โดยทั่วไปปัจจัยสำคัญที่นักวิทยาศาสตร์ วิศวกร หรือแพทย์ จะต้องคำนึงถึงเป็นอันดับต้นๆ ในการเลือกใช้ หรือพัฒนาวัสดุต่างๆ เพื่อนำมาใช้งานทางการแพทย์ ได้แก่ ความสามารถในการนำไปใช้งานในร่างกาย ซึ่งต้องสัมผัสกับเนื้อเยื่อ โปรตีน เลือด หรือเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย เนื่องจากในการใช้งานวัสดุการแพทย์นั้น วัสดุทุกประเภทจะต้องเกิดปฏิกิริยากับเนื้อเยื่อ หรือสภาพแวดล้อมในร่างกายไม่มากก็น้อย ทั้งนี้การเกิดปฏิกิริยาดังกล่าวนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ ทั้งในลักษณะที่วัสดุการแพทย์จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อเนื้อเยื่อ หรือเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย เช่น การระคายเคือง อาการแพ้ การติดเชื้อ ความเป็นพิษก่อให้เกิดเนื้องอกหรือมะเร็ง และลักษณะที่เนื้อเยื่อหรือสภาพแวดล้อม ในร่างกายส่งผลกระทบต่อการใช้งานของวัสดุการแพทย์ เช่น การเสื่อมสภาพ การกัดกร่อน ซึ่งผลกระทบดังกล่าวที่เกิดขึ้นจะส่งผลอย่างมากต่อความสำเร็จ หรือความล้มเหลวของวัสดุนั้นๆ ในการใช้งานทางการแพทย์ แต่ทั้งนี้ย่อมขึ้นกับระยะเวลา ตำแหน่ง และหน้าที่ที่วัสดุการแพทย์นั้นจะถูกนำมาใช้งานด้วย ตัวอย่างเช่น วัสดุการแพทย์ที่ต้องใช้งานเป็นเวลานานหลายๆ ปี เช่น ข้อเทียม หมอนรองกระดูกสันหลังเทียม ย่อมมีโอกาสที่จะเกิดผลกระทบจากสภาพภายในร่างกายมากกว่าวัสดุการแพทย์ที่ใช้งานในระยะเวลาสั้นๆ เช่น สายสวน หรือสายล้าง แต่โดยสรุปแล้ววัสดุที่สามารถนำไปใช้งานทางการแพทย์ได้นั้น จะต้องได้รับการยอมรับจากสภาพภายในร่างกาย ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่างๆ ในทางที่ไม่ดีต่อสภาพภายในร่างกาย และตัววัสดุนั้นก็จะต้องไม่เกิดการเสื่อมสภาพจากปฏิกิริยากับสภาพในร่างกายมนุษย์
นอกจากนี้แล้ววัสดุการแพทย์จะต้องมีสมบัติที่เหมาะสมกับการใช้งานที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นสมบัติทางกายภาพ สมบัติทางเคมี สมบัติทางแสง สมบัติทางความร้อน และสมบัติทางกล เช่น วัสดุที่นำมาใช้ทดแทนแก้วตา หรือผลิตเป็นคอนแทกเลนส์ จะต้องมีความใส ในขณะที่วัสดุที่นำไปใช้ทดแทนกระดูก ไม่ต้องคำนึงถึงสมบัติทางแสงดังกล่าว แต่ต้องมีสมบัติทางกลที่เหมาะสม เช่น มีความแข็งแรง สามารถรับน้ำหนักหรือแรงกระทำที่เกิดขึ้นจากการใช้งานได้
วัสดุการแพทย์ที่ดียังต้องสามารถผลิตขึ้นได้โดยกระบวนการผลิตที่ไม่ยุ่งยากเกินไป และที่สำคัญต้องสามารถทำการฆ่าเชื้อได้โดยกระบวนการฆ่าเชื้อดังกล่าวจะต้องไม่ส่ง ผลกระทบต่อสมบัติของวัสดุการแพทย์ที่มีอยู่ก่อนการฆ่าเชื้อ และหากเป็นไปได้ ควรจะสามารถใช้กระบวนการฆ่าเชื้อที่มีการใช้งานอยู่ในปัจจุบันได้ เช่น การนึ่งไอน้ำที่อุณหภูมิสูง การอบด้วยแก๊สเอทิลีนออกไซด์ หรือการฉายรังสีแกมมา
ในปัจจุบันก่อนที่จะนำวัสดุประเภทใดประเภทหนึ่งมาใช้งานทางการแพทย์ได้ จะต้องผ่านขั้นตอนการทดลองและทดสอบต่างๆ เป็นจำนวนมาก และใช้ระยะเวลานาน เพื่อยืนยันถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการใช้งาน และขั้นตอนสุดท้ายก่อนนำออกสู่ท้องตลาด จะต้องมีการขออนุญาตจากองค์การอาหารและยาของประเทศนั้นๆ เพื่อให้แน่ใจว่า ผู้ป่วยจะไม่เสี่ยงกับอันตรายจากการใช้งานวัสดุหรืออุปกรณ์ดังกล่าว
สมบัติพื้นฐานของวัสดุการแพทย์
สมบัติพื้นฐานของวัสดุการแพทย์, สมบัติพื้นฐานของวัสดุการแพทย์ หมายถึง, สมบัติพื้นฐานของวัสดุการแพทย์ คือ, สมบัติพื้นฐานของวัสดุการแพทย์ ความหมาย, สมบัติพื้นฐานของวัสดุการแพทย์ คืออะไร
สมบัติพื้นฐานของวัสดุการแพทย์, สมบัติพื้นฐานของวัสดุการแพทย์ หมายถึง, สมบัติพื้นฐานของวัสดุการแพทย์ คือ, สมบัติพื้นฐานของวัสดุการแพทย์ ความหมาย, สมบัติพื้นฐานของวัสดุการแพทย์ คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!