ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

โขน, โขน หมายถึง, โขน คือ, โขน ความหมาย, โขน คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 2
โขน

           การแสดงอีกอย่างหนึ่งที่ใช้ท่ารำ และแสดงเป็นเรื่องราวโดยลำดับ วิธีการทุกอย่างเหมือนละคร แต่ไม่เรียกว่าละคร การแสดงที่จะกล่าวนี้เรียกว่า "โขน"

          โขน เป็นการแสดงที่ใช้ท่ารำตามแบบละครใน แต่เพิ่มท่ารำที่มีตัวแสดงแปลกออกไปกับเปลี่ยนทำนองเพลงที่ดำเนินเรื่องไม่ให้เหมือนละคร

          โขน มีลักษณะสำคัญอยู่ที่ผู้แสดงต้องสวมหัวโขนหมดทุกตัว ยกเว้นตัวนาง พระ และเทวดา ในสมัยโบราณตัวพระและตัวเทวดาก็สวมหัว ภายหลังจึงเปลี่ยนแปลงให้ตัวพระและตัวเทวดาไม่ต้องสวมหัว คงใช้หน้าของผู้แสดงเช่นเดียวกับละคร

          หัวโขน เป็นเครื่องสวมครอบหุ้มตั้งแต่ศีรษะถึงคอ เจาะรูตรงตาให้มองเห็น สร้างตามลักษณะของตัวนั้นๆ เช่น ยักษ์ ลิง เทวดา และอื่นๆ ตบแต่งด้วยสี ปิดทอง ประดับกระจกสวยงาม บางท่านก็เรียกว่า "หน้าโขน"

         เรื่องดำเนินไปด้วยการกล่าวลำนำเล่าเรื่องเป็นทำนองเรียกว่า "พากย์" อย่างหนึ่ง กับเจรจาเป็นทำนองอย่างหนึ่ง บทพากย์เป็นกาพย์ยานี และกาพย์ฉบัง การพูดของตัวโขนไม่ว่าจะเป็นทำนองพากย์ ทำนองเจรจา หรือพูดอย่างสามัญชน มีผู้พูดแทนให้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นตัวที่สวมหน้าหรือไม่สวมหน้า ผู้พูดแทนตัวโขนนี้เรียกว่า "คนเจรจา"

        เครื่องแต่งตัว เป็นแบบเดียวกับละครใน นอกจากบางตัวสวมหัวโขนตามเนื้อเรื่อง เสื้อของตัวพระและตัวยักษ์สมัยโบราณมักมี ๒ สี คือเป็นเสื้อกั๊กสีหนึ่ง กับแขนสีหนึ่ง นัยว่าเสื้อกั๊กนั้นแทนเกราะ ส่วนตัวลิง ตัวเสื้อและแขนลายวงทักษิณาวรรต สมมติเป็นขนของลิงหรือหมี ตัวยักษ์จะต้องมีห้อยก้นเป็นผ้าปักผืนสั้นๆ ปิดชายกระเบน

       เรื่องที่แสดง โขนของไทยเราแสดงแต่เรื่องรามเกียรติ์เรื่องเดียว

       วิธีการแสดงโขนมีหลายชนิด แตกต่างกันด้วยวิธีการแสดง ดังจะอธิบายไปตามลำดับดังนี้




           โขนนั่งราว เป็นการแสดงบนโรง เลียนแบบโขนกลางแปลง คือ ปลูกโรงสูงพอตาคนยืนดู ปูกระดานพื้นเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ฉากแบ่งเป็น ๓ ส่วน ส่วนกลางยาวประมาณ ๑๐ เมตร ทำภาพนูน เขียนสีเป็นป่าเขา ส่วนนอกด้านขวา(ของโรง) ยาวประมาณ ๓ เมตร ทำภาพนูนเขียนสี เป็นรูปพลับพลาและรั้ว สมมติเป็นพลับพลาพระราม ส่วนนอกด้านซ้ายยาวประมาณ ๓ เมตร ทำภาพนูน เขียนสีเป็นปราสาทราชวังมีกำแพง สมมติเป็นกรุงลงกา มีประตูเข้าออก ๒ ประตู อยู่คั่นระหว่างฉากส่วนกลางกับส่วนนอกข้างละประตู ตรงหน้าฉากออกมา ห่างฉากประมาณ ๑.๕  เมตร ทำราวไม้กระบอก มีเสารับสูงประมาณ ๖๐ เซนติเมตร ยาวเสมอขอบประตูข้างหนึ่งมาถึงขอบประตูอีกข้างหนึ่ง หัวท้ายของโรงทั้ง ๒ ข้าง  ปลูกร้านให้สูงกว่าพื้นโรงประมาณ ๑ เมตร ตั้งวงปี่พาทย์ข้างละวง
          วิธีแสดง ราวไม้กระบอกที่อยู่หน้าฉากนั้นเป็นที่สำหรับนั่ง วิธีนั่งถ้าหันหน้าไปทางขวาหรือซ้ายก็เอาเท้าข้างนั้นพับนั่งบนราว อีกเท้าหนึ่งห้อยลงเหยียบพื้นโรง ฝ่ายพระรามจะนั่งค่อนมาข้างขวา พระราม (ตัวประธานฝ่ายมนุษย์) นั่งสุดราวด้านขวา หันหน้าไปทางซ้าย บริวารทั้งหมดนั่งบนราวตามลำดับเรียงไป หันหน้ามาทางขวา และฝ่ายลงกา (ฝ่ายยักษ์) ตัวประธานนั่งสุดราวด้านซ้าย หันหน้ามาทางขวา บริวารทั้งหมดนั่งหันหน้ามาทางซ้าย ส่วนการแสดงในตอนที่ไม่นั่ง ก็แสดงได้ทั่วพื้นโรง 
          ดำเนินเรื่องด้วยพากย์กับเจรจาเท่านั้นเหมือนโขนกลางแปลง
          ท่ารำ เป็นท่ารำที่ครบถ้วนตามแบบแผนศิลปะการรำ ทำบทตามถ้อยคำและรำหน้าพาทย์ตามเพลงปี่พาทย์
         วิธีบรรเลงปี่พาทย์ ทั้ง ๒ วง จะผลัดกันบรรเลงวงละเพลง ตั้งแต่โหมโรงเป็นต้นไปจนจบการแสดง


โขน, โขน หมายถึง, โขน คือ, โขน ความหมาย, โขน คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 13

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu