ความแตกต่างของอาหารไทยระหว่างภูมิภาค
ความแตกต่างของอาหารไทยระหว่างภูมิภาค, ความแตกต่างของอาหารไทยระหว่างภูมิภาค หมายถึง, ความแตกต่างของอาหารไทยระหว่างภูมิภาค คือ, ความแตกต่างของอาหารไทยระหว่างภูมิภาค ความหมาย, ความแตกต่างของอาหารไทยระหว่างภูมิภาค คืออะไร
คนไทยแต่ละภาค รับประทานอาหารแตกต่างกัน ตามลักษณะพื้นที่ดินฟ้าอากาศ และความอุดมสมบูรณ์ เช่น พวกที่อยู่ริมทะเลรับประทานอาหารแบบหนึ่ง พวกที่อยู่บริเวณที่มีอากาศหนาวหรืออากาศร้อนก็รับประทานอาหารอีกแบบหนึ่ง สิ่งหนึ่งที่คนไทยยังรักษาไว้เป็นเอกลักษณ์ของอาหารไทยทุกภาค คือ การรับประทานอาหารที่มีรสเผ็ด โดยเฉพาะภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
โดยทั่วไปคนภาคกลางรับประทานอาหารที่มีรสกลมกล่อม มีรสหวานนำเล็กน้อย วิธีการปรุงอาหารซับซ้อนขึ้นด้วยการนำมาเสริมแต่ง หรือประดิดประดอยให้สวยงาม เช่น น้ำพริกลงเรือ ซึ่งดัดแปลงมาจากน้ำพริกกะปิ จัดให้สวยงามด้วยผักแกะสลัก เป็นต้น ลักษณะอาหารที่รับประทาน มักผสมผสานกันระหว่างภาคต่างๆ เช่น แกงไตปลา ปลาร้า น้ำพริกอ่อง เป็นต้น
ทุกบ้านจะรับประทานข้าวสวยเป็นหลัก อาหารเย็นมีกับข้าว ๓-๕ อย่าง ได้แก่ แกงจืด หรือแกงส้มหรือแกงเผ็ด ต้มยำ และอื่นๆ มีผัดจืด หรือผัดเผ็ด เช่น พะแนง มัสมั่นแห้ง ไก่ผัดพริก หรือยำ เช่น ยำถั่วพู ยำเนื้อย่าง อาหารประจำของคนไทยภาคกลางคือ ผัก น้ำพริก และปลาทู อาจจะมีไข่เจียว เนื้อทอด หรือหมูย่าง อีกจานหนึ่งก็ได้ โดยคำนึงถึงวิตามินที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเป็นหลัก
ความแตกต่างของอาหารไทยระหว่างภูมิภาค, ความแตกต่างของอาหารไทยระหว่างภูมิภาค หมายถึง, ความแตกต่างของอาหารไทยระหว่างภูมิภาค คือ, ความแตกต่างของอาหารไทยระหว่างภูมิภาค ความหมาย, ความแตกต่างของอาหารไทยระหว่างภูมิภาค คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!