ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

เครื่องทอ, เครื่องทอ หมายถึง, เครื่องทอ คือ, เครื่องทอ ความหมาย, เครื่องทอ คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
เครื่องทอ

          เป็นหัตถกรรมพื้นบ้าน มีอยู่ ๒ ชนิด คือ ทอเสื่อ และทอผ้าซึ่งมีความแตกต่างกันที่วัสดุเท่านั้น ส่วนกรรมวิธีการทำนั้นคล้ายคลึงกันมาก ยกเว้นในการทอเสื่อนั้นไม่สามารถจะทอคนเดียวได้ ต้องมีคนอีกคนหนึ่งคอยทำหน้าที่ส่งต้นกกให้คนทอ วัสดุที่ใช้ทอเสื่อกันเป็นส่วนใหญ่ คือ ต้นกกเหลี่ยม และต้นกกกลม เพราะเป็นพืชที่ขึ้นได้ง่าย เสื่อกกนี้นิยมทำกันทุกภาคแต่ที่ทำกันมากที่สุด คือที่จังหวัดจันทบุรี ตราด ปราจีนบุรี และฉะเชิงเทรา หูกทอเสื่อมีลักษณะคล้ายกับหูกทอผ้า แต่เตี้ยกว่ากันมากจนคนทอไม่ต้องนั่งม้าทอ แต่ต้องขึ้นไปนั่งอยู่บนหูกเลย การทอไม่สะดวกเท่าทอผ้า หูกอันหนึ่งๆ เขาทำเชือกขวางกลางเป็นโครงยาวพอที่จะทอเสื่อได้ ๑ คู่หรือ ๒ ผืน การวัดขนาดวัดกันตามความกว้างเป็นคืบ  ขนาดเล็กกว่าสี่คืบ ขนาดใหญ่กว้างแปดคืบ ชนิดของเสื่อจะดีหรือไม่ดีนั้นขึ้นอยู่กับคุณภาพของกกว่ามีเส้นละเอียดเท่ากันหรือไม่ ตามธรรมดาเมื่อชาวนาเก็บเกี่ยวข้าวกันเสร็จแล้วก็จะเริ่มปลูกต้นกกกันต่อไป กกที่ตัดแล้วนำมาขายนั้นยังใช้ทอเสื่อไม่ได้ ต้องนำมาแช่น้ำเสียก่อนหนึ่งคืน ต่อจากนั้นก็เอาไปย้อมสี ผึ่งแดดหรือผึ่งลมให้แห้งแล้วจึงเอาไปทอได้เลย
          ส่วนผ้านั้นในงานหัตถกรรมพื้นบ้านโดยทั่วไป มีอยู่สองลักษณะคือ ผ้าพื้นและผ้าลาย ผ้าพื้นได้แก่ ผ้าที่ทอเป็นสีพื้นธรรมดาไม่มีลวดลาย ใช้สีตามความนิยม ในสมัยโบราณสีที่นิยมทอกัน คือ สีน้ำเงิน สีกรมท่าและสีเทา ส่วนผ้าลายนั้นเป็นผ้าที่มีการประดิษฐ์ลวดลายหรือดอกดวงเพิ่มขึ้นเพื่อความงดงาม มีชื่อเรียกเฉพาะตามวิธี เช่น ถ้าใช้ทอ (เป็นลายหรือดอก) ก็เรียกว่าผ้ายก ถ้าทอด้วยเส้นด้ายคนละสีกับสีพื้น เป็นลายขวางและตาหมากรุกเรียกว่า ลายตาโถง ถ้าใช้เขียนหรือพิมพ์จากแท่งแม่พิมพ์โดยใช้มือกด ก็เรียกว่า ผ้าพิมพ์หรือผ้าลายอย่าง ซึ่งเป็นผ้าพิมพ์ลายที่คนไทยเขียนลวดลายเป็นตัวอย่างส่งไปพิมพ์ที่ต่างประเทศ เช่น อินเดีย
          ผ้าเขียนลายส่วนมากเขียนลายทอง แต่เดิมชาวบ้านรู้จักทอแต่ผ้าพื้น (คือผ้าทอพื้นเรียบไม่ยกดอกและมีลวดลาย) ส่วนผ้าลาย (หรือผ้ายก) นั้นเพิ่งมารู้จักทำขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นหรือสมัยอยุธยาตอนปลาย สันนิษฐานว่าได้แบบอย่างการทอมาจากแขกเมืองไทรบุรี ซึ่งถูกเจ้าเมืองนครกวาดต้อนมา เมื่อครั้งที่เมืองไทรบุรีคิดขบถประมาณ พ.ศ. ๒๓๕๔ อย่างไรก็ตาม ผ้าทั้งสองประเภทนี้ใช้วิธีการทอด้วยกันทั้งสิ้น วัสดุที่นิยมนำมาใช้ทอ คือ ฝ้าย ไหมและขนสัตว์ (แต่ส่วนมากจะใช้ฝ้ายและไหม) ชาวบ้านจะปลูกฝ้ายเป็นพืชไร่และเลี้ยงไหมกัน ฤดูที่ปลูกฝ้ายกัน คือ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนพฤศจิกายน ซึ่งกินเวลาถึง ๖ เดือน ต้นฝ้ายจึงจะแก่ เมื่อเก็บฝ้ายมาแล้วจึงนำมาปั่นและกรอให้เป็นเส้นม้วนเป็นหลอด เพื่อที่จะนำไปเข้าหูกสำหรับทอต่อไป  ชาวบ้านรู้จักทอผ้าขึ้นใช้เอง หรือสำหรับแลกเปลี่ยนกับเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็นจะต้องใช้ภายในครอบครัว การทอนี้มีมาแต่โบราณกาลแล้ว ไม่มีใครทราบว่ามีมาแต่เมื่อไรและได้แบบอย่างมาจากใคร ถ้าจะพิจารณาดูตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์แล้ว ในสมัยศรีวิชัย (ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓) ชาวบ้านคงรู้จักการทอผ้าแล้วเพราะว่าในสมัยนั้นเป็นสมัยที่ได้มีการติดต่อการค้าและรับเอาศิลปะและวัฒนธรรมมาจากชนชาติที่เจริญกว่า เช่น จีน อินเดีย อาหรับและเปอร์เซีย ชนต่างชาติดังกล่าวคงได้มาถ่ายทอดไว้
          การทอผ้านี้มีอยู่ในทุกภาคของประเทศ หลักการและวิธีการนั้นคล้ายคลึงกันทั้งหมด แต่อาจมีข้อปลีกย่อยแตกต่างกันบ้าง การทอนี้ทำด้วยมือโดยตลอดใช้เครื่องมือเครื่องใช้แบบง่ายๆ ซึ่งต้องอาศัยความชำนาญและความประณีต นับตั้งแต่การเตรียมเส้น การย้อมสี และการทอเป็นผืน เครื่องมือทอผ้าเรียกว่า "กี่" มี ๒ ชนิด คือ กี่ยกกับกี่ฝัง กี่ยกเป็นเครื่องมือที่ยกเคลื่อนที่ได้ ใช้ตั้งบนพื้น ถอดและประกอบได้ง่าย ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง มีขนาดเท่ากับกี่ฝัง แต่ทำตั้งสูงกว่าเพื่อให้เท้าถีบกระตุกด้ายในเวลาทอผ้าสะดวกไม่ติดพื้น ส่วนกี่ฝังคือเครื่องทอผ้าที่ใช้เสาปักฝังลงดินยึดอยู่กับที่ เคลื่อนย้ายไม่ได้ สร้างกันไว้ตามใต้ถุนบ้าน เป็นเครื่องทอผ้าชนิดที่นิยมใช้กันมาก
         การทอผ้าที่ชาวบ้านทำกันนั้นต้องอาศัยความจำและความชำนาญเป็นหลัก เพราะไม่มีเขียนบอกไว้เป็นตำรา นอกจากนี้แล้วยังพยายามรักษารูปแบบและวิธีการเอาไว้อย่างเคร่งครัด จึงนับว่าเป็นการอนุรักษ์ศิลปกรรมแขนงนี้ไว้อีกด้วย

         ผ้าพื้นบ้านที่นิยมใช้กันมี ๒ ประเภท คือ






          เช่น ทำบุญ ฟ้อนรำ แต่งงานหรือเทศกาลต่างๆ ในสังคมไทย สมัยก่อนถือว่าการทอผ้าเป็นงานของผู้หญิง เพราะต้องใช้ความประณีตและละเอียดอ่อน ใช้เวลานานกว่าจะทอผ้าชนิดนี้เสร็จแต่ละผืน ผู้หญิงซึ่งในสมัยนั้นต้องอยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือนอยู่แล้ว จึงมีโอกาสทอผ้ามากกว่าผู้ชาย อีกประการหนึ่ง ค่านิยมของสมัยนั้นยกย่องผู้หญิงที่ทอผ้าเก่ง เพราะเมื่อโตเป็นสาวแล้วจะต้องแต่งงานมีครอบครัวไปนั้น ผู้หญิงจะต้องเตรียมผ้าผ่อนสำหรับออกเรือน ถ้าผู้หญิงคนใดทอผ้าไม่เป็นหรือไม่เก่งก็จะถูกตำหนิ ชายหนุ่มจะไม่สนใจ เพราะถือว่าไม่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมจะเป็นแม่บ้าน เมื่อมีงานเทศกาลสำคัญต่างๆ ชาวบ้านจะพากันแต่งตัวด้วยผ้าทอเป็นพิเศษไปอวดประชันกัน ผ้าชนิดนี้จะทอขึ้นด้วยฝีมือประณีตเช่นเดียวกัน มีสีสัน และลวดลาย ดอกดวงงดงามเป็นพิเศษ ผ้าบางผืนจะทอกันเป็นเวลาแรมปีด้วยใจรักและศรัทธา เช่น ผ้าลายจก ผ้าตีนจก ผ้าตาด ผ้ายก และผ้าปูม เป็นต้น
          ดังกล่าวแล้วว่าการทอผ้านั้นมีอยู่ทุกภาคของประเทศ แต่ละภาคจะมีจังหวัดที่มีความเด่นเป็นพิเศษในการทอผ้า คือ
          ภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดลำพูน จังหวัดเชียงใหม่
          ภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดกรุงเทพฯ จังหวัดสระบุรี จังหวัดชลบุรี จังหวัดราชบุรี
          ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดอุดรธานี จังหวัดหนองคาย จังหวัดขอนแก่น
          ภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดสงขลา

          ในเรื่องของผ้าที่ใช้ในการแต่งงานนั้น เรียกว่า ผ้าไหว้ ซึ่งเป็นผ้าของฝ่ายชายที่นำไปมอบให้แก่ญาติผู้ใหญ่ของฝ่ายหญิงในวันแต่งงานตามแต่จะตกลงกันว่ากี่ชุดเพื่อเป็นการแสดงความเคารพและฝากตัวในการที่ฝ่ายชายเข้ามาอยู่ร่วมกับสกุลหรือญาติวงศ์ของฝ่ายหญิง นอกจากนี้แล้วยังใช้สำหรับไหว้ผีบรรพชนของฝ่ายหญิงอีกด้วย

เครื่องทอ, เครื่องทอ หมายถึง, เครื่องทอ คือ, เครื่องทอ ความหมาย, เครื่องทอ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 13

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu