
มีหลักอยู่ว่า ลมหายใจออกของผู้ช่วยเหลือยังมีออกซิเจนเพียงพอที่จะช่วยชีวิตผู้ป่วยที่หยุดหายใจได้
วิธีปฏิบัติ
๑. ก่อนอื่นต้องล้วงปากปละคอผู้ป่วย เอาสิ่งแปลกปลอดหรือเสมหะออก
๒. ถ้าผู้ป่วยนอนหงายคอพับ ลิ้นส่วนหลังของผู้ป่วย จะเลื่อนลงไปอุดหลอดลมหายใจ ผู้ช่วยเหลือจึงควรจับศีรษะของผู้ป่วยหงายไปข้างหลังให้เต็มที่ หาผ้าพับหลายๆ ชั้นหนุนรองใต้บ่าเพื่อให้ศีรษะแหงนมากๆ ทางเดินหายใจสะดวก
๓. จับศีรษะของผู้ป่วยหงายไปทางหลังเต็มที่ ผู้ช่วยเหลือหายใจเข้าเต็มที่ และอ้าปากกว้าง ต่อมาให้ผนึกริมฝีปากของผู้ช่วยเหลือครอบลงไปบนจมูกของผู้ป่วย โดยบีบปากผู้ป่วยให้แน่น เป็นวิธีเป่าลมเข้าจมูก หรืออีกทางหนึ่งเป็นการเป่าลมเข้าปากของผู้ป่วย โดยผู้ช่วยเหลือผนึกริมฝีปากลงไปครอบบนปากของผู้ป่วย ใช้นิ้วมือบีบจมูกของผู้ป่วยไว้ให้แน่น เป่าลมเข้าไปโดยแรง จนกระทั่งเห็นทรวงอกของผู้ป่วยขยายตัวขึ้น
๔. ผู้ป่วยเหลือถอนปากออกจากผู้ป่วย ให้ผู้ป่วยหายใจออกมาเอง โดยสังเกตว่าระดับทรวงอกของผู้ป่วยเคลื่อนต่ำลง
๕. วิธีผายปอดนี้ให้ทำ ๑๒ ครั้งต่อนาที (หรือ ๕ วินาทีต่อหนึ่งครั้ง) สำหรับผู้ใหญ่ หากเป็นเด็กให้เป่าลม ๒๐ ครั้ง ต่อนาที (หรือ ๓ วินาทีต่อหนึ่งครั้ง)
หากผู้ช่วยเหลือไม่ต้องการสัมผัสกับใบหน้าของผู้ป่วยโดยตรง อาจใช้ผ้าเช็ดหน้าคลุมหน้าของผู้ป่วยไว้ แล้วเป่าลมผ่านผ้าเช็ดหน้าได้ ในกรณีที่ผู้ป่วยกินยาพิษ หรือสำลักควันพิษ การเป่าลมเข้าปากหรือจมูกจะเป็นอันตรายแก่ผู้ช่วยเหลือควรใช้การผายปอดแบบกดหลังยกแขนจะดีกว่า