เมืองไทยมั่งคั่งด้วยทรัพย์ในดิน สินในน้ำที่บรรพบุรุษสร้างไว้เป็นสมบัติวัฒนธรรม หรือมรดกวัฒนธรรม ตกทอดมาถึงเราเป็นจำนวนมากไม่แพ้ประเทศใดในโลก ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ด้วยจำนวนประชากรหรือเนื้อที่ขนาดไหนก็ตาม
มองไปรอบ ๆ ตัว สิ่งที่เรามี เราเป็นเจ้าของนั้น มีลักษณะเฉพาะตัวหรือเอกลักษณ์แทบจะทั้งนั้น และนั่นเองที่ทำให้เราเป็นเรา เขาเป็นเขา ไม่ใช่เราเป็นส่วนหนึ่งของเขา หรือเขาเป็นส่วนหนึ่งของเรา ทุกคนมีเอกลักษณ์ หมายตลอดรวมไป ทุกกลุ่ม ทุกสังคม เมือง และทุกประเทศ
สมบัติวัฒนธรรมอันมากมีของเรา ปรากฏย้อนหลังไปเป็นหมื่นเป็นแสนปีมาแล้ว เริ่มแต่มีคนมาตั้งถิ่นฐานอยู่เป็นครอบครัว แล้วรวมเป็นกลุ่ม หลายกลุ่มเป็นหมู่บ้าน แล้วเป็นเมือง เป็นแคว้น จนเป็นประเทศชาติต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้ซึ่งเป็นประจักษ์พยานที่สะท้อนให้เห็นความจริงอย่างหนึ่งได้ว่า ดินแดนที่เป็นประเทศเราคงอุดมสมบูรณ์พอตัว จึงได้มีผู้คนหลายเผ่าพันธุ์มาตั้งถิ่นฐานทำกินต่อเนื่องกันไม่ขาดระยะ ดังปรากฏเป็นหลักฐานประวัติศาสตร์และโบราณคดี
จากนิยามที่กล่าวแล้ว เห็นได้ว่าสิ่งที่เป็นและเกี่ยวข้องกับโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และโบราณสถานนั้นมีมากมาย ทั้งที่เป็นของที่คนสร้างหรือดัดแปลงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเครื่องใช้ที่ทำด้วยหิน โลหะ ไม้ ฯลฯ ที่เป็นเครื่องมือหรืออาวุธ (ขวาน มีด หอก ค้อน เบ็ด ฉมวก)ของใช้สอย (ถ้วย ชาม ผ้า) เครื่องประดับ (กำไลสร้อย ลูกปัด ต่างหู ฯลฯ) ประติมากรรม ฯลฯ ที่พบหรืออยู่ตามที่ต่าง ๆ ที่นับเป็นโบราณสถานแหล่งโบราณคดี อุทยานประวัติศาสตร์ ซึ่งอาจเป็นถ้ำ เพิงผา บ้านเรือน วัง หรือวัด ก็ได้แต่ในประเทศเราโบราณสถานที่ประกาศขึ้นทะเบียนส่วนมากเป็นศาสนสถาน หรือปูชนียสถานในอดีตหลายแห่งที่ใช้สอยสืบต่อกันมาแต่ต้นจนปัจจุบัน...ไม่เคยตาย เรียกตามข้อเท็จจริงของการใช้สอยว่า "อนุสาวรีย์ที่ยังมีชีวิต" ส่วนที่เลิกใช้ประกอบพิธีแล้วจนกลายเป็นโบราณสถานจริง ๆ เรียก "อนุสาวรีย์ที่ตายแล้ว"
โบราณสถาน หรือแหล่งโบราณคดีของประเทศเรา แบ่งตามสมัยได้เป็น ๒ สมัย คือสมัยก่อนประวัติศาสตร์สมัยหนึ่ง และสมัยประวัติศาสตร์อีกสมัยหนึ่ง แต่ละสมัยแบ่งย่อยออกไปได้อีกมากมาย
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ หมายถึง สมัยที่มนุษย์ยังไม่มีตัวหนังสือสำหรับบันทึกเรื่องต่าง ๆเป็นลายลักษณ์อักษรนั่นเอง
สมัยประวัติศาสตร์ หมายถึง สมัยที่มนุษย์บันทึกเรื่องราว เหตุการณ์ และความรู้สึกนึกคิดเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว
แต่ถ้าแบ่งตามการใช้สอย ก็อาจแบ่งแหล่งโบราณคดีได้เป็น
๑. แหล่งที่อยู่อาศัย (มีคูคันดิน หรือไม่มี)
๒. แหล่งพิธีกรรม (สุสาน ศาสนสถาน)
๓. แหล่งอุตสาหกรรม (เตาเผาถ้วยชามแหล่งโลหะกรรม เหมืองแร่ แหล่งสกัดหิน ฯลฯ)
ผลการศึกษาแหล่งเหล่านี้ ทำให้สามารถประมวลความเป็นมาของประเทศได้ทุกสมัยหลายเรื่องหลายเหตุการณ์ แม้จะขาดรายละเอียดอยู่มากก็ตาม เพราะการศึกษาบางแหล่งของเราทำได้เพียงหยาบ ๆ และแหล่งจำนวนมากถูกทำลายไปแล้ว
สมบัติวัฒนธรรม
สมบัติวัฒนธรรม, สมบัติวัฒนธรรม หมายถึง, สมบัติวัฒนธรรม คือ, สมบัติวัฒนธรรม ความหมาย, สมบัติวัฒนธรรม คืออะไร
สมบัติวัฒนธรรม, สมบัติวัฒนธรรม หมายถึง, สมบัติวัฒนธรรม คือ, สมบัติวัฒนธรรม ความหมาย, สมบัติวัฒนธรรม คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!