ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

โรคทางอายุรศาสตร์, โรคทางอายุรศาสตร์ หมายถึง, โรคทางอายุรศาสตร์ คือ, โรคทางอายุรศาสตร์ ความหมาย, โรคทางอายุรศาสตร์ คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
โรคทางอายุรศาสตร์

          หลักเบื้องต้นในการวินิจฉัยและการรักษาโรคทางอายุรศาสตร์
         
จุดมุ่งหมายที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของการเป็นแพทย์คือการรักษาผู้ป่วยให้หาย แต่ก่อนที่จะรักษาผู้ป่วย แพทย์จำเป็นจะต้องรู้ว่าผู้ป่วยเป็นโรคอะไร จึงจะรักษาได้ถูกต้อง เรื่องราวที่ผู้ป่วยบอกแพทย์นั้นมิใช่โรค แต่เป็นอาการที่ทำให้เขารู้สึกไม่สบายหรือผิดปกติ ดังนั้นการรักษาโรคได้อย่างถูกวิธีนั้น จึงเป็นกระบวนการซึ่งประกอบด้วยวิธีการหลายขั้นตอน คือ การถามประวัติ การตรวจร่างกาย (การตรวจกายภาพ) การสืบค้นตลอดจนการรักษาและป้องกันโรค          การถามประวัติผู้ป่วย แพทย์จำเป็นจะต้องทราบข้อมูลทั่วๆ ไปเกี่ยวกับผู้ป่วย  เช่น  ชื่อ  เพศ  อายุ เชื้อชาติ ที่อยู่ สถานภาพสมรส อาชีพ และสถานที่เกิด จากนั้นจึงซักถามอาการและประวัติ
          อาการสำคัญ คืออาการที่นำผู้ป่วยมาหาแพทย์หรือมาโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษา รวมทั้งระยะเวลาที่มีอาการนั้น
          ประวัติปัจจุบัน คือรายละเอียดของเรื่องราวการเจ็บป่วยหรืออาการที่ผู้ป่วยมาหาแพทย์ในครั้งนี้ประวัติปัจจุบันอาจมีระยะเวลาสั้นหรือยาวก็ได้ ขึ้นอยู่กับสภาพที่ผู้ป่วยมีอาการ  ผู้ป่วยที่เป็นโรคไส้ติ่งอักเสบอาจมีประวัติเป็นมาเพียงไม่กี่ชั่วโมง   ในขณะที่ผู้ป่วยเป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังอาจจะมีประวัติมานานเป็นปี    อาการที่เกิดขึ้นที่เกี่ยวข้องกับประวัติปัจจุบันอาจจะมีมากกว่าหนึ่งอาการ   และโดยมากแพทย์มักจะพยายามถามประวัติอาการดังกล่าวนั้นโดยละเอียด โดยเฉพาะระยะเวลาของแต่ละอาการที่เกิดขึ้น ลักษณะและวิธีการที่เกิดขึ้น  ความถี่และความรุนแรง  และการเปลี่ยนแปลงของอาการ ตลอดจนความเกี่ยวข้องกับอาการอื่นๆ รวมทั้งการรักษาที่เกี่ยวข้องกับอาการดังกล่าวซึ่งผู้ป่วยได้รับมาแล้วนั้นด้วย   ในกรณีที่มีอาการหลายๆ อย่าง แพทย์มักเรียงลำดับอาการตามเวลาที่เกิดขึ้น
          นอกจากนี้ แพทย์ยังมักจะถามประวัติตามระบบซึ่งอาจจะมีความสำคัญเกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยโรคได้การถามประวัติตามระบบนี้ แพทย์มักจะถามอาการสำคัญที่อาจพบได้บ่อย และเกี่ยวข้องกับระบบต่างๆของร่างกายและจิตใจ
          ประวัติอดีต หมายถึงเรื่องราวการเจ็บป่วยของผู้ป่วยที่เคยเป็นมาแล้วและไม่เกี่ยวข้องกับการเจ็บป่วยครั้งนี้ ผู้ป่วยอาจมาพบแพทย์ด้วยอาการของแผลในกระเพาะอาหาร แต่อาจจะมีประวัติในอดีตว่าเคยเป็นวัณโรคปอดเมื่อ ๑๕ ปีก่อน และเคยผ่าตัดต่อมทอนซิลเมื่อ ๑๐ ปีมาแล้ว เป็นต้น
          ประวัติครอบครัว หมายถึงประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัวผู้ป่วย เช่น การเจ็บป่วยของบิดา มารดาบุตร และปู่ย่าตายาย เป็นต้น โดยเฉพาะประวัติของโรคที่อาจมีความเกี่ยวเนื่องกันได้กับการเจ็บป่วยที่ผู้ป่วยเป็นในครั้งนี้ นอกจากนี้ แพทย์ยังมักจะถามอายุ สุขภาพ สาเหตุของการถึงแก่กรรม และอายุที่ถึงแก่กรรมของสมาชิกในครอบครัว   ตลอดจนอาจจะถามประวัติที่เกี่ยวข้องกับโรคที่พบได้บ่อยๆ  เช่น  เบาหวานความดันเลือดสูง  วัณโรคปอด มะเร็ง โรคหัวใจ โรคหืด และโรคแพ้ต่างๆ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในครอบครัว
          ประวัติส่วนตัว  คือ เรื่องราวส่วนตัวของผู้ป่วยเช่น คู่สมรส บุตร การทำงาน  การเจริญเติบโตในวัยเด็กและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ประวัติส่วนตัวมักรวมถึงนิสัยประจำของผู้ป่วย เช่น การดื่มสุรา การสูบบุหรี่ ยาที่ใช้เป็นประจำ ตลอดจนความสัมพันธ์กับสังคมต่างๆ การศึกษา รายได้และฐานะหรือปัญหาทางเศรษฐกิจ  ตลอดจนอาชีพ สิ่งแวดล้อมอื่นๆ และสถานที่ซึ่งผู้ป่วยอาศัยอยู่  หรือได้เคยอาศัย  หรือได้เคยไปมาแล้ว ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการเจ็บป่วยในครั้งนี้

โรคทางอายุรศาสตร์, โรคทางอายุรศาสตร์ หมายถึง, โรคทางอายุรศาสตร์ คือ, โรคทางอายุรศาสตร์ ความหมาย, โรคทางอายุรศาสตร์ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 10

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu