให้น้ำถ่ายเทได้สะดวก
การเลี้ยงปลาในบ่อ, การเลี้ยงปลาในบ่อ หมายถึง, การเลี้ยงปลาในบ่อ คือ, การเลี้ยงปลาในบ่อ ความหมาย, การเลี้ยงปลาในบ่อ คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!