เนื้อไก่ เป็ด ห่าน ไก่งวง ที่ใช้เป็นอาหารของคนได้จากกล้ามเนื้ออกและขาเป็นสำคัญ ข้อนี้แตกต่างจากเนื้อสุกรและโคอยู่บ้าง เพราะรากฐานทางวิวัฒนาการทำให้สัตว์ปีกมีโครงสร้างแตกต่างจากสัตว์สี่เท้า สัตว์ปีกมีสันกระดูกยื่นจากกระดูกอกทำให้เป็นกระดูกชิ้นโตที่สุดของร่างกาย กระดูกนี้ทำหน้าที่เป็นฐานยึดของกล้ามเนื้ออก ซึ่งมีหน้าที่ให้พลังแก่ปีกสำหรับบิน ด้วยหน้าที่นี้กล้ามเนื้ออกจึงเป็นกล้ามเนื้อสำคัญของสัตว์ปีก และนักพันธุศาสตร์ได้อาศัยพื้นฐานนี้ผสมและคัดเลือกพันธุ์ให้ได้ ไก่ เป็ดห่าน ไก่งวง ซึ่งมีกล้ามเนื้ออกขนาดใหญ่ แม้สัตว์เหล่านี้เกือบจะลืมวิธีบินแล้วก็ตาม
มีลักษณะเด่นของสัตว์ปีกอีกประการหนึ่ง คือ กระดูกเชิงกรานนั้นประสานกับกระดูกหลังเป็นโครงชิ้นเดียวกัน น้ำหนักเบา แต่แข็งแรงโดยไม่ต้องอาศัยกล้ามเนื้อสันเป็นเครื่องยึดโยง ลักษณะนี้ก็ได้จากวิวัฒนาการเพื่อการบินเช่นกัน ผลลัพธ์คือ สัตว์ปีกมีกล้ามเนื้อสันเป็นเพียงก้อนกลมๆ เล็กๆ ไม่ต้องทำงานใด แต่มีกล้ามเนื้อขาขนาดใหญ่สำหรับวิ่ง ๒ เท้าให้คล่องแคล่วและว่องไว กับได้ใช้คุ้ยเขี่ยหาอาหาร ทั้งใช้ขาในการป้องกันตัวอีกด้วย
ดังนั้นในการคัดเลือกพันธุ์ นักพันธุศาสตร์จึงสามารถเลือกเฟ้นลักษณะ หรือขนาดของกล้ามเนื้อโคนขา (หรือเรียกสะโพกก็ได้) และกล้ามเนื้อน่องได้เป็นพิเศษ ส่วนที่แข้งซึ่งเป็นช่วงที่ ๓ ของขานั้นมีแต่กระดูก เอ็น และหนัง แข้งไก่นี้เปรียบได้กับกระดูกเท้าของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมรวมกันอยู่เป็นกระดูก ๒ ชิ้น ส่วนที่นิ้วเท้านั้นเปรียบได้กับกระดูกนิ้วของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
ลักษณะที่เติบโตเร็วก็ดี ลักษณะไข่ดกก็ดีแม้กระทั่งลักษณะของส่วนต่างๆ ของร่างกายก็ดีเป็นสิ่งที่อยู่ในวิสัยของนักพันธุศาสตร์ หรือนักผสมพันธุ์สัตว์ปีก จะคัดเลือกผสมพันธุ์ให้ได้ลักษณะดีเด่นต่างๆ ได้ไม่ยากนัก
สมัยนี้มีศัพท์ใหม่อีกคำหนึ่ง คือ คำว่าสัตว์ปีกเศรษฐกิจ หมายถึงสัตว์ปีกที่คนเราเลี้ยงเอาเนื้อ เอาไข่มาเป็นอาหารสำคัญ เป็นสินค้า และเป็นอาชีพสำคัญในการขายเนื้อไก่ควรแยกประเภทไก่เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจและซื้อได้ถูกต้องตามความประสงค์ วิธีหนึ่งที่นิยมเป็นสากลแบ่งแยกประเภทดังนี้
๑. ไก่กระทง ทั้งเพศเมียและเพศผู้ อายุไม่เกิน ๑๖ สัปดาห์ แต่ที่ซื้อขายได้ขนาด ๑.๕ กก. ส่วนมากอายุไม่เกิน ๘ สัปดาห์ ไก่กระทงที่ใช้ย่างขายกันสมัยนี้อายุประมาณ ๕ สัปดาห์
๒. ไก่หนุ่มสาว อายุไม่เกิน ๘ เดือน
๓. ไก่ตอน เพศผู้อายุไม่เกิน ๑๐ เดือนและมีไก่ตอนที่เป็นเพศเมีย ได้แก่ ไก่กระทงซึ่งขุนให้อ้วนขายได้ภายในอายุก่อน ๕ ๑/๒ เดือน โดยไม่ต้องทำการตอนแต่อย่างใด
๔. ไก่แกง ทั้งสองเพศอายุเกิน ๑๐ เดือนโดยมากจะมีอายุ ๑๘-๒๔ เดือน คือ หลังจากเลิกใช้เป็นไก่ไข่ หรือไก่พันธุ์แล้ว
ไก่ที่ผ่านโรงงานเชือดไก่แล้ว จะถูกถอนขนและทำความสะอาดเบื้องต้น ประมาณได้ว่าน้ำหนักจะลดหายไปร้อยละ ๑๐ และเมื่อตกแต่งตัดหัว ขาเครื่องในแล้วก็จะลดไปอีกร้อยละ ๒๐ เป็นน้ำหนักเหลือประมาณร้อยละ ๗๐ ตัวเลขนี้อาจแตกต่างกันไปบ้าง ถ้าไก่มีอายุแตกต่างกัน
คุณภาพของเนื้อ ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับอายุ และการเลี้ยงดูก่อนส่งมาตลาด คือถือเป็นหลักกลางได้ว่าไก่อายุน้อย เนื้อนุ่ม และเปื่อยง่ายกว่าไก่อายุมาก ไก่ที่ขุนด้วยอาหารที่มีแป้งและไขมันสูงจะมีไขมันในเนื้อมาก ทำให้เนื้อนุ่มกว่าไก่ที่ไม่ได้ขุนนอกจากนี้แล้ว คุณภาพยังขึ้นอยู่กับกรรมวิธีรักษาคุณภาพภายหลังที่เชือดแล้ว ซากไก่มีอุณหภูมิในตัวค่อนข้างสูงถึง ๔๐ องศาเซลเซียส หากทิ้งไว้ให้ค่อยลดลงเอง ก็เท่ากับเปิดทางให้จุลินทรีย์หลายๆ ชนิดได้เจริญขยายตัว ทำลายคุณภาพลงอย่างรวดเร็วจึงควรเร่งลดอุณหภูมินี้ โดยการแช่ซากไก่ในน้ำปนน้ำแข็ง อุณหภูมิ ๐-๑ องศาเซลเซียส ใช้เวลาตั้งแต่ ๓-๒๔ ชั่วโมง เป็นการถอนความร้อนในตัวการถอนความร้อนนี้ นับว่าจำเป็นแก่การเก็บไก่สดไม่ว่าจะเก็บในตู้เย็นเพื่อใช้ในระยะสั้น หรือเก็บแช่แข็งเพื่อใช้ในระยะยาวก็ตาม
ไก่กินอาหารอะไรบ้าง โดยทั่วไปเราก็มักจะเห็นว่าไก่ชอบกินข้าวเปลือก ข้าวสาร นอกจากนั้นก็คงจะเคยได้ยินว่า เมล็ดธัญพืช หรือเมล็ดพืชหลายๆ อย่างเป็นอาหารไก่อาหารเป็ดได้ทั้งสิ้น ยังมีอาหารประเภทหนึ่งนอกเหนือจากอาหารแป้ง ซึ่งได้จากเมล็ดพืชหรือเมล็ดข้าวที่ว่าไว้แล้ว คืออาหารโปรตีนซึ่งต้องมาจากเนื้อสัตว์ เนื้อปลา หอย เหล่านี้ไก่ชอบกินตัวปลวก เมื่อคุ้ยเขี่ยหาอาหารเอง ไก่จะหากินแมลง ไส้เดือน เพื่อให้ได้อาหารโปรตีน หาไม่แล้วการเติบโตจะไม่เป็นไปตามปกติ เป็ดชอบไซ้หาอาหารกินในน้ำ เพื่อหาปลาและหอยซึ่งเป็นอาหารโปรตีนของมัน
เมื่อไก่กลืนอาหารลงไป จะตกถึงกระเพาะที่หนึ่งซึ่งคนเราไม่มี เรียกว่า "กระเพาะพัก" อยู่ที่ต้นคอ อาหารจะพักอยู่ที่นี่ชั่วคราวก่อนที่จะลงกระเพาะจริง เพื่อทำการย่อยให้เป็นประโยชน์แก่ ร่างกาย ถัดไปเป็นกระเพาะที่สามหลังกระเพาะจริงเรียกกันว่า กึ๋น ถ้าท่านสังเกตจะเห็นว่ากึ๋นนี้มีผนังหนา และมักจะมีก้อนกรวดเล็กๆ อยู่เป็นจำนวนพอสมควร ธรรมชาติสร้างกึ๋นไว้ให้เพื่อจะได้ช่วยบดอาหารซึ่งเป็นเมล็ดข้าว เมล็ดข้าวโพด เหล่านี้มีเปลือกแข็ง และย่อยอย่างปกติด้วยน้ำย่อยในกระเพาะจริงไม่ได้ จะต้องหาโม่มาโม่เสียก่อนส่งไปลำไส้ กึ๋นนี้แหละทำหน้าที่โม่แทนการบดเคี้ยวในปากเพราะไก่ไม่มีฟัน และก้อนกรวดเม็ดทรายซึ่งอยู่ภายในกึ๋น ก็เป็นเครื่องช่วยบดให้ได้ผลด้วย ดังนั้นเราจะเห็นว่าสัตว์ปีกที่กินเมล็ดข้าว กินอาหารค่อนข้างหยาบมากจะมีกึ๋นที่แข็งแรง และมีขนาดค่อนข้างโต ถ้าไก่เลี้ยงที่กินเฉพาะอาหารอ่อน อาหารป่นหรือสัตว์ปีกที่กินอาหารเนื้อเป็นประจำ ขนาดกึ๋นจะค่อนข้างเล็ก เพราะไม่จำเป็นต้องใช้งานมาก
ถัดจากกึ๋นก็เป็นลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ ซึ่งไก่บ้านทั่วๆ ไปจะมีลำไส้ยาวประมาณสองเท่าครึ่งของความยาวจากหัวจรดหาง ความยาวของลำไส้ไก่นี้เมื่อเทียบกับสัตว์อื่นนับว่าน่าสนใจ เราใช้วิธีเทียบโดยคิดว่ายาวเป็นกี่เท่าของตัว สัตว์ที่กินอาหารจำพวกหญ้า เช่น แพะ แกะ วัว ควาย ลำไส้ยาวเป็นหลายเท่าของตัวมัน คนมีลำไส้ยาวปานกลางแต่ลำไส้ของไก่ค่อนข้างสั้นเพียงสองเท่าครึ่งของตัวลักษณะลำไส้สั้นนี้แสดงว่าไก่จำเป็นต้องกินอาหารค่อนข้างดี คือ มีแป้งมาก มีโปรตีนดี เพราะอาหารมีเวลาอยู่ในลำไส้ไม่นานนัก จำเป็นต้องรีบย่อยและดูดซึมเอาไปใช้ประโยชน์โดยรวดเร็ว ข้อนี้อาจเป็นเหตุผลที่ทำให้เป็ดไก่โตเร็วได้
ที่ลำไส้ใหญ่ตอนปลายจะมีลักษณะเหมือนกับของสัตว์เลื้อยคลาน กล่าวคือก่อนที่จะถึงทวารหนักจะเป็นที่รวมของท่อปัสสาวะ และท่อไข่หรือท่ออวัยวะสืบพันธุ์ ข้อนี้แตกต่างจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ทั้งปัสสาวะและไข่จะมีทางออกจากร่างกายทางเดียว คือ ผ่านทางทวารหนัก เมื่อเป็นเช่นนี้จะมีคำถามขึ้นว่า ถ้าปัสสาวะออกมาพร้อมกับอุจจาระแล้วทำไมโดยมากเราจึงเห็นมูลไก่เป็นก้อนไม่เหลวเป็นน้ำ ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะที่ปลายลำไส้ใหญ่ หรือที่เรียกว่า ส้วงทวารหนักนั้น ผนังโดยรอบมีความสามารถเป็นพิเศษในการดูดซึมน้ำจากปัสสาวะคืนเข้าสู่ร่างกาย แล้วทิ้งกรดยูริก คือของแข็งที่ละลายมาในปัสสาวะให้หยอดไว้เป็นก้อนสีขาวๆ บนมูลไก่ปรากฏการณ์เช่นนี้อาจเนื่องจากความจำเป็นที่ไก่และสัตว์ปีกส่วนใหญ่ไม่สู้มีโอกาสได้ดื่มน้ำมากนักโดยปกติถ้าแม่ไก่กินอาหารแห้งป่นวันละ ๑๐๐ กรัมก็มีความต้องการกินน้ำวันละ ๒๐๐ กรัม หรือ ๒๐๐ ลูกบาศก์เซนติเมตร จึงจะอยู่สบายและให้ไข่ตามสมควร อัตรานี้นับว่าน้อยเมื่อเทียบกับสัตว์อื่นหรือเทียบกับตัวเราเอง ซึ่งรับประทานอาหารที่มีน้ำปนอยู่ด้วยในอัตราสูงอยู่แล้ว แต่ถ้าด้วยเหตุบังเอิญแม่ไก่ได้กินน้ำไม่ถึงวันละ ๒๐๐ ลูกบาศก์เซนติเมตรแม่ไก่ก็ยังจะอยู่ได้โดยไม่ตาย แต่จะบอกเจ้าของไห้รู้ว่า ได้น้ำไม่พอกินโดยการหยุดไข่หรือถึงกับผลัดขน ถ้าเป็นไก่เล็กก็อาจจะโตช้าไป ฉะนั้นผู้เลี้ยงจึงต้องระวังตลอดเวลา
ไลซีน
ฮิสติดีน
ไอโซลูซีน
ลูซีน
เมไทโอนีน+ซีสติน๓
ฟีนิลอะลานีน+ไทโรซีน๓
ทรีโอนีน
ทริพโตแฟน
แวลีน
๐.๘
๑.๐
๐.๓๕
๐.๕
๑.๕
๐.๗
๑.๒
๐.๕๕
๐.๑๕
๐.๘
-
-
-
๐.๕
๐.๗
๐.๕๕
๐.๗
๐.๔
๐.๑๓
๐.๕๕
๒. วิตามินต่างๆ ที่ควรมีในอาหารไก่ตามภาวะต่างๆ (ต่ออาหาร ๑ กก.)
ตารางแสดงชนิดและปริมาณวิตามินของอาหารไก่
ชนิดของวิตามินลูกไก่และไก่กระทง
ระยะแรกลูกไก่และไก่กระทง
ระยะหลังไก่ไข่ไก่พันธุ์สภาพปกติสภาพเครียดสภาพปกติสภาพเครียดสภาพปกติสภาพเครียด วิตามิน เอ, หน่วย
วิตามิน ดี ๓, หน่วย
วิตามิน อี, หน่วย
วิตามิน เค ๓, มก.
วิตามิน บี ๑, มก.
วิตามิน บี ๒, มก.
ไนอาซีน, มก.
กรดแพนโทเทนิก, มก.
วิตามิน บี ๖
วิตามิน บี ๑๒, มก.
กรดโฟลิก, มก.
ไบโอติน, มก.
โคลีน, มก.
วิตามิน ซี, มก.
๑๕,๐๐๐
๑,๕๐๐
๓๐
๓
๓
๘
๕๐
๒๐
๗
๐.๐๓
๑.๕
๐.๑๕
๑,๕๐๐
๑๕๐
๒๐,๐๐๐
๒,๒๐๐
๖๐
๘
๓
๘
๕๐
๒๐
๗
๐.๐๓
๑.๕
๐.๑๕
๑,๕๐๐
๑๕๐
๑๐,๐๐๐
๑,๒๐๐
๒๕
๒
๓
๖
๔๐
๑๒
๕
๐.๐๒
๑.๒
๐.๑๕
๑,๓๐๐
๖๐
๑๕,๐๐๐
๒,๐๐๐
๕๐
๘
๓
๖
๔๐
๑๒
๕
๐.๐๒
๑.๒
๐.๑๕
๑,๓๐๐
๖๐
๑๐,๐๐๐
๒,๐๐๐
๓๐
๒
๓
๖
๔๐
๑๕
๕
๐.๐๑๕
๑.๕
๐.๒
๑,๑๐๐
๒๐๐
๑๕,๐๐๐
๓,๐๐๐
๖๐
๘
๓
๖
๔๐
๑๕
๕
๐.๐๑๕
๑.๕
๐.๒
๑,๑๐๐
๒๐๐
แหล่งที่มา : Vitamin Compendium, Roche, 1976, p.34.
๓. พลังงาน พลังงานใช้ประโยชน์ต่อวัน (กิโลแคลอรี/ตัว) สำหรับไก่ไข่
การไข่ของฝูง
น้ำหนักตัวไก่ (กก.)
เพื่อดำรงชีวิต
เพื่อดำรงชีวิตและการไข่
-
๒๐ %
๔๐ %
๖๐ %
๘๐ %๑.๔
๑๖๕
๑๙๐
๒๒๐
๒๔๕
๒๗๐๑.๘
๒๓๐
๒๕๕
๒๘๐
๓๐๕
๓๓๐๒.๓
๒๘๕
๓๑๕
๓๓๕
๓๖๐
๓๘๕๒.๗
๒๓๕
๓๖๐
๓๘๕
๔๑๐
๔๓๕
๔. แร่ธาตุต่างๆ ในอาหาร ๑ กก. ไก่กระทงระยะแรกการไข่ของฝูง
น้ำหนักตัวไก่ (กก.)
เพื่อดำรงชีวิต
เพื่อดำรงชีวิตและการไข่
-
๒๐ %
๔๐ %
๖๐ %
๘๐ %๑.๔
๑๖๕
๑๙๐
๒๒๐
๒๔๕
๒๗๐๑.๘
๒๓๐
๒๕๕
๒๘๐
๓๐๕
๓๓๐๒.๓
๒๘๕
๓๑๕
๓๓๕
๓๖๐
๓๘๕๒.๗
๒๓๕
๓๖๐
๓๘๕
๔๑๐
๔๓๕
และลูกไก่ ๐-๔ อ. ไก่กระทงและลูกไก่
ระยะหลัง ไก่ไข่ ไก่พันธุ์ แคลเซียม %
ฟอสฟอรัส %
คลอรีน %
โพแทสเซียม %
โซเดียม %
ทองแดง มก./กก.
ไอโอดีน
เหล็ก
แมกนีเซียม
แมงกานีส
สังกะสี มก./กก. ๒.๒
๑.๑
๐.๓๓
๐.๘๘
๐.๓๓
๑๑
๐.๓๗
๘๘
๕๕๐
๕๕
๔๔
๑.๗๖
๑.๑
๐.๓๕
๐.๘๘
๐.๓๓
๑๑
๐.๓๗
๘๘
๕๕๐
๕๕
๓๓
๘.๑๔
๑.๒๑
๐.๓๓
๐.๘๘
๐.๓๓
๑๑
๐.๓๓
๔๔
๕๕๐
๓๓
๒๒
๑.๒๑
๐.๓๓
๐.๘๘
๐.๓๓
๑๑
๐.๓๓
๔๔
๕๕๐
๓๓
๒๒ หมายเหตุ
๑. ความต้องการอาหารแร่ธาตุย่อมเปลี่ยนแปลงตามจำนวนพลังงานในอาหารในที่นี้ถือเกณฑ์จากอาหารปกติซึ่งมี
๒,๘๐๐ กิโลแคลอรี ของพลังงานใช้ประโยชน์ต่อกิโลกรัม
๒. ไก่ไข่ ในฤดูร้อนต้องการพลังงานต่ำลงราว ๕% และสูงขึ้นราว ๕% ในฤดูหนาว
การหาเปอร์เซ็นต์การไข่ = จำนวนไข่ที่ได้ /จำนวนไก่ในเล้าx ๑๐๐
๓. เมไทโอนีนแทนด้วยซีสตินได้ไม่เกิน ๔๐% และฟีนีลอะลานีนแทนด้วยไทโรซีนได้ไม่เกิน ๕๐%
๔. ปริมาณวิตามินอี ที่ต้องการสำหรับไก่ยังไม่มีตัวเลขแน่นอน
๕. ไก่ไข่ต้องการแคลเซียมตามปริมาณการไข่ เช่น ตัวละ ๒ กรัมต่อวันสำหรับการไข่ ๔๐% และตัวละ ๔
กรัมต่อวัน สำหรับการไข่ ๘๐%
๕. ตัวอย่างแบบหนึ่งของการให้อาหารตั้งแต่ไก่เล็กจนไก่ใหญ่ อายุอาทิตย์ ชนิดอาหาร ที่ต้องเสริมพิเศษ
เปลือกหอยหรือหินปูน ๐-๘
๘-๒๐
๘-๒๐
ไก่ไข่ อาหารลูกไก่ โปรตีนไม่ต่ำกว่า ๒๐–๒๒ %
อาหารป่นสำหรับไก่รุ่น โปรตีน ๑๖ %
อาหารป่นกับอาหารหยาบ โดยให้อาหารป่นที่มีโปรตีน ๒๐ %
ตั้งไว้ให้กินตลอดเวลา ส่วนอาหารหยาบใส่รางอาหารหรือ
โปรยลงพื้นคอกมีให้กินได้ตลอดเวลา หรือวันละครั้ง
อาหารป่นล้วน โปรตีน ๑๖–๑๗ % หรืออาหารป่นล้วน โปรตีน
๒๐% ผสมอย่างละครึ่งกับอาหารหยาบ ไม่ต้อง
ไม่ต้อง
ไม่ต้อง
ตั้งไว้ตลอดเวลา
สูตรอาหารสัตว์ปีก ภาควิชาสัตวบาล พ.ศ. ๒๕๒๒
วัตถุดิบ
ไก่ ๑ อายุ ๐-๔ สัปดาห์ ไก่ ๒ อายุ ๔-๘ สัปดาห์ ไก่ ๓ ไก่รุ่น ไก่ไข่ ไก่พันธุ์ ไก่ขุน เป็ดรุ่น เป็ดไข่ ลูกนกกระทา ๐-๔ สัปดาห์ นกกระทาไข่ นกกระทาขุน ห่าน ข้าวโพดปลายข้าว
รำหยาบ
รำละเอียด
กากน้ำตาล
กากถั่วเหลือง
กากเมล็ดนุ่น
ใบกระถินป่น
ปลาป่น
กระดูกป่น
ไดแคลเซียมฟอสเฟต
เปลือกหอยป่น
เกลือ
น้ำมันพืช
วิตามิน + แร่ธาตุ
เมไทโอนีน
รวม (กิโลกรัม) ๔๖.๐
-
-
๑๕.๐
-
๒๒.๐
-
๓.๐
๑๒.๐
๑.๑
-
-
๐.๓๐
-
๐.๕
๐.๑๐
๑๐๐ ๔๘.๐
-
-
๒๐.๐
-
๑๘.๐
-
๓.๐
๙.๐
๑.๑
-
-
๐.๓๕
-
๐.๐๕
๐.๐๕
๑๐๐ ๔๔.๐
-
-
๓๐.๐
-
๘.๐
๕.๐
๔.๕
๕.๐
๑.๕
-
๑.๐
๐.๕
-
๐.๕
-
๑๐๐ ๓๘.๐
-
-
๒๔.๐
๓.๐
๑๒.๐
-
๕.๐
๘.๐
๒.๐
๑.๐
๖.๐
๐.๕
-
๐.๕
-
๑๐๐ ๔๐.๐
-
-
๒๕.๐
-
๑๒.๐
-
๓.๔
๑๐.๐
๓.๕
-
๕.๐
๐.๕
-
๐.๕
๐.๑
๑๐๐ ๗๕.๐
-
-
-
-
๘.๐
๓.๐
๕.๐
๕.๐
๑.๒
-
๒.๐
๐.๓
-
๐.๕
-
๑๐๐ -
๑๐.๐
๖๙.๕
๑๐.๐
-
-
-
๔.๐
-
-
-
๕.๕
-
-
๑.๐
-
๑๐๐ ๒๐.๐
๒๐.๐
๒๙.๕
-
-
๑๒.๐
-
-
๑๒.๑
๑.๘
-
๓.๖
๐.๕
-
๐.๕
-
๑๐๐ ๒๙.๐
๗.๐
-
๘.๐
-
๓๑.๐
-
๓.๕
๑๘.๐
-
๑.๐
-
๐.๕
๑.๐
๑.๐
-
๑๐๐ ๒๙.๐
๘.๐
-
๑๐.๐
-
๒๓.๕
-
๔.๐
๑๖.๐
๑.๐
-
๗.๐
๐.๕
-
๑.๐
-
๑๐๐ ๓๙.๐
๓๙.๐
-
๑๘.๕
-
-
-
-
-
๑.๐
-
-
๐.๕
๒.๐
-
-
๑๐๐ ๔๒.๐
๑๖.๐
-
๒๐.๐
-
-
-
-
๖.๐
๒.๐
-
-
๐.๕
๑.๐
-
-
๑๐๐ เปอร์เซ็นต์โปรตีน
โดยการคำนวณ
๒๒.๖๙
๒๐.๒๕
๑๖.๒๙
๑๗.๑๙
๑๘.๐๗
๑๕.๒๕
๑๐.๒๕
๑๗.๙๔
๒๖.๙๗
๒๔.๐๑
๙.๒๔
๑๕.๗๑
สูตรวิตามินและแร่ธาตุผสมยา สำหรับผสมอาหาร ๑๐๐ กก.
ชนิด
ลูกไก่เล็ก
(กรัม)
ไก่รุ่น
(กรัม)
ไก่ขุน
(กรัม)
ไก่ไข่
(กรัม)
ไก่ผสมพันธุ์
(กรัม)
บี ๑ (ไทอามินไฮโดรคลอไรด์)
บี ๒ (ไรโบฟลาวิน)
ไนอาซิน
แพนโทเทนิก
บี ๑๒
โคลีนคลอไรด์ (๕๐%)
อี ๒๕
ซี
เค
เอ อะซิเตต
๕.๐
๒.๐
๖.๐
๕.๐
๓.๐
๒.๐
๑๒๕.๐
๑๐.๐
๓๐.๐
๒.๐
-
๓.๐
-
๒.๐
๓.๐
๑.๐
-
๑๐๐.๐
๕.๐
-
๑.๐
-
๒.๐
๑.๐
๒.๐
๒.๐
๑.๐
-
๕๗.๕
๕.๐
-
-
-
๓.๐
-
๒.๐
๓.๐
๑.๐
๑.๕
๑๐๐.๐
๘.๐
๓๐.๐
-
-
๔.๐
๓.๐
๘.๐
๔.๐
๓.๐
๘.๐
๑๕๐.๐
๘.๐
๓๐.๐
๒.๐
-
ซิงค์ออกไซด์
เหล็กซัลเฟต
คอพเพอร์ซัลเฟต
โคบอลต์ซัลเฟต
โพแทสเซียมไอโอไดด์ ๒๒.๐
๘.๐
๑๕.๐
๑๐.๐
๑.๐
๒.๐ ๑๕.๐
๕.๐
๑๐.๐
๕.๐
-
๑.๐ ๑๒.๐
๕.๐
๘.๐
๑.๐
-
๑.๐ ๒๐.๐
๘.๐
๑๕.๐
๑.๐
-
๑.๐ ๒๐.๐
๘.๐
๑๐.๐
๕.๐
๑.๐
๑.๐ รวมแร่ธาตุ ๕๘.๐ ๓๖.๐ ๒๗.๐ ๔๕.๐ ๔๕.๐ ยาผสม
เปลือกหอยป่น
กากถั่วเหลือง ๗๐.๐
๗๒.๐
๑๑๐.๐ ๖๐.๐
๑๐๔.๐
๑๘๕.๐ ๙.๐
๗๓.๐
๓๒๐.๕ ๒๐.๐
๕๕.๐
๒๓๑.๕ ๑๕๕.๐
-
๘๐.๐ รวมอื่น ๆ ๒๕๒.๐ ๓๔๙.๐ ๔๐๒.๕ ๓๐๖.๕ ๒๓๕.๐ รวม ๕๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐
ตารางความต้องการโภชนะในอาหารผสมในอายุ / จุดประสงค์ต่างๆ
จำนวนพลังงานที่ควรจะให้มีอยู่ในอาหาร ย่อมขึ้นอยู่กับเปอร์เซ็นต์โปรตีน ชนิดสัตว์ อายุ และประโยชน์ที่จะได้จากสัตว์นั้นๆ ดังตารางต่อไปนี้
อาหารสำหรับ โปรตีน พลังงานใช้ประโยชน์
กิโลแคลอรี / กก. เรโช แคลอรี / โปรตีน
เทียบจาก กก. ไก่
ลูกไก่
ไก่รุ่น
ไก่ไข่ (ปล่อยเล้า)
ไก่ไข่ (ขังกรงตับ)
ไก่พันธุ์
ไก่กระทง ๐-๕ อ.
๖–๑๐ อ.
ไก่งวง
ลูกไก่ ๐-๔ อ.
ไก่รุ่น ๕-๘ อ.
๙–๑๖ อ.
๑๗–๒๒ อ.
ไก่กระทงระยะปลาย
(หลัง ๒๓ อ.)
ไก่พันธุ์นอกฤดูผสมพันธุ์
ไก่พันธุ์ในฤดูผสสมพันธุ์
ห่าน
๐-๓ อ.
๔ อ. ขึ้นไป
ห่านพันธุ์
เป็ด
ลูกเป็ด ๒ อ.
เป็ดรุ่น ๓ อ. ขึ้นไป
เป็ดพันธุ์
๒๑
๑๖
๑๖
๑๖
๑๖
๒๔
๒๐
๒๘
๒๕
๒๐
๑๗
๑๔
๑๕
๑๖
๑๙
๑๔
๑๐
๑๘
๑๖
๑๖
๓๐๐๐
๓๑๐๐
๓๑๐๐
๓๒๕๐
๓๐๐๐
๓๑๐๐
๓๒๐๐
๒๗๐๐
๒๕๐๐
๓๐๐๐
๓๑๐๐
๓๒๕๐
๒๕๕๐
๓๐๐๐
๓๐๕๐
๓๑๕๐
๒๘๐๐
๒๘๕๐
๓๐๕๐
๒๙๐๐
๑๔๐
๑๗๘
๒๐๐
๑๙๑
๑๘๙
๑๓๐
๑๖๓
๙๕
๑๐๘
๑๔๗
๑๗๖
๒๔๐
๑๗๖
๑๘๓
๑๕๔
๒๐๐
๑๗๘
๑๕๖
๑๗๘
๑๘๐