หลักการดำเนินงานโครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร
หลักการดำเนินงานโครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร, หลักการดำเนินงานโครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร หมายถึง, หลักการดำเนินงานโครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร คือ, หลักการดำเนินงานโครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ความหมาย, หลักการดำเนินงานโครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร คืออะไร
เนื่องจากโครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรที่มีการดำเนินงานตามแผนพัฒนาหลัก และโครงการที่ก่อสร้างตามพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ส่วนใหญ่เป็นโครงการประเภทเก็บกักน้ำและประเภททดน้ำ โดยการสร้างเขื่อนดินสำหรับเก็บกักน้ำ และฝายทดน้ำพร้อมด้วยงานระบบส่งน้ำเพื่อการส่งน้ำไปช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกในเขตโครงการให้ทั่วถึง ดังนั้นหลักการ ดำเนินงานโครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรในที่นี้ จะกล่าวถึงหลักการดำเนินงานทางวิชาการเกี่ยวกับงานอ่างเก็บน้ำและงานฝายทดน้ำเฉพาะสาระสำคัญที่ควรทราบดังนี้ ๑. การกำหนดขนาดและสัดส่วนของฝายทดน้ำ โดยทั่วไปการกำหนดขนาดของฝายจะต้องมีการคำนวณออกแบบเพื่อหาขนาดและสัดส่วนต่างๆ ให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำสูงสุดที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในลำน้ำให้ไหลข้ามไปได้ทั้งหมดโดยปลอดภัย อีกทั้งตัวฝายตลอดจนส่วนประกอบต่างๆ ก็จะต้องมีความมั่นคง แข็งแรง และสร้างด้วยราคาที่ประหยัดเป็นหลักเสมอ หลักการกำหนดขนาดและสัดส่วนของฝายทดน้ำที่สำคัญมีดังนี้
๑) ฝายทุกแห่งที่สร้างต้องมีความสูงมากพอเพื่อการผันน้ำให้เข้าคลองส่งน้ำที่จะขุดออกจากตลิ่งด้านหน้าฝายได้ นั่นคือ สันฝายควรมีระดับสูงกว่าพื้นที่เพาะปลูกที่จะส่งน้ำไปให้ แต่ต้องมีระดับต่ำกว่าตลิ่งเพื่อที่น้ำไหลหลากข้ามฝายในฤดูน้ำหลากจะได้มีระดับไม่เอ่อท้นสูงเข้าไปท่วมพื้นที่สองฝั่งลำน้ำจนเกิดความเสียหาย
๒) ความยาวของสันฝายต้องมีขนาดที่สามารถระบายน้ำที่ไหลมามากที่สุดให้ข้ามสันฝายไปได้โดยปลอดภัย คือระดับน้ำด้านหน้าฝายที่เอ่อท้นสูงขึ้นต้องไม่ท่วมพื้นที่สองฝั่งลำน้ำมากเกินควร และไม่ให้เกิดน้ำเอ่อท้นไหลบ่าท่วมตลิ่งจากด้านหน้าฝายจนอ้อมปลายฝายลงสู่ลำน้ำด้านท้ายฝายไปกัดเซาะดินบริเวณตลิ่งแล้วทำให้เกิดอันตรายเสียหาย โดยทั่วไปแล้วความยาวของสันฝายจะยาวมากกว่าความกว้างของลำน้ำเสมอ
๓) นอกจากระดับและความยาวของสันฝายที่จะต้องกำหนดและคำนวณออกแบบให้ถูกต้องแล้ว ส่วนประกอบต่างๆ ของฝาย ได้แก่ ตัวฝาย พื้นฝายด้านหน้าและด้านท้ายฝายพื้นตามลาดตลิ่ง คันดินป้องกันปลายฝาย ฯลฯ ก็จะต้องกำหนดหรือคำนวณออกแบบให้เหมาะสมกับสภาพดินฐานราก ให้เหมาะสมกับความสูงของ ฝายหรือความลึกของน้ำที่กักกั้น ตลอดจนปริมาณน้ำสูงสุดที่คาดว่าจะไหลล้นข้ามสันฝายเสมอ
๒. รูปแบบของฝายทดน้ำ ฝายก่อสร้างสำหรับงานพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรมีรูปแบบต่างๆ กัน เมื่อต้องการให้ฝายมีความมั่นคงแข็งแรงและใช้งานได้นานตลอดไป นอกจากการเลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่มีความมั่นคงแข็งแรงแล้ว ยังต้องมีการคำนวณออกแบบ กำหนดขนาดและสัดส่วนของฝายให้ถูกต้องเหมาะสมกับภูมิประเทศและสภาพปริมาณน้ำไหลสูงสุดที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในลำน้ำดังได้กล่าวแล้ว ในที่นี้ขอแนะนำฝายที่นิยมก่อสร้าง ๒ แบบ ได้แก่
๑) ฝายหินก่อปูบนดินถมบดอัดแน่น ตัวฝายสร้างด้วยดินถมบดอัดแน่นปิดกั้นลำน้ำ แล้วปูปิดทับด้วยหินก่อ ทั้งที่ตัวฝายที่พื้นฝายด้านเหนือน้ำและด้านท้ายน้ำ ตลอดจนที่ลาดตลิ่งและคันดินปลายฝายทั้งสองฝั่ง หินก่อดังกล่าวมีลักษณะคล้ายกับคอนกรีตทั่วไป ประอบด้วยหินขนาดใหญ่ซึ่งภายในช่องว่างของหินก้อนใหญ่เหล่านี้มีคอนกรีตบรรจุอยู่เต็มโดยตลอดหินก่อจึงเป็นวัตถุที่มีความมั่นคงแข็งแรงเช่นเดียวกับคอนกรีต แต่มีราคาถูกกว่า
๒) ฝายหินก่อหรือคอนกรีตล้วน สร้างด้วยหินก่อหรือคอนกรีตล้วนทั้งหมดประกอบด้วยตัวฝายตั้งบนพื้นท้องน้ำ โดยมีพื้นฝายด้านเหนือน้ำและด้านท้ายน้ำ ตลอดจนพื้นที่ลาดตลิ่งและคันดินปลายฝายทั้งสองฝั่งเป็นหินก่อหรือคอนกรีตล้วน
สำหรับการก่อสร้าง ได้แก่การทำงานฐานรากกับการก่อสร้างตัวฝายและส่วนประกอบต่างๆ ผู้ปฏิบัติงานก่อสร้างจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ อย่างถูกต้องครบถ้วนตามหลักวิชาการเช่นเดียวกัน
หลักการดำเนินงานโครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร, หลักการดำเนินงานโครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร หมายถึง, หลักการดำเนินงานโครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร คือ, หลักการดำเนินงานโครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ความหมาย, หลักการดำเนินงานโครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!