ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ชุมชนโบราณบริเวณทุ่งกุลาร้องไห้, ชุมชนโบราณบริเวณทุ่งกุลาร้องไห้ หมายถึง, ชุมชนโบราณบริเวณทุ่งกุลาร้องไห้ คือ, ชุมชนโบราณบริเวณทุ่งกุลาร้องไห้ ความหมาย, ชุมชนโบราณบริเวณทุ่งกุลาร้องไห้ คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
ชุมชนโบราณบริเวณทุ่งกุลาร้องไห้

          บริเวณทุ่งกุลาร้องไห้ในภาคตะวันออกเฉียง-เหนือ ครอบคลุมพื้นที่กว้างขวาง ในลุ่มแม่น้ำมูลและแม่น้ำชี ประมาณ ๓,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร มีแม่น้ำมูลเป็นขอบเขตทางด้านใต้ เป็นที่เข้าใจกันทั่วไปว่าในฤดูฝนพื้นที่จะมีน้ำท่วมขัง และภายหลังจากนั้นพื้นที่จะแห้งแล้ง ประสบปัญหาขาดแลนน้ำเนื่องจากมีน้ำและดินเค็มอยู่ทั่วไปมีผู้คนอยู่อาศัยไม่มาก ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้น โดยธรรมชาติ ตามสภาพธรณีวิทยาบริเวณทุ่งกุลาร้องไห้ เป็นที่ลุ่มต่ำคล้ายท้องกระทะของบริเวณที่ราบสูงโคราช และรองรับด้วยชั้นหินที่มีเกลือ เมื่อถึงฤดูน้ำหลากน้ำจะไหลมารวมกันในบริเวณลุ่มน้ำมูล แล้วจึงไหลลงสู่แม่น้ำโขง  น้ำจะเอ่อท่วมบริเวณทุ่งกุลาร้องไห้ชั่วระยะเวลาหนึ่งจนกว่าน้ำในแม่น้ำมูลจะไหลลงสู่แม่น้ำโขงจนหมดและเนื่องจากบริเวณทุ่งกุลาร้องไห้รองรับด้วยชั้นหินที่มีเกลือ บางแห่งชั้นหินเกลืออยู่ไม่ห่างจากพื้นผิวดิน น้ำใต้ดินส่วนใหญ่ได้ละลายเกลือและเป็นน้ำเค็ม และเมื่อภูมิประเทศบริเวณใดมีน้ำเค็มอยู่ใกล้พื้นดินมาก น้ำเค็มจะเคลื่อนตัวขึ้นมาบนพื้นดินด้วยแรงตึงผิว และจะระเหยไปทิ้งไว้แต่ตะกอนเกลือที่พื้นดิน ทำให้ดินและน้ำมีความเค็มโดยทั่วไป

          อย่างไรก็ตามในบางบริเวณที่มีสภาพภูมิประเทศเป็นเนินสูงกว่าบริเวณรอบข้าง และมีสภาพอำนวยให้เกลือถูกละลายลงสู่เบื้องล่าง และในฤดูฝนก็สามารถรับน้ำจืดที่ซึมลงไปและกักเก็บไว้ในบริเวณนั้น น้ำจืดซึ่งเบากว่าน้ำเค็มจะลอยตัวอยู่บนน้ำเค็มที่ระดับหนึ่ง โดยไม่กลายเป็นน้ำเค็มในทันที สภาพภูมิประเทศดังกล่าวจึงเป็นแหล่งที่สามารถขุดกักหาน้ำจืดได้ และในการศึกษาชุมชนโบราณในบริเวณทุ่งกุลาร้องไห้ ได้พบว่า ชุมชนโบราณจะเลือกบริเวณที่มีสภาพภูมิประเทศที่สามารถกักเก็บน้ำจืดได้  สร้างคูคันดินกักเก็บน้ำและตั้งชุมชนอยู่บนเนินเหล่านั้น ในการสำรวจแหล่งชุมชนโบราณด้วยภาพถ่ายทางอากาศ ได้พบชุมชนโบราณทั้งหมด ๙๒ แห่ง และนอกจากนี้ยังได้พบคูคลองชลประทานจำนวนทั้งหมด ๖๕ สาย ขุดต่อเชื่อมกันในลักษะของการระบายน้ำจากทางทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออกรวมความยาวประมาณ ๕๔๓ กิโลเมตร และนอกจากนี้ยังได้พบแนวเขื่อนกั้น เพื่อปิดกักยกระดับน้ำ ๒ แห่งยาว ๔.๕ กิโลเมตร และ ๓.๕ กิโลเมตร

          ลักษณะการกระจายตัวของชุมชนโบราณในบริเวณทุ่งกุลาร้องไห้นี้ การเลือกสถานที่อยู่อาศัยจะเลือกอยู่บนที่เนิน หรือลานตะพักแม่น้ำ (river terrace) สูงจากระดับน้ำท่วม  และส่วนใหญ่จะอยู่ไม่ห่างไกลจากลำน้ำธรรมชาติที่ไหลผ่านบริเวณทุ่งกุลาร้องไห้ ได้แก่ ลำพลับพลาและลำเสียวใหญ่ โดยลำน้ำธรรมชาติดังกล่าวทำหน้าที่ระบายน้ำได้อย่างดี  ในบริเวณชุมชนโบราณเหล่านี้เราได้พบร่องรอยของการขุดคูต่อเชื่อมกันโดยตลอด มีลักษณะการระบายน้ำให้ไหลไปตามระดับที่ลาดต่ำลงตามธรรมชาติจากทางทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออก คูคลองที่สำรวจพบด้วยภาพถ่ายทางอากาศทั้งหมด ยังไม่ได้ศึกษาในรายละเอียดทั้งบริเวณ แต่จากข้อมูลที่ศึกษาได้ในขั้นต้นจากภาพถ่ายทางอากาศ แสดงให้เห็นลักษณะการกระจายตัวและการเชื่อมโยงของทางน้ำกับชุมชนโบราณ  แสดงให้เห็นถึงการใช้ประโยชน์คูคลองในลักษณะของการชลประทาน โดยนำน้ำจืดจากทางด้านทิศตะวันตกมากักเก็บไว้ตามบริเวณซึ่งเป็นที่ตั้งชุมชนโบราณ และระบายออกสู่คูคลองธรรมชาติ ซึ่งจะไหลไปทางทิศตะวัน-ออกลงสู่แม่น้ำมูลต่อไป

          การสำรวจพบแหล่งชุมชนโบราณตลอดจนคูคลองดังกล่าว ทำให้เข้าใจได้ว่าคนในอดีตที่อาศัยอยู่ในบริเวณชุมชนโบราณบริเวณทุ่งกุลาร้องไห้นี้ มีความรู้ความสามารถเป็นอย่างดีแล้วในการที่จะเลือกหาแหล่งที่อยู่อาศัยตั้งเป็นชุมชนสามารถกักเก็บน้ำจืดได้ตามธรรมชาติ และรู้จักการเอาชนะธรรมชาติ ด้วยการขุดคลองจำนวนมากเชื่อมโยงชุมชนต่างๆ  เพื่อแก้ไขการขาดแคลนน้ำ และอาจใช้เพื่อการคมนาคมได้ในเวลาเดียวกัน

          ตัวอย่างการกักเก็บน้ำจืดตามชุมชนโบราณดังกล่าว จะเห็นได้จากชุมชนโบราณในบริเวณทุ่งกุลาร้องไห้หลายแห่ง ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของคนในปัจจุบัน และได้ขุดลอกคูคันดินเพื่อกักเก็บน้ำจืดไว้ใช้ได้ตลอดปี เช่น ภาพถ่ายทางอากาศชุมชนโบราณที่บ้านหลุบโมก อำเภอภาษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ในปี พ.ศ. ๒๕๑๗  คูคันดินโบราณนี้ตื้นเขิน และภาพในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ ได้มีการขุดลอกกักเก็บน้ำจืดใช้ประโยชน์สำหรับชุมชนในปัจจุบัน

ชุมชนโบราณบริเวณทุ่งกุลาร้องไห้, ชุมชนโบราณบริเวณทุ่งกุลาร้องไห้ หมายถึง, ชุมชนโบราณบริเวณทุ่งกุลาร้องไห้ คือ, ชุมชนโบราณบริเวณทุ่งกุลาร้องไห้ ความหมาย, ชุมชนโบราณบริเวณทุ่งกุลาร้องไห้ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 15

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu