ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

การปลูกข้าวในภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย, การปลูกข้าวในภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย หมายถึง, การปลูกข้าวในภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย คือ, การปลูกข้าวในภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย ความหมาย, การปลูกข้าวในภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
การปลูกข้าวในภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย

          ประเทศไทยเป็นประเทศกสิกรรม  ประชาชนส่วนใหญ่เป็นกสิกร  ทำการเพาะปลูกพืชไร่ เช่น ข้าว  ข้าวโพด อ้อย ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ทำการปลูกไม้ผล  เช่น ทุเรียน ส้ม มะม่วง มังคุด ลางสาด นอกจากนี้ ในท้องที่ต่าง ๆ  ของภาคใต้และจังหวัดระยอง  จันทบุรี  ตราด ได้ทำการปลูกยางพาราอีกด้วย ในจำนวนพืชที่กสิกรปลูกดังกล่าวนี้ ข้าวมีพื้นที่ปลูกมากกว่าพืชชนิดอื่น ๆ คิดเป็นพื้นที่ประมาณ  ๑๑.๓% ของพื้นที่ทั่วประเทศ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  มีพื้นที่ทำนามากที่สุด รองลงมา ได้แก่ภาคเหนือและภาคใต้ตามลำดับ จำนวนพื้นที่ปลูกข้าวในภาคต่าง ๆ ได้แสดงไว้ในตารางที่ ๑
          เนื่องจากประชาชนในประเทศไทยบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก และจำนวนประชากรก็เพิ่มมากขึ้นทุก ๆ  ปี  ด้วยเหตุนี้ ชาวนาจึงจำเป็นต้องพยายามปลูกข้าวให้ได้ผลิตผลมากยิ่งขึ้น เพื่อให้พอเพียงกับความต้องการของประชากร วิธีหนึ่งที่ชาวนาได้พยายามเพื่อเพิ่มผลิตผล ได้แก่ การขยายพื้นที่ทำนา โดยเปิดป่าใหม่ทำนาปลูกข้าว  จากตารางที่  ๓ จะเห็นได้ว่าผลิตผลได้เพิ่มขึ้นตามพื้นที่นาที่เพิ่มมากขึ้นทุก ๆ ปี ส่วนวิธีการเพิ่มผลิตผลโดยวิธีอื่นนั้น ชาวนาไม่สามารถทำได้ เช่น  การคัดเลือกหาพันธุ์ใหม่ที่ให้ผลิตผลสูง พันธุ์ต้านทานโรคและแมลง ข้าวพันธุ์ที่ตอบสนองต่อปุ๋ย วิธีการป้องกันกำจัดโรค แมลง และวัชพืชในนาข้าว  ซึ่งรัฐบาลจะต้องเป็นผู้ดำเนินการช่วยเหลือชาวนา  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเรื่องนี้โดยตรง ได้แก่ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
          ข้าวที่ปลูกเพื่อการบริโภคเป็นอาหารมี  ๒ ชนิด   คือ ออไรซา  ซาไทวา ซึ่งมีปลูกทั่วไปในทุกประเทศ และออไรซา แกลเบอร์ริมา ซึ่งมีปลูกเฉพาะในแอฟริกาเท่านั้น ข้าวสองชนิดนี้แตกต่างกันที่ ออไรซา  แกลเบอร์ริมาไม่มีแขนงที่สองที่รวงข้าว และมีเยื่อกันน้ำฝนสั้นกว่าออไรซา  ซาไทวาด้วย  ข้าวพวกออไรซา  ซาไทวา  ยังแยกออกได้เป็นอินดิคา มีปลูกมากในเขตร้อน และจาปอนิคา มีปลูกมากในเขตอบอุ่น  ข้าวที่ปลูกในประเทศไทยเป็นพวกอินดิคา ซึ่งแบ่งออกเป็นข้าวเจ้า  และข้าวเหนียว

ตารางที่ ๓ เนื้อที่เพาะปลูกและจำนวนผลิตผลข้าวเปลือกในประเทศไทยในระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๒๐-๒๗๑

พ.ศ.

เนื้อที่เพาะปลูก
(ล้านไร่)

จำนวนผลิตผลข้าวเปลือก
(ล้านตัน)

ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่
(กิโลกรัม)

๒๕๒๐–๒๕๒๑
๒๕๒๑–๒๕๒๒
๒๕๒๒–๒๕๒๓
๒๕๒๓–๒๕๒๔
๒๕๒๔–๒๕๒๕
๒๕๒๕–๒๕๒๖
๒๕๒๖–๒๕๒๗

๕๖.๔
๖๒.๗
๕๙.๑
๖๐.๑
๖๐.๑
๖๐.๑
๖๒.๖

๑๓.๙
๑๗.๕
๑๕.๘
๑๗.๔
๑๗.๘
๑๖.๙
๑๙.๖

๒๕๕
๓๑๓
๒๙๑
๓๐๒
๓๑๒
๓๐๒
๓๒๖


๑ รวบรวมจากเอกสารสถิติการเกษตร เลขที่ ๒๑๓ พ.ศ.๒๕๒๗           สภาพของพื้นนาในภาคนี้เป็นที่ราบ และมักจะแห้งแล้งในฤดูปลูกข้าวเสมอ ๆ ชาวนาทำการปลูกข้าวนาสวน ทางตอนเหนือของภาคปลูกข้าวเหนียวอายุเบา  ส่วนทางตอนใต้ปลูกข้าวเจ้าอายุหนักแถบริมฝั่งแม่น้ำโขง  โดยเฉพาะในเขตจังหวัดอุบลราชธานี  นครพนมและสกลนครได้มีแมลงบั่วทำลายต้นข้าวนาปีจนเสียหายเสมอ นอกจากนี้  ได้มีแมลงเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดด้วย  โรคข้าวที่สำคัญ ได้แก่  โรคไหม้  โรคขอบใบแห้ง  และโรคใบจุดสีน้ำตาล ความอุดมสมบูรณ์ของดินในภาคนี้เลวมาก บางแห่งก็เป็นดินเกลือและมักจะมีความแห้งแล้งกว่าภาคอื่น ๆ ด้วยเหตุนี้ จึงมีการทำนาปรังน้อยมาก  ข้าวนาปีจะทำการเก็บเกี่ยวในระหว่างเดือนตุลาคมและธันวาคม

การปลูกข้าวในภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย, การปลูกข้าวในภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย หมายถึง, การปลูกข้าวในภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย คือ, การปลูกข้าวในภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย ความหมาย, การปลูกข้าวในภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 3

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu