๑. ระดับตะกั่วในเลือด บอกถึงการดูดซึมของตะกั่วในร่างกาย และภาวะสมดุลของตะกั่วในเลือด กระดูก และการขับถ่าย เทคนิคที่ใช้ คือการตรวจวัดด้วยเครื่องอะตอมิกแอ็บซอปชัน(Atomic Absorption)
๒. ระดับตะกั่วในปัสสาวะทั่วไปและปัสสาวะหลังให้ยาแก้พิษ (Chelating agent) การมีระดับตะกั่วในปัสสาวะสูง เป็นข้อบ่งชี้ของการได้รับตะกั่วเข้าไปในร่างกายในระดับสูงที่ดีที่สุด โดยเฉพาะการเก็บปัสสาวะ ๒๔ ชั่วโมง และปัสสาวะหลังให้ยาแก้พิษ
๓. ระดับตะกั่วในเนื้อเยื่อ (ฟัน ผม และเล็บ) การวัดระดับตะกั่วในเนื้อเยื่อ ใช้สำหรับการได้รับตะกั่วเป็นเวลานาน เป็นการเก็บตัวอย่างที่ง่าย โดยเฉพาะผม และเล็บ ส่วนฟันนั้นใช้ได้ดีในกรณีฟันน้ำนมของเด็ก
๔. ระดับเอนไซม์ Aminolevulinic AcidDehydrase (ALAD) ในเลือด ใช้ได้เช่นเดียวกับระดับตะกั่วในเลือด
๕. ระดับเอนไซม์ Aminolevulinic AcidDehydrase (ALAD) และ Coproporphyrin (CP) ในปัสสาวะ ระดับ d-Aminolevulinic Acid (ALA) และCP ในปัสสาวะ จะชี้ให้เห็นการสัมผัสตะกั่วในระยะสั้นได้ดีและจะมีปริมาณลดลง เมื่องดการสัมผัสตะกั่ว
๖. ระดับ Erythrocyte Photoporphyrin (EP)ระดับ EP ที่เพิ่มขึ้น แสดงความบกพร่องในการสังเคราะห์ฮีม ซึ่งอาจเป็นผลจากเป็นพิษตะกั่วหรือขาดธาตุเหล็ก
๗. การตรวจทางโลหิตวิทยา ได้แก่ การตรวจเฮโมโกลบิน เบโซฟิลิค สติปปลิง (basophilicstippling) ซึ่งความผิดปกติทางโลหิตวิทยา จะช้ากว่าALA และ CP ในปัสสาวะ
การวินิจฉัย
๑. ประวัติการสัมผัสสารตะกั่ว ในรูปออกไซด์ ฝุ่นละออง โดยทางระบบทางเดินหายใจระบบทางเดินอาหาร และทางผิวหนัง
๒. มีอาการของพิษตะกั่วอนินทรีย์ ได้แก่ ซีด อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ปวดศีรษะ วิงเวียน เบื่ออาหาร หลงลืมง่าย ไม่มีสมาธิ มือและแขนอ่อนแรง ปวดท้อง คลื่นไส้ เป็นต้น
มีอาการของพิษตะกั่วอินทรีย์ ได้แก่ มีอาการผิดปกติทางสมอง กระสับกระส่าย พูดมากขึ้น นอนไม่หลับ จิตใจฟุ้งซ่าน ซึม และหมดสติ
๓. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
๓.๑ การตรวจทั่วไปโดยทำการตรวจนับเม็ดเลือด (Complete Blood Count) ใช้เป็นเครื่องชี้บ่งว่าน่าจะมีการเกิดโรคพิษตะกั่ว สมควรใช้การตรวจอื่นเพื่อยืนยันการวินิจฉัย
๓.๒ การวินิจฉัย
- พิษตะกั่วอนินทรีย์ อาศัยการตรวจวิเคราะห์ระดับตะกั่วในเลือด เป็นการยืนยันการวินิจฉัย
- พิษตะกั่วอินทรีย์ อาศัยการตรวจวิเคราะห์ระดับตะกั่วในปัสสาวะเป็นการ
๑. การรักษาตามอาการ
- ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ พร้อมกับแก้ไขสภาวะความไม่สมดุลของน้ำและเกลือแร่ในสภาวะกรด
- รักษาอาการหมดสติ
- รักษาอาการสมองบวม อาการชัก
- อาการปวดท้องอย่างรุนแรง ในผู้ใหญ่รักษาด้วย ๑๐% Calcium gluconate เข้าหลอดเลือดดำ ๑๐ มิลลิเมตร ถ้าไม่ดีขึ้นให้ซ้ำได้อีก ๑ ครั้ง ภายหลัง ๑๕ นาที
๒. รักษาเฉพาะ คือ การใช้ยาแก้พิษ เพื่อขับตะกั่วออกจากร่างกาย
๒.๑ ในผู้ป่วยพิษตะกั่วอนินทรีย์ใช้ยาแก้พิษ (Chelating agent)
- ชนิดรับประทาน ได้แก่ Dpenicillamine ขนาด ๑๕-๒๐ มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน นาน ๑ วัน เป็นระยะๆ
- ชนิดฉีด ได้แก่ Calcium disodium edetate ขนาด ๗๕ มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน นานไม่เกิน ๕ วัน
ให้ผู้ป่วยหยุดพักจากงานหรือพฤติกรรมที่ ต้องสัมผัสสารตะกั่ว เช่น กรณีตรวจพบระดับตะกั่วในเลือดเท่ากับ ๖๐ ไมโครกรัมต่อเดซิลิตรให้การรักษาจนกระทั่งระดับตะกั่วในเลือดลดลงต่ำกว่า ๔๐ ไมโครกรัมต่อเดซิลิตร จึงอนุญาตให้กลับเข้าทำงานเดิมได้
๒.๒ ในผู้ป่วยพิษตะกั่วอินทรีย์ ไม่มียาแก้พิษ ต้องรีบนำออกจากการสัมผัสโดยเร็ว