ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

วงจรชีวิตและสังคมผึ้ง, วงจรชีวิตและสังคมผึ้ง หมายถึง, วงจรชีวิตและสังคมผึ้ง คือ, วงจรชีวิตและสังคมผึ้ง ความหมาย, วงจรชีวิตและสังคมผึ้ง คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
วงจรชีวิตและสังคมผึ้ง

          ไม่มีผึ้งตัวหนึ่งตัวใด สามารถดำรงชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยวเป็นระยะเวลานาน โดยขาดความสัมพันธ์กับผึ้งวรรณะอื่นภายในสังคมเดียวกันเพราะผึ้งเป็นแมลงสังคมที่มีวิวัฒนาการสูง มีระบบสังคมมาเป็นเวลาช้านานประมาณถึง ๓๐ ล้านปีผึ้งแต่ละรังเปรียบเสมือนครอบครัวหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วย ๓ วรรณะ คือ ผึ้งนางพญาหนึ่งตัว ผึ้งตัวผู้หลายร้อยตัว และผึ้งงานอีกจำนวนเป็นหมื่นตัว โดยเฉพาะผึ้งเลี้ยงอาจจะมีผึ้งงานได้หลายหมื่นตัว

          รังผึ้งรังหนึ่งๆ หรือสังคมหนึ่งๆ จะดำเนินชีวิตไปได้อย่างมีระเบียบในระบบสังคมที่มีนางพญาเป็นศูนย์กลาง ทำหน้าที่ผสมพันธุ์สร้างประชากร ปกตินางพญาผึ้งโพรงไทยจะวางไข่ได้วันละ ๑,๐๐๐ ฟอง นางพญาผึ้งโพรงฝรั่งสามารถวางไข่ได้ถึงวันละ ๓,๐๐๐ ฟองโดยมีผึ้งงานคอยรับใช้ ทำความสะอาด ให้อาหารและนำของเสียไปทิ้ง

          ผึ้งนางพญา
มีลักษณะตัวใหญ่กว่าผึ้งงานและลำตัวยาวกว่าผึ้งตัวผู้ ปกติจะมีอายุ ๑-๒ ปี แต่บางตัวอาจมีอายุนานถึง ๓ ปี

          ผึ้งงาน
เป็นผึ้งเพศเมีย มีขนาดเล็กที่สุดเนื่องจากในระยะที่เป็นตัวอ่อนได้รับอาหารพิเศษคือนมผึ้งหรือรอยัลเยลลี (royal jelly) เพียง ๓ วันหลังจากนั้นตัวอ่อนผึ้งงานที่มีอายุมากขึ้นจะได้กินแต่เกสรและน้ำผึ้ง ทำให้ขบวนการพัฒนาแตกต่างไปจากผึ้งนางพญามาก ในขณะที่ผึ้งนางพญาได้กินนมผึ้งตั้งแต่เป็นตัวอ่อนอายุ ๑ วัน และได้กินต่อไปจนตลอดชีวิต ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เพศเมีย ๒ วรรณะนี้  ผิดแผกแตกต่างกันทั้งลักษณะภายนอก และภายใน ตลอดจนภารกิจต่างๆ ผึ้งงานมีหน้าที่หลักในการทำงาน เช่น ทำความสะอาดรัง  เลี้ยงดูป้อนอาหารให้ผึ้งตัวอ่อน  สร้างและซ่อมแซมรังเป็นทหารเฝ้ารังป้องกันศัตรูและหาอาหาร   ผึ้งงานต้องรับภาระดังกล่าวเท่ากันทุกตัว  ไม่มีการเอาเปรียบแก่งแย่งกันหรือหลบงานเลย ทุกตัวรับผิดชอบงานของตนเองโดยไม่มีใครบังคับ และไม่ต้องสั่งสอนกัน นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าผึ้งงาน คือหุ่นยนต์ที่มีชีวิตตัวน้อยๆ ทำงานเกือบตลอดเวลาตั้งแต่เกิดจนตาย ดังนั้นผึ้งงานจึงมีอายุสั้นเพียง ๖-๘ สัปดาห์เท่านั้น

          ผึ้งตัวผู้
มีขนาดใหญ่ ลำตัวอ้วนและสั้นกว่าผึ้งนางพญา ผึ้งตัวผู้ไม่มีเหล็กใน มีลิ้นสั้นหาอาหารเองไม่ได้ แต่จะรับอาหารจากผึ้งงานเท่านั้นผึ้งตัวผู้ไม่มีหน้าที่ทำงานภายในรัง ดังนั้นจึงมีหน้าที่ผสมพันธุ์อย่างเดียว เมื่อผสมพันธุ์ ในอากาศเสร็จจะตกลงมาตาย เมื่อหมดฤดูผสมพันธุ์ ผึ้งตัวผู้ที่ยังไม่มีโอกาส ผสมพันธุ์จะถูกผึ้งงานปล่อยให้อดตายด้วย เราจะพบผึ้งตัวผู้ปรากฏในรังเฉพาะช่วงฤดูผสมพันธุ์เท่านั้น หลังจากผสมพันธุ์กับนางพญาแล้ว ผึ้งตัวผู้จะตายทันที

วงจรชีวิตและสังคมผึ้ง, วงจรชีวิตและสังคมผึ้ง หมายถึง, วงจรชีวิตและสังคมผึ้ง คือ, วงจรชีวิตและสังคมผึ้ง ความหมาย, วงจรชีวิตและสังคมผึ้ง คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 15

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu