ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

การทำยางแท่ง, การทำยางแท่ง หมายถึง, การทำยางแท่ง คือ, การทำยางแท่ง ความหมาย, การทำยางแท่ง คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
การทำยางแท่ง

          การผลิตยางแท่งทำได้ง่ายและเร็วกว่าการทำยางแผ่นรมควันหรือยางเครพมาก หลักสำคัญของกรรมวิธีที่เปลี่ยนไปจากเดิม คือ แทนที่จะทำเป็นแผ่นใหญ่ ๆ  ได้เปลี่ยนเป็นย่อยยางให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ เสียก่อน การรมควันใช้ความร้อนเพียง  ๖๐  องศาเซลเซียส ใช้เวลา ๕-๑๐ วัน เปลี่ยนเป็นอบความร้อนให้แห้งด้วยความร้อน  ๑๐๐-๑๑๐ องศาเซลเซียส แล้วจึงอัดเป็นแท่ง ใช้เวลาเพียง ๔-๕ ชั่วโมงก็เสร็จ ตามกรรมวิธีเป็นขั้น ๆ ต่อไปนี้
          ๑. เมื่อได้น้ำยางสดมาจากสวนและกรองให้สะอาดแล้ว จะใส่น้ำกรดฟอร์มิกเพื่อให้ยางแข็งตัว  การทำยางแข็งตัว อาจจะลดน้ำกรดและใช้น้ำตาล  ๐.๐๔% ของเนื้อยางแห้งช่วยด้วย หรือใช้น้ำตาลอย่างเดียว ๐.๐๕% ของเนื้อยางแห้งก็ได้ เพื่อประโยชน์ในทางคุณสมบัติของยาง และเพื่อให้ยางจับตัวเป็นก้อนไม่แน่นเกินไป จะมีรูเล็ก ๆ พรุนอยู่ทั่วไป ซึ่งจะช่วยให้ยางแห้งเร็วขึ้นเมื่ออบความร้อน
          ๒. ยางจะแข็งตัวภายในเวลา  ๒ - ๓  ชั่วโมง  นำเข้าเครื่องย่อยเพื่อฉีกหรือตัดยางออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ  แบน ๆ ชิ้นหนึ่งจะมีขนาดประมาณปลายนิ้วก้อย เครื่องย่อยดังกล่าวนี้มีชื่อเรียกต่างๆ  กัน  เช่น  กรานูเลเทอร์  (granulator) หรือ  โรทารีคัตเทอร์ (rotary cutter) หรือใช้ย่อยยางที่แข็งตัวมานานแล้ว ซึ่งมีความเหนียวมากกว่ายางที่แข็งตัวใหม่ ๆ  ยางที่แข็งตัวมานานแล้ว ใช้ทำยางแท่งได้ทำนองเดียวกับยางที่ได้มาจากสวนใหม่ ๆ  โดยใช้เครื่องย่อยที่ทำงานหนัก เช่น  เครื่องย่อยที่เรียกว่า แฮมเมอร์มิลล์  (hammermill)  ก็ได้  หรือถ้าย่อยโดยผ่านเครื่องย่อยดังกล่าวข้างต้นแล้ว เช่น  ผ่านเครื่องใดเครื่องหนึ่งใน ๒ เครื่องแรกแล้ว ต้องการย่อยให้เล็กลงอีก  ขนาดเม็ดเท่าหัวไม้ขีดไฟ จะผ่านเครื่องย่อยที่เรียกว่า เพลลิทิเซอร์ (peletiser) อีกครั้งหนึ่งก็ได้
          ๓. ยางที่ถูกย่อยเป็นชิ้นเล็กๆ  แล้วนี้  จะไหลลงกระบะขอบสูง ๆ คล้ายกล่อง  ทำด้วยโลหะ หรือจะปล่อยลงในน้ำเพื่อล้างอีกครั้งหนึ่ง แล้วจึงกอบใส่กระบะก็ได้ กระบะหนึ่ง ๆ ใส่ยางย่อยไม่เกินครึ่งกระบะ มีน้ำหนักยางกระบะละประมาณ  ๓๔-๓๕  กิโลกรัม  แล้วจึงนำกระบะดังกล่าวนี้เข้าอบความร้อนในเตาอบ ซึ่งมีรูปร่างคล้ายอุโมงค์ กว้างประมาณ ๒ เมตร สูง  ๑  เมตร  และยาวประมาณ ๘-๙ เมตร มีประตูปิดเปิดได้ทั้งทางหัวทางท้ายของความยาว ทุก ๆ กระบะจะเข้าทางต้น ทางแล้วจะออกอีกทางหนึ่ง จะอยู่ในเตาอบซึ่งมีความร้อนระหว่าง  ๑๐๐-๑๑๐ องศาเซลเซียส เป็นเวลา ๓ ๑๒  - ๔
ชั่วโมง จะสุกเร็วหรือช้าเพียงใดแล้วแต่ชนิดของยาง ยางที่สุกแล้วจะเห็นเนื้อยางใสและมีสีน้ำตาลอ่อน ๆ  ไม่ขาวเหมือนเมื่อตอนจะเอาเข้าอบ
          ๔. เมื่อยางสุกแล้ว  จะปล่อยให้เย็นลงเหลือประมาณ  ๕๐ - ๖๐ องศาเซลเซียส พอจะหยิบยกเอามาชั่งได้ จะชั่งให้ได้ประมาณ ๓๔ กิโลกรัมหรือ ๗๕ ปอนด์ แล้วนำเข้าอัดเป็นแท่ง เป็นเวลา ๑ นาที ในเครื่องอัดซึ่งมีแรงอัด ๑๐๐ ตัน ยางย่อยจะถูกอัดเป็นแท่งคล้ายแผ่นอิฐ  มีขนาด  ๓๕.๕ x ๗๐ x  ๑๖.๕   เซนติเมตร   (๑๔  x  ๒๘  x  ๖ ๑๒  นิ้ว) แล้วจึงห่อด้วยถุงพลาสติกขนาดบาง ๐.๐๔   มิลลิเมตร ถ้าส่งต่างประเทศ จะบรรจุในลังไม้โปร่ง ขนาดวัดภายนอกได้ประมาณ ๑๒๒ x ๑๐๒ x ๑๑๒  เซนติเมตร  (๔๘ x ๔๐ x ๔๔ นิ้ว)  จะบรรจุได้ ๓๐  แท่ง เป็นจำนวนน้ำหนักประมาณ ๑ ตัน เกี่ยวกับขนาด ของแท่งยางก็ดี น้ำหนักยางก็ดี หรือลังโปร่งที่จะใช้บรรจุก็ดี อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ เพราะเรื่องดังกล่าวนี้ เป็นเรื่องที่กำหนดกันขึ้นเอง ยังมิได้ตกลงกันเป็นมาตรฐานสากลแน่นอน
          ๕. ยางที่จะส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศ จะต้องส่งตัวอย่างไปยังสถาบันที่มีเครื่องตรวจลักษณะและคุณสมบัติของยาง เช่น ที่ศูนย์วิจัยการยาง อำเภอหาดใหญ่ หรือที่กองการยาง กรมวิชาการเกษตร  เพื่อตรวจรับรองเสียก่อน จะได้แจ้งให้ผู้ซื้อทราบได้แน่นอนต่อไป
          กรรมวิธีทำยางแท่งตามที่กล่าวมานี้ ในปัจจุบันนี้  ได้รับความนิยมจากผู้ใช้ยางทุกประเทศแล้ว เพื่อเป็นการสรุปการผลิตยางออกจำหน่ายจึงขอสรุปกรรมวิธีการผลิตยางแท่ง ยางแผ่นรมควัน และยางเครพจากยางที่แข็งตัวแล้ว ตามลำดับขั้นของการทำงานดังนี้

          สรุปกรรมวิธีการผลิตยาง

ยางแท่งจากน้ำยางหรือยางที่แข็งตัวแล้ว

ยางแผ่นรมควัน

ยางเครพจากยางที่แข็งตัวแล้ว

๑. เก็บน้ำยางกรองรวมลงถังผสม

๒. ทำให้ยางแข็งตัว

๓. นำเข้าเครื่องย่อยอย่างหยาบและ/หรือเครื่องย่อยเม็ดเล็ก
๔. อบให้แห้ง (ใช้เวลา ๔-๕ ชั่วโมง)
๕. ชั่งและอัดให้เป็นแท่ง

๖. บรรจุลังโปร่ง
-

๑. เก็บน้ำยางกรองผสมน้ำ
นำลงถังผสม
๒. ทำให้ยางแข็งตัว

๓. รีดให้เป็นแผ่น

๔. แช่น้ำ-ผึ่ง

๕. รมควัน (ใช้เวลา ๕–๑๐ วัน)
๖. คัดเลือกแยกชั้นยาง
๗. ชั่งและทำห่อ ๑. แยกขี้ยางและเศษยางนำลงแช่น้ำ
๒. นำเข้าเครื่องจักรล้างสิ่งสกปรกออก
๓. เข้าเครื่องรีดยางเครพ

๔. ผึ่งลมในร่ม (ใช้เวลา ๑๕–๓๐  วัน)
๕. คัดเลือกแยกชั้นยาง

๖. ชั่งและเข้าเครื่องอัดทำห่อ
-  
(ดูเพิ่มเติม เรื่อง ผลิตผลป่าไม้)

การทำยางแท่ง, การทำยางแท่ง หมายถึง, การทำยางแท่ง คือ, การทำยางแท่ง ความหมาย, การทำยางแท่ง คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 3

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu