ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ธงประจำพระองค์, ธงประจำพระองค์ หมายถึง, ธงประจำพระองค์ คือ, ธงประจำพระองค์ ความหมาย, ธงประจำพระองค์ คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
ธงประจำพระองค์

          “ธง” ตามความหมายที่ปรากฏในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง  ผืนผ้าที่มีสีและลวดลายต่างๆ ใช้เป็นเครื่องหมายบอกชาติ ตำแหน่งราชการ ใช้เป็นอาณัติสัญญาณตามแบบสากลนิยม และใช้เป็นเครื่องหมายเรือเดินทะเลเครื่องหมายหมู่คณะ สมาคม อาคารร้านค้า และอาณัติสัญญาณอื่นๆ สันนิษฐานกันว่าเริ่มต้นมาจากธงที่ใช้ในลัทธิพิธีทางศาสนาก่อน ในขั้นแรกเป็นเครื่องหมายแสดงข้อธรรม หรือลัทธิพิธีแล้วจึงกลายมาเป็นเครื่องบูชาที่มีใช้กันอยู่ในแทบทุกศาสนา จากนั้นจึงเกิดธงประเภทอื่นๆ  เพิ่มขึ้นตามลำดับ

          สำหรับประเทศไทย มีคติที่ใช้ธงเป็นเครื่องหมายบอกสัญญาณ หรือบอกหมู่คณะมานานแล้ว เมื่อไทยเราติดต่อสมาคมกับชาติตะวันตกมากขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์  ธรรมเนียมการใช้ธงเพื่อเป็นเครื่องหมายบอกตำแหน่งอย่างที่นิยมใช้กันในประเทศตะวันตก  ก็แพร่หลายเข้ามาในประเทศไทย เริ่มตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ ๔ เป็นต้นมา โดยได้ทรงสร้างธงประจำพระองค์พระมหากษัตริย์ขึ้นเป็นครั้งแรก เรียกว่า  “ธงจอมเกล้า” มีลักษณะพื้นนอกสีแดง พื้นในสีขาบกลางธงเป็นรูปพระมหาพิชัยมงกุฎ มีเครื่องสูงเจ็ดชั้นอยู่สองข้าง ธงจอมเกล้าใช้สำหรับชักขึ้นเสาในพระบรมมหาราชวังเมื่อประทับอยู่ในพระนครหรือใช้สำหรับชักขึ้นเสาบนเรือพระที่นั่ง เป็นเครื่องหมายว่า เสด็จพระราชดำเนินโดยเรือลำนั้นธงจอมเกล้านี้ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเพิ่มรูปโล่ตราแผ่นดินลงภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎด้วย แล้วเรียกชื่อใหม่ว่า  “ธงบรมราชธวัชมหาสยามินทร์”  ครั้นถึงปลายรัชสมัย พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้เปลี่ยนชื่อธงบรมราชธวัชมหาสยามินทร์เป็น “ธงมหาราช” โดยมีรูปลักษณะคงเดิม

          ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้ตราพระราชบัญญัติธงขึ้นใหม่  มีผลใช้บังคับตั้งแต่ วันที่ ๑  เมษายน  พุทธศักราช  ๒๔๔๔  พระราชบัญญัติธงฉบับนี้ได้เปลี่ยนลักษณะธงประจำพระองค์พระมหากษัตริย์ใหม่ มีกำหนดเป็น  ๒  ขนาด  คือ  ธงมหาราชใหญ่  และธงมหาราชน้อยและยังคงใช้เป็นธงประจำพระองค์พระมหากษัตริย์ตราบจนกระทั่งปัจจุบัน          ตอนต้นมีลักษณะและสัณฐานเหมือนกับธงมหาราชใหญ่  กว้างไม่เกิน ๖๐ เซนติเมตรตอนท้ายมีชายต่อสีขาว แปลงเป็นรูปธงยาวเรียวปลายกว้างครึ่งหนึ่งของตอนต้น ส่วนยาวโดยตลอดเป็นแปดเท่าของตอนต้น ชายธงตัดเป็นรูปแฉกอย่างหางนกแซงแซว ลึกสามในแปดของส่วนยาว  ธงนี้ใช้สำหรับเชิญขึ้นที่เสาใหญ่ในเรือพระที่นั่งลำหนึ่งลำใด เช่นเดียวกับธงมหาราชใหญ่แต่ถ้าเวลาใดที่โปรดเกล้าฯ ให้ชักธงมหาราชน้อยแทนธงมหาราชใหญ่ หมายความว่า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้งดการยิงสลุต

ธงประจำพระองค์, ธงประจำพระองค์ หมายถึง, ธงประจำพระองค์ คือ, ธงประจำพระองค์ ความหมาย, ธงประจำพระองค์ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทย ฉบับกาญจนาภิเษก

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu