วัตถุที่ใช้ทำจารึกมีหลายชนิด แต่มีลักษณะร่วมกันคือ แข็งแรงคงทนถาวร ฉะนั้นการบันทึกลายลักษณ์อักษรลงบนจารึกจึงต้องใช้เครื่องมือต่างกันไปตามชนิดของวัตถุที่นำมาใช้ทำจารึกแต่เครื่องมือนั้นต้องมีส่วนที่เหมือนกันประการหนึ่งคือ ความแข็งและแหลมคมในขณะจารึกการจารึกลายลักษณ์อักษรมีวิธีการดังนี้
๑. จารึกด้วยเหล็กสกัด ในสมัยแรก ๆอุปกรณ์การสร้างงานจารึกทำขึ้นอย่างง่าย ๆไม่มีรูปแบบแน่นอน แต่วัตถุที่ใช้ทำจารึกส่วนใหญ่ใช้ศิลาเนื้อแข็งมาก ๆ ได้แก่ หินดินดานหินทราย เป็นต้น เมื่อตัดแท่งศิลาให้ได้รูปร่างตามต้องการแล้ว ต้องขัดพื้นผิวหน้าให้เรียบแล้วใช้เหล็กสกัดที่มีปลายแบนและแหลมคมเป็นเครี่องมือตอกสกัดลงไปในเนื้อศิลาให้เป็นรูปลายลักษณ์อักษร การจารึกอักษรอย่างนี้ทำได้ ๒ วิธี คือ
๑.๑ จารึกโดยร่างข้อความไว้ก่อนจารึก โดยก่อนจารึกอักษรต้องร่างข้อความที่จะจารึกบนแผ่นศิลาไว้ก่อน แล้วจึงสกัดด้วยเหล็กให้เป็นร่องลึกลงไปในเนื้อศิลาให้เป็นรูปลายลักษณ์อักษร การจารึกด้วยวิธีนี้มีข้อสังเกตว่า บางส่วนของเส้นอักษรจะสูงเกินแนวเส้นบรรทัดล้ำขึ้นไปถึงบรรทัดที่อยู่ตอนบน ซึ่งได้เว้นที่เป็นช่องว่างไว้ไม่ให้เส้นอักษรจากบรรทัดล่างทับเส้นอักษรบรรทัดบน
๑.๒ จารึกโดยไม่ร่างข้อความไว้ก่อนโดยใช้เหล็กสกัดตอกลงไปในเนื้อศิลาให้เป็นรูปลายลักษณ์อักษรทันที การจารึกด้วยวิธีนี้มีข้อสังเกตได้ว่า บางส่วนของเส้นอักษรที่ยาวเลยเส้นบรรทัดล้ำลงไปถึงบรรทัดที่อยู่ตอนล่างนั้น จะเว้นที่เป็นช่องว่างไว้ และถ้าไม่ยาวลงมามากนักก็จะเปลี่ยนตำแหน่งการวางรูปอักษร หรือลดขนาดตัวอักษรลงให้อยู่ในระดับที่พอดีกับเส้นบรรทัด
๒. จารึกด้วยเหล็กจาร กลุ่มจารึกทำจากวัตถุอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ศิลา เช่น จารึกที่ทำจากไม้และโลหะชนิดต่าง ๆ เนื้อวัตถุไม่แข็งมากและบางกว่าศิลา การบันทึกลายลักษณ์อักษรจึงไม่ใช้วิธีสกัด แต่จะใช้เหล็กที่มีปลายแหลมคมเรียกว่า เหล็กจาร เขียนลายลักษณ์อักษรลงบนแผ่นวัตถุนั้นทันที เช่น จารึกลานทอง จารึกพระพิมพ์ดินเผา เป็นต้น
๓. จารึกด้วยวิธีอื่น ๆ เป็นการจารึกลายลักษณ์อักษรด้วยวิธีอื่น โดยไม่ใช้เหล็กสกัดและเหล็กจาร แต่บันทึกลายลักษณ์อักษรด้วยวิธีเขียนหรือชุบ ลายลักษณ์อักษรที่ปรากฏอยู่บนวัตถุ ได้แก่ ไม้ ดินเผา ฝาผนังพระอุโบสถเป็นต้น จารึกเหล่านี้ส่วนใหญ่อยู่กับงานจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถ ตู้ลายรดน้ำ เครื่องปั้นดินเผา เป็นต้น ซึ่งอนุโลมเรียกว่า จารึกหรืออักษรจารึกเช่นเดียวกัน
การวางรูปอักษรในจารึก จะเริ่มต้นจากซ้ายไปขวา และเรียงตามลำดับจากข้างบนลงมาข้างล่าง นอกจากนั้นยังพบว่ามีการตีเส้นบรรทัดเป็นแนววางตัวอักษร สมัยแรกวางตัวอักษรใต้เส้นบรรทัดมาตลอด ตัวอย่างเช่น จารึกเจดีย์วัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย ปรากฏเส้นบรรทัดขีดลึกลงไปในเนื้อศิลาเป็นแนวทุกบรรทัด ความนิยมในการเขียนอักษรใต้เส้นบรรทัดมีอยู่ตลอดมาจนถึงปลายรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เมื่อรูปแบบการเขียนอักษรโรมันของชาวยุโรปได้เข้ามาแพร่หลายในประเทศ การเขียนอักษรบนเส้นบรรทัดตามแบบอย่างอักษรโรมันจึงได้เริ่มมีขึ้น และเป็นที่นิยมเรื่อยมา จนถึงปลายรัชกาลที่ ๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ การเขียนอักษรใต้เส้นบรรทัดก็หมดไป ปัจจุบันคนไทยไม่ใช้วิธีการเขียนอักษรใต้เส้นบรรทัดอย่างเดิมอีกแล้ว
วิธีบันทึกลายลักษณ์อักษรลงในจารึก
วิธีบันทึกลายลักษณ์อักษรลงในจารึก, วิธีบันทึกลายลักษณ์อักษรลงในจารึก หมายถึง, วิธีบันทึกลายลักษณ์อักษรลงในจารึก คือ, วิธีบันทึกลายลักษณ์อักษรลงในจารึก ความหมาย, วิธีบันทึกลายลักษณ์อักษรลงในจารึก คืออะไร
วิธีบันทึกลายลักษณ์อักษรลงในจารึก, วิธีบันทึกลายลักษณ์อักษรลงในจารึก หมายถึง, วิธีบันทึกลายลักษณ์อักษรลงในจารึก คือ, วิธีบันทึกลายลักษณ์อักษรลงในจารึก ความหมาย, วิธีบันทึกลายลักษณ์อักษรลงในจารึก คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!