ปอแก้วปอกระเจา
ปอแก้วปอกระเจา, ปอแก้วปอกระเจา หมายถึง, ปอแก้วปอกระเจา คือ, ปอแก้วปอกระเจา ความหมาย, ปอแก้วปอกระเจา คืออะไร
ปอเป็นพืชเส้นใยชนิดหนึ่งที่ได้เส้นใยจากส่วนเปลือกของลำต้น โดยการแช่ฟอก เส้นใยมีลักษณะอ่อนนุ่ม ส่วนใหญ่จึงใช้ในการผลิตกระสอบบรรจุธัญพืช เช่น ข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง หรือผลิตผลทางการเกษตร เช่น น้ำตาล นอกจากนี้ยังใช้ในการทำพรมปูพื้น ฉนวนไฟฟ้าส่วนประกอบเคมีภัณฑ์ วัสดุทางการทหาร และอาจจะใช้ปอทั้งต้นเพื่อผลิตเยื่อกระดาษ จะเห็นได้ว่า ปอเป็นพืชที่มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมเกษตร และนำรายได้เข้าสู่ประเทศปีละเป็นจำนวนมาก
ปอเป็นพืชที่สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดี ทนต่อความแห้งแล้ง นอกจากนี้ยังสามารถเจริญเติบโตได้ในดินเกือบทุกประเภทแต่ดินที่เหมาะสมในการปลูกปอให้ได้ผลิตผลสูงควรเป็นดินร่วนซุย และมีความอุดมสมบูรณ์มาก ปัจจุบันทั่วโลกมีพื้นที่ปลูกปอประมาณ ๑๖,๙๙๐,๐๐๐ ไร่ ได้ผลิตผล ๓.๔๒๓,๐๐๐ ตัน (พ.ศ. ๒๕๓๕) ผลิตผลที่ได้ร้อยละ ๙๔ อยู่ในทวีปเอเชีย ประเทศอินเดียเป็นผู้ผลิตได้มากที่สุดประมาณปีละ ๑,๖๒๐,๐๐๐ ตัน ส่วนใหญ่เป็นปอกระเจาฝักยาวและมีปอแก้วอยู่บ้างเล็กน้อย ประเทศผู้ผลิตรองลงมา ได้แก่ บังกลาเทศสามารถผลิตได้ปีละ ๙๔๘,๖๐๐ ตัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปอกระเจาฝักกลม และสาธารณรัฐประชาชนจีนผลิตได้ ๕๐๘,๐๐๐ ตัน เป็นปอคิวบาส่วนประเทศไทยผลิตได้ประมาณ ๑๒๗,๐๐๐ ตัน เส้นใยที่ผลิตได้ร้อยละ ๙๒ เป็นปอแก้วส่วนที่เหลือเป็นปอกระเจา
พื้นที่ปลูกในประเทศไทยมี ๖๒๒,๐๐๐ ไร่ (พ.ศ. ๒๕๓๕) พื้นที่ปลูกปอแก้วเกือบทั้งหมดอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากเป็นพืชที่ทนต่อความแห้งแล้งได้ดี จังหวัดที่ปลูกมากได้แก่ อุดรธานี ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม ศรีสะเกษ อุบลราชธานี และบุรีรัมย์ และมีการปลูกอยู่บ้างในภาคเหนือและภาคกลาง เขตจังหวัดปราจีนบุรี ส่วนปอกระเจามีการปลูกไม่มากนักเนื่องจากเป็นพืชที่ต้องการความอุดมสมบูรณ์มาก มีการกระจายของน้ำฝนตลอดฤดูปลูกดีจึงสามารถปลูกได้บ้างในบางจังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น หนองคาย นครพนม สกลนคร กาฬสินธุ์ และบางส่วนของจังหวัดอุดรธานี
ปอแก้วปอกระเจา, ปอแก้วปอกระเจา หมายถึง, ปอแก้วปอกระเจา คือ, ปอแก้วปอกระเจา ความหมาย, ปอแก้วปอกระเจา คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!