ขั้นตอนการแสดงลิเกแบ่งได้เป็น ๔ ช่วง คือ โหมโรง ออกแขก ละคร และ ลาโรง
เป็นการคำนับครู อวยพรผู้ชม ขอบคุณเจ้าภาพ แนะนำเรื่อง อวด ผู้แสดง ฝีมือการร้องรำ และความหรูหรา ของเครื่องแต่งกาย เพื่อให้ผู้ชมสนใจ และเตรียมพร้อมที่จะชมต่อไป ออกแขกเป็น การเบิกโรงลิเกโดยเฉพาะ
การออกแขก มี ๔ ประเภทคือ ออกแขกรดน้ำมนต์ ออกแขกหลังโรง ออกแขกรำเบิกโรง และออกแขกอวดตัว
ออกแขกรดน้ำมนต์ โต้โผ คือ หัวหน้าคณะหรือผู้แสดงอาวุโสชาย แต่งกาย แบบแขกมลายูบ้าง ฮินดูบ้าง มีผู้ช่วยเป็นตัวตลกถือขันน้ำตามออกมา แขกร้องเพลงออกแขกชื่อว่า เพลงซัมเซ เลียนเสียงภาษามลายู จบแล้วกล่าวสวัสดีและทักทายกันเอง ออกมุขตลกต่างๆ เล่าเรื่องที่จะแสดงให้ผู้ชมทราบ จบลงด้วยแขกประพรมน้ำมนต์เพื่อเป็นสิริมงคลแก่การแสดง และเป็นการอวยพรผู้ชม การออกแขกรดน้ำมนต์ไม่ค่อยมีแสดงในปัจจุบัน
ออกแขกหลังโรง โต้โผหรือผู้แสดงชายที่แต่งตัวเสร็จแล้วช่วยกันร้องเพลงซัมเซอยู่หลังฉากหรือหลังโรง แล้วจึงต่อด้วยเพลงประจำคณะ ที่มีเนื้อเพลงอวดอ้าง คุณสมบัติต่างๆของคณะ จากนั้นเป็นการประกาศชื่อและอวดความสามารถของศิลปิน ที่มาร่วมแสดง ประกาศชื่อเรื่องและเนื้อเรื่อง ย่อที่จะแสดง แล้วลงท้ายด้วยเพลงซัมเซอวยพรผู้ชม
ออกแขกรำเบิกโรง คล้ายออกแขก หลังโรง โดยมีการรำเบิกโรงแทรก ๑ ชุด ก่อนลงท้ายด้วยเพลงซัมเซอวยพรผู้ชม รำเบิกโรงนี้มักแสดงโดยลูกหลานของผู้แสดง ที่มีอายุน้อยๆ เป็นการฝึกเด็กๆให้เจนเวที เป็นการรำชุดสั้นๆสำหรับรำเดี่ยว เช่น พม่ารำขวาน พลายชุมพล มโนห์ราบูชายัญ หรือชุดที่คิดขึ้นเอง เช่น ชุดแขกอินเดีย ในกรณีที่เป็นการแสดงเพื่อแก้บน รำเบิกโรงจะเป็น รำเพลงช้าเพลงเร็ว โดยผู้แสดงชาย - หญิง ๒ คู่ ตามธรรมเนียมของการรำแก้บนละคร ซึ่งเรียกว่า รำถวายมือ เมื่อจบรำเบิกโรงแล้ว ข้างหลังโรงจะร้องเพลงซัมเซอวยพรผู้ชม
ออกแขกอวดตัว คล้ายออกแขก รำเบิกโรง แต่เปลี่ยนจากรำเดี่ยวหรือรำถวาย มือมาเป็นการอวดตัวแสดงทั้งโรง ผู้แสดงทุกคนจะแต่งเครื่องลิเก นำโดยโต้โผหรือพระเอกอาวุโสร้องเพลงประจำคณะ ต่อด้วยการแนะนำผู้แสดงเป็นรายตัว จากนั้นผู้แสดง ออกมารำเดี่ยว หรือรำหมู่ หรือรำพร้อมกันทั้งหมด คนที่ไม่ได้รำก็ยืนรอ เมื่อรำเสร็จ แล้วก็ร้องเพลงซัมเซอวยพรผู้ชม แล้วทยอยกันกลับเข้าไป
การออกแขกเป็นการแสดงลิเกที่สืบทอดมาจากลิเกสวดแขก แม้จะเปลี่ยนแปลง ไปตามกาลเวลา ก็ยังพอเห็นองค์ประกอบเดิมอยู่บ้าง เช่น เพลงและการที่ผู้แสดง แต่งตัวเป็นแขก