ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

สุขภาพจิต, สุขภาพจิต หมายถึง, สุขภาพจิต คือ, สุขภาพจิต ความหมาย, สุขภาพจิต คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
สุขภาพจิต

           จากสารานุกรมอเมริกันฉบับ  พ.ศ. ๒๕๒๒  (ค.ศ. ๑๙๗๙) ได้ให้คำจำกัดความไว้ดังนี้
           สุขภาพจิต  คือ  พัฒนาการแห่งเจตคติอันดีของบุคคลที่มีต่อตัวเอง และสิ่งแวดล้อม  เพื่อจะได้บรรลุความสำเร็จแห่งการดำรงชีวิตด้วยตัวเองได้มากที่สุด 
           งานสุขภาพจิตเริ่มใน  พ.ศ. ๒๔๔๓  โดยชาวอเมริกันชื่อ คลิฟฟอร์ด เบียร์ส (Clifford W.Beers)  ซึ่งป่วยด้วยโรคจิตทางอารมณ์ จนพยายามจะกระโดดหน้าต่างตาย  หลังจากได้รับการรักษาในโรงพยาบาลฃต่างๆ แล้ว  ได้เขียนหนังสือชื่อ  "A Mind That Found Itself" ตีพิมพ์ใน พ.ศ. ๒๔๕๑ เป็นที่รู้จักในวงการสุขภาพจิตทั่วโลก ต่อมาคลิฟฟอร์ด เบียร์ส ได้ตั้งสมาคมทางสุขภาพจิตขึ้นในสหรัฐอเมริกา
         ต่อมาใน พ.ศ.  ๒๔๕๒ สหรัฐอเมริกาได้แต่งตั้งคณะกรรมการแห่งชาติเพื่อสุขภาพจิตขึ้น  เพื่อขยายงานให้สัมพันธ์กับโรงเรียน  ศาล องค์การทางศาสนาให้การศึกษาชุมชน   และฝึกอบรมบุคลากรทางสุขภาพจิต  ปัจจุบันวงการสุขภาพจิตได้ขยายไปทั่วโลก สหพันธ์สุขภาพจิตโลก (World Federation for Mental Health) ก่อตั้งใน พ.ศ. ๒๔๙๑ 
           งานสุขภาพจิตในประเทศไทยเริ่มใน พ.ศ. ๒๔๙๔ (ค.ศ. ๑๙๕๑) ในสมัยศาสตราจารย์นายแพทย์ฝนแสงสิงแก้ว   ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา 
           หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง นักการศึกษาในประเทศทางซีกโลกตะวันตกมุ่งสนใจพัฒนาการของเด็กมีความเห็นสอดคล้องกันว่า  "ความมุ่งหมายอันสูงสุดของการศึกษาก็คือ ช่วยให้เยาวชนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่บรรลุวุฒิภาวะทางอารมณ์และสามารถใช้สติปัญญาของเขาได้อย่างมีประสิทธิภาพ"         ๑. มารดาที่กำลังตั้งครรภ์ ไม่ควรสูบบุหรี่เสพสุรา และยาเสพติด  เพื่อป้องกันมิให้เด็กที่เกิดมาเกิดความผิดปกติทางจิตเวช เช่น ปัญญาอ่อน
         ๒. ความผิดปกติบางอย่างป้องกันล่วงหน้าไม่ได้ แต่สามารถรักษาให้ทุเลาได้   สำหรับโรคจิตเภทควรรับยาระยะยาว  ส่วนโรคจิตทางอารมณ์สามารถควบคุมได้โดยลิเทียม
         ๓. ออกกำลังกายสม่ำเสมอเป็นประจำ  กินอาหารมีคุณค่าต่อร่างกาย  พักผ่อนเพียงพอ  จะทำให้ร่างกายแข็งแรง จิตใจก็สบาย ดังนั้นการส่งเสริมสุขภาพกายจึงเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมสุขภาพจิต
         ๔. มีอาชีพที่พอใจ และอยู่ในขอบเขตความสามารถที่เป็นจริงของตน
         ๕. เป้าหมายชีวิตภายในขอบเขตที่เป็นจริงได้
         ๖. แก้ไขส่วนบกพร่องของตนเองที่แก้ไขได้และยอมรับสภาพส่วนที่แก้ไขไม่ได้
         ๗. รู้จักใช้เวลาว่าง และมีงานอดิเรกทำ
         ๘. รู้จักทำประโยชน์แก่ผู้อื่น โดยที่ตนเองไม่ต้องลำบากหรือทุกข์ทรมานเกินขอบเขตสุขภาพจิตเป็นภาวะที่ผู้อื่นหยิบยื่นให้โดยตรงไม่ได้ แต่ละคนต้องใฝ่ใจช่วยตนเอง และช่วยผู้อื่นเท่าที่จะสามารถทำได้

          (ดูเพิ่มเติมเรื่อง ยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท เล่ม ๙ และ การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ เล่มเดียวกัน)

สุขภาพจิต, สุขภาพจิต หมายถึง, สุขภาพจิต คือ, สุขภาพจิต ความหมาย, สุขภาพจิต คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 10

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu