ละคร
ละคร, ละคร หมายถึง, ละคร คือ, ละคร ความหมาย, ละคร คืออะไร
ละคร หมายถึง การแสดงรำที่เป็นเรื่องเป็นราว ดำเนินเรื่องไปโดยลำดับ มีตัวเอกของเรื่อง ฝ่ายชายเรียกว่า ตัวพระ เพราะสมัยโบราณแสดงแต่เรื่องจักรๆ วงศ์ๆ เป็นเรื่องของกษัตริย์ มีชื่อว่าพระต่างๆ เช่น พระอนิรุทธิ์ พระไชยเชษฐ์ พระอภัยมณี ฝ่ายหญิงเรียกว่า ตัวนาง เพราะในเรื่องที่แสดงมักชื่อว่านางต่างๆ เช่น นางสีดา นางบุษบา นางทิพเกสร ยังไม่มีการแบ่งเป็นนางสาวและนางที่มีสามีแล้ว และตัวประกอบอื่นๆ แล้วแต่ในเรื่องจะมี
ละครมีหลายแบบ แต่ละแบบมีการแสดงและความมุ่งหมายแตกต่างกัน เช่น ละครโนรา ละครนอก ละครใน ละครพันทาง และละครดึกดำบรรพ์
ละครนอก เป็นละครของภาคกลาง นัยว่าวิวัฒนาการมาจากโนรา เพราะมีความมุ่งหมายเช่นเดียวกันคือ ดำเนินเรื่องรวดเร็ว และตลกขบขัน สมัยโบราณผู้แสดงเป็นชายล้วน เพิ่งมีผู้หญิงแสดงในปลายสมัยรัชกาลที่ ๔ เมื่อโปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกการห้ามมิให้บุคคลทั่วไปมีละครผู้หญิง ในตอนหลังผู้แสดงเป็นผู้หญิงโดยมาก ผู้ชายเกือบจะไม่มีเลย
ตัวละคร มีครบทุกตัวตามเนื้อเรื่อง ไม่จำกัดจำนวน
ดนตรี ใช้วงปี่พาทย์ จะเป็นเครื่องห้า เครื่องคู่หรือเครื่องใหญ่ ได้ทั้งนั้น
โรงละคร มีฉากเป็นผ้าม่าน มีประตูเข้าออก ๒ ประตู หลังฉากเป็นที่แต่งตัว และสำหรับให้ตัวละครพัก หน้าฉากเป็นที่แสดงตั้งเตียงตรงกลางหน้าฉาก
การแต่งกาย เลียนแบบเครื่องต้นของกษัตริย์ ตัวพระสวมชฎา ตัวนางสวมเครื่องประดับศีรษะตามฐานะ เช่น มงกุฎกษัตรี รัดเกล้ายอด รัดเกล้าเปลว และกระบังหน้า เสื้อผ้าปักดิ้นเลื่อมแพรวพราว
การแสดง มีคนบอกบท มีต้นเสียงและลูกคู่สำหรับร้อง บางตอนตัวละครอาจร้องเอง การรำเป็นแบบแคล่วคล่องว่องไวพริ้งเพรา จังหวะของการร้องและการบรรเลงดนตรีค่อนข้างเร็ว เวลาเล่นตลกมักเล่นนานๆ ไม่คำนึงถึงการดำเนิน
เรื่อง และไม่ถือขนบประเพณี เช่น ตัวกษัตริย์ หรือมเหสีจะเล่นตลกกับเสนาก็ได้ เริ่มต้นแสดงก็จับเรื่องทีเดียว ไม่มีไหว้ครู เรื่องที่ละครนอกแสดงได้สนุกสนาน เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย บทที่สามัญชนแต่งได้แก่ เรื่องแก้วหน้าม้า ลักษณ วงศ์ และจันทโครพ บทที่เป็นพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒ ได้แก่ เรื่องสังข์ทอง สังข์ศิลป์ชัย ไชยเชษฐ์ คาวี มณีพิชัย และไกรทอง
ละคร, ละคร หมายถึง, ละคร คือ, ละคร ความหมาย, ละคร คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!