
รหัสภาษาไทยตาม มอก. ๖๒๐-๒๕๓๓หรือที่เรียกกันว่า รหัส สมอ. นั้น ได้จัดตัวอักขระให้เรียงอย่างถูกต้องตามข้อ ๑-๓ ข้างต้น จึงเอื้ออำนวยต่อการเรียงลำดับสายอักขระภาษาไทยเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม ในการสร้างขั้นตอนวิธียังคงมีประเด็นอีก ๒ ประเด็น ที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติม กล่าวคือ
๑. สระหน้าซึ่งเขียนก่อนพยัญชนะต้นได้แก่ เ แ โ ใ ไ จะต้องถูกพิจารณาหลังพยัญชนะที่ตามมา เพราะการเรียงลำดับจะต้องเรียงตามหมวดพยัญชนะต้น เช่น เก ต้องมาก่อน ขาซึ่งการเปรียบเทียบจะต้องเริ่มที่ กกับข ไม่ใช่เกับข แต่ถ้าพยัญชนะต้นเหมือนกัน จึงจะพิจารณารูปสระ เช่น เก กับ กา เมื่อพบว่าขึ้นต้นด้วย กเหมือนกัน จึงจะเปรียบเทียบ เ กับ า และพบว่าเกอยู่หลัง กา
๒. วรรณยุกต์ ไม้ไต่คู้ และไม้ทัณฑฆาตจะต้องไม่ถูกนำมาพิจารณาในขั้นแรก แต่ถ้าพบว่า ตัวสะกดส่วนอื่นเหมือนกันทุกประการ จึงจะนำมาพิจารณา เช่น ในการเปรียบเทียบ ไต้ก๋งและไต่ไม้จะต้องละเลยวรรณยุกต์ ราวกับเปรียบเทียบ ไตกง และ ไตไมและได้ผลว่าไต้ก๋งมาก่อนไต่ไม้ ส่วนในกรณีที่ตัวสะกดส่วนอื่นเหมือนกันทุกประการ จึงจะพิจารณาวรรณยุกต์ไม้ไต่คู้ และไม้ทัณฑฆาต เช่น เก่ง มาก่อน เก้งทั้งนี้ โปรดสังเกตว่า ตำแหน่งวรรณยุกต์มีความสำคัญเหนือค่าของตัววรรณยุกต์เอง เช่น แหง่มาก่อน แห่งเพราะจุดที่ต่างกันคือ แห- แห่-