การสร้างตัวพิมพ์อักษรไทย
การสร้างตัวพิมพ์อักษรไทย, การสร้างตัวพิมพ์อักษรไทย หมายถึง, การสร้างตัวพิมพ์อักษรไทย คือ, การสร้างตัวพิมพ์อักษรไทย ความหมาย, การสร้างตัวพิมพ์อักษรไทย คืออะไร
ผู้ที่ได้ดำเนินการดัดแปลงตัวอักษรไทยเป็นตัวพิมพ์เป็นคนแรกคือ นางจัดสัน ชื่อเดิมคือนางแอนน์ ฮาเซลไตน์ จัดสัน (Mrs. Ann Hazeltine Judson) เป็นภรรยาของบาทหลวงอะโดนิราม จัดสัน (Adoniram Judson) มิชชันนารี อเมริกัน คณะแบบติสต์ในประเทศพม่า นางจัดสันเข้าไปอยู่ในเมืองร่างกุ้ง ประเทศพม่า ในปี พ.ศ. ๒๓๕๖ (ค.ศ. ๑๘๑๓) ได้พบคนไทยและลูกหลานคนไทยที่ถูกกวาดต้อนเป็นเชลยตอนเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งหลังไปอยู่ในพม่าเป็นจำนวนมาก ได้เริ่มศึกษาเล่าเรียนภาษาไทยกับเชลยไทยในราวปี พ.ศ. ๒๓๕๙ ดังปรากฏในจดหมายที่นางได้เขียนถึงเพื่อนในสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. ๒๓๖๑ มีข้อความว่า "...ที่ส่งมาพร้อมนี้คือคำสอนทางศาสนาเป็นภาษาไทย ซึ่งฉันเพิ่งลอกเสร็จ เธอจะได้เห็นแบบและลักษณะของการเขียนภาษาไทยได้ดี ฉันได้เรียนภาษาไทยมากกว่าหนึ่งปีครึ่ง และด้วยความช่วยเหลือของครูฉันจึงสามารถแปลคำสอนทางศาสนาของพม่าและกอสเพลออฟแมททิวออกเป็นภาษาไทย..."
ต่อมาใน พ.ศ. ๒๓๕๙ (ค.ศ. ๑๘๑๖) นั้นเอง คณะแบบติสต์ได้ส่ง นายยอร์ช เอช ฮัฟ (George H. Hough) ซึ่งเป็นช่างพิมพ์ให้นำแท่นพิมพ์และตัวพิมพ์เข้าไปในประเทศพม่า บาทหลวงจัดสันได้ร่วมกับนางฮัฟสร้างตัวพิมพ์อักษรพม่า ในขณะเดียวกันนางจัดสันก็ได้ร่วมมือกับนายฮัฟสร้างตัวพิมพ์อักษรไทย หล่อขึ้นได้สำเร็จในพม่าในปี พ.ศ. ๒๓๖๐ (ค.ศ. ๑๘๑๗) และพิมพ์หนังสือขึ้นด้วยตัวพิมพ์อักษรไทยเป็นครั้งแรกในปีนั้น แต่ไม่มีหลักฐานเหลือมาว่าเป็นหนังสืออะไร
ในปี พ.ศ. ๒๓๖๒ (ค.ศ. ๑๘๑๙) กรุงอังวะผลัดเปลี่ยนแผ่นดิน มีเหตุการณ์ยุ่งยากคับขันในพม่า มิชชันนารีชุดนั้นได้นำแท่นพิมพ์และตัวพิมพ์ที่สร้างขึ้นทั้งหมดมีตัวพิมพ์อักษรไทย พม่า กะเหรี่ยง และมอญ อพยพโยกย้ายไปอยู่ที่เมืองเซรัมโปร์ นครกัลกัตตา ในประเทศอินเดียกล่าวกันว่าได้มีการพิมพ์หนังสือคำสอนศาสนาคริสต์ ซึ่งเป็นคำแปลที่นางจัดสันได้แปลขึ้นเป็นภาษาไทยที่โรงพิมพ์ของคณะแบบติสต์ในกัลกัตตาแต่ก็ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือเหลือให้เห็น จนในปี พ.ศ. ๒๓๗๑ (ค.ศ. ๑๘๒๙) ได้มีการจัดพิมพ์หนังสือ "A Grammar of the Thai or Siamese Language" เป็นตำราไวยากรณ์ไทยที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษเป็นส่วนใหญ่ โดย ร.อ.เจมส์โลว์(Capt. James Low) ซึ่งเคยเป็นข้าราชการของอังกฤษ ทำงานที่เกาะหมากหรือเกาะปีนังและมีความรู้ภาษาไทย พิมพ์ที่โรงพิมพ์คณะแบบติสต์ (The Baptist Mission Press) ที่เมืองเซรัมโปร์นครกัลกัตตา เป็นหนังสือที่มีขนาดโตกว่าหนังสือแปดหน้ายกเล็กน้อย มีความหนา ๑๐๒ หน้า มีหน้าที่พิมพ์ด้วยตัวพิมพ์อักษรไทยหลายหน้าและมีหน้าพิมพ์ที่แสดงให้เห็นตัวอย่างลายมือเขียนภาษาไทย เป็นการพิมพ์จากแม่พิมพ์หินด้วยหนังสือเล่มนี้ยังมีเหลือให้เห็นหลายเล่ม นับว่าเป็นหนังสือที่พิมพ์ด้วยตัวพิมพ์อักษรไทยที่เก่าแก่ที่สุดที่มีอยู่ในปัจจุบัน
ในปี พ.ศ. ๒๓๖๖ (ค.ศ. ๑๘๒๓) สมาคมมิชชันนารีลอนดอน (London Missionary Society) ได้ซื้อตัวพิมพ์ไทยที่หล่อเป็นชุดแรกจากนครกัลกัตตาเข้ามาใช้ในสิงคโปร์และได้จัดพิมพ์แนวคำสอนของคณะมิชชันนารีลอนดอนขึ้นใน พ.ศ. ๒๓๗๔ (ค.ศ. ๑๘๓๑) จำนวน ๖,๐๐๐ ฉบับ และได้มอบให้มิชชันนารี อะบีล (Abeel)นำเข้ามาแจกในกรุงเทพฯ จึงน่าจะเป็นการนำหนังสือที่พิมพ์ด้วยตัวพิมพ์ไทยมาเผยแพร่ในเมืองไทยเป็นครั้งแรก
ใน พ.ศ. ๒๓๗๗ (ค.ศ. ๑๘๓๔) คณะมิชชันนารีอเมริกัน American Board of Commissioners for Foreign Missions (A.B.C.F.M.) ได้ซื้อกิจการโรงพิมพ์ของคณะมิชชันนารีลอนดอนและได้ส่งนายอัลเฟรด นอร์ธ (Alfred North) ช่างพิมพ์จากเมืองบอสตัน สหรัฐอเมริกา มาเป็นผู้ดูแลกิจการพิมพ์ในสิงคโปร์ นอร์ธเป็นผู้มีความรู้กว้างขวางในวิชาการพิมพ์ ตลอดจนการหล่อและตบแบบตัวพิมพ์ (Stereotype) ในการทำการสำรวจสิ่งของในโรงพิมพ์ในปี พ.ศ. ๒๓๗๘ ปรากฏว่ามีตัวพิมพ์อักษรไทยอยู่สองกระบะคู่ซึ่งเท่ากับ ๒ ชุด ตัวพิมพ์อักษรไทยชุดหนึ่งประกอบด้วยกระบะตัวพิมพ์คู่หนึ่งหรือสองกระบะในขณะนั้นที่สิงคโปร์ไม่ได้มีแต่ตัวพิมพ์ไทย แต่ได้มีการซื้อแม่ทองแดงที่ใช้หล่อเป็นตัวพิมพ์อักษรไทยจากเมืองเบงกอลในอินเดียเข้ามาด้วยผู้ควบคุมทำแม่ทองแดงนั้นคือ ดร.มาชแมน (Dr. Marshman) สิงคโปร์จึงสามารถหล่อตัวพิมพ์อักษรไทยขึ้นใช้งานได้ตลอดเวลาตามที่ต้องการ
การสร้างตัวพิมพ์อักษรไทย, การสร้างตัวพิมพ์อักษรไทย หมายถึง, การสร้างตัวพิมพ์อักษรไทย คือ, การสร้างตัวพิมพ์อักษรไทย ความหมาย, การสร้างตัวพิมพ์อักษรไทย คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!