ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

วัวไทย, วัวไทย หมายถึง, วัวไทย คือ, วัวไทย ความหมาย, วัวไทย คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
วัวไทย

          วัวไทย  หมายถึง วัวที่มีพื้นเพกำเนิดในประเทศไทย  มีเลี้ยงกันกระจายทั่วไปในภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย ตารางที่ ๔ แสดงจำนวนวัวที่เลี้ยงกันในภาคต่าง ๆ จะเห็นได้ว่า โดยทั่วไปวัวเพศเมียมีมากกว่าเพศผู้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพราะวัวใช้งานโดยทั่วไปเป็นวัวตัวผู้  ซึ่งได้รับการตอนแล้ว

          ตารางที่ ๔  จำนวนวัวในภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย  พ.ศ. ๒๕๒๑

สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี

          วัวไทยเป็นวัวขนาดเล็ก เมื่อเทียบกับวัวพันธุ์อื่น ตัวผู้โตเต็มที่มีน้ำหนักโดยเฉลี่ย  ๓๐๐-๓๕๐  กิโลกรัม ตัวเมียโตเต็มที่มีน้ำหนักเฉลี่ย ๒๐๐-๒๕๐  กิโลกรัม วัวไทยมีกระดูกเล็บบอบบาง  ใบหน้ายาว  หน้าผากแคบ  ตาขนาดปานกลาง ขนตามใบหน้าสั้นเกรียน จมูกแคบ ใบหูเล็กกะทัดรัด ปลายหูเรียวแหลม  โดยทั่วไปมีเขาสั้นถึงยาวปานกลาง  ตั้งแต่  ๑๕-๔๕  เซนติเมตร ตัวเมียมักมีเขาสั้นหรือไม่มีเขา เขามีลักษณะ ตั้งขึ้นโง้งงุ้มเข้าหากัน และยื่นไปข้างหน้าเล็กน้อย  ลำคอบอบบาง ใต้คอมีเหนียงคอเป็นแถบลงไปถึงอกส่วนต่อระหว่างคอและไหล่มองเห็นได้ชัด   เหนือไหล่ของวัวตัวผู้มีก้อนเนื้อ  เรียกว่า โหนกหรือหนอก สันหลังลาดขึ้นจากโหนกไปสู่บั้นเอว แล้วลาดลงตามบั้นท้ายไปสู่โคนหาง  ขายาว รูปร่างค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับวัวเนื้อพันธุ์ยุโรป พื้นท้องจากส่วนหน้าคอดกิ่วไปสู่ส่วนหลัง วัวตัวเมียมีเต้านมเล็กเป็นรูปฝาชี ให้นมน้อย
          วัวไทยมีขนสั้นเกรียนทั่วตัว  ขนมีสีต่าง ๆ ตั้งแต่  สีดำ สีน้ำตาล สีน้ำตาลอ่อน สีฟาง สีเทาไปจนถึงสีลาย  สีที่พบเห็นบ่อย ๆ คือ สีน้ำตาลอ่อน และสีดำ ขนใต้ท้อง และซอกขามักมีสีจางกว่าส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย
          โดยทั่วไป วัวไทยมีนิสัยขี้ตื่น ปราดเปรียวกว่าวัวพันธุ์อื่น แต่ถ้าเลี้ยงดูอย่างใกล้ชิด  อาจเชื่องมากเหมือนกัน แม่วัวไทยเลี้ยงลูกดีแต่ให้นมน้อย เวลาคลอดใหม่ ๆ มักหวงลูกมาก และอาจมีนิสัยดุร้ายกับสุนัขหรือคนที่ไม่รู้จัก
          ลูกวัวไทยแรกเกิดมีน้ำหนักประมาณ ๑๔-๑๕  กิโลกรัม ลูกวัวตัวผู้โตกว่าลูกวัวตัวเมีย รายละเอียดเกี่ยวกับน้ำหนักและขนาดลูกวัวไทย ได้แสดงไว้ในตารางที่ ๕

          ตารางที่  ๕๑  น้ำหนักและขนาดของลูกวัวไทยแรกเกิด


๑ วิทยานิพนธ์ปริญญาตรี โดย ประมวล ทับธง พ.ศ. ๒๕๐๗ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

          โดยทั่วไป ลูกวัวจะดูดนมแม่จนถึงอายุ  ๘  เดือน จึงจะถูกแยกฝูง เพราะ แม่ให้นมน้อยหรือหยุดให้นม และลูกวัวเริ่มรู้จักหาหญ้ากินเอง หากปล่อยลูกวัวไว้กับแม่  ลูกวัวตัวผู้ที่มีขนาดใหญ่โต อาจผสมพันธุ์กับแม่ของตัวเอง  ทำให้ได้ลูกขนาดเล็กและอ่อนแอ หรืออาจผสมกับลูกวัวสาว อายุยังไม่เต็มวัย อาจเกิดผลเสียได้เช่นกัน
          ลูกวัวที่ถูกแยกจากแม่เมื่ออายุประมาณ  ๘  เดือน เรียกว่า  ลูกวัวหย่านม  น้ำหนักของลูกวัวหย่านมเฉลี่ยประมาณ ๑๑๒ กิโลกรัม ขนาดโดยละเอียดแสดงไว้ในตารางที่ ๖

          ตารางที่ ๖๑  น้ำหนักและขนาดของลูกวัวไทยเมื่อหย่านม

          หลังหย่านมแล้ว ลูกวัวไทยหาหญ้ากินเองในทุ่งลูกวัวหลังหย่านมจนถึงอายุ  ๑-๒  ปี  จะเติบโตประมาณวันละ  ๒๐๐-๓๐๐  กรัม ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของทุ่งหญ้า วัวไทยจะโตเต็มที่เมื่ออายุ ๔-๕ ปี ในตารางที่ ๗  แสดงน้ำหนักและขนาดของแม่วัวไทย

          ตารางที่ ๗๓ น้ำหนักและขนาดแม่วัวไทย

          วัวไทยมีอุณหภูมิปกติของร่างกาย ๑๐๒-๑๐๒.๕  องศาฟาห์เรนไฮต์ (ประมาณ  ๓๘.๙ องศาเซลเซียส)  หายใจนาทีละประมาณ ๒๕-๓๐ ครั้งในอาการปกติ  เลือดวัวไทยมีปริมาณ เฮโมโกลบิน ๑๐-๑๑ มิลลิกรัม/ซีซี และปริมาณเฮมาโทคริต ประมาณ ๔๐-๔๓ เปอร์เซ็นต์  
          วัวไทยตัวผู้ใช้ผสมพันธุ์ได้ดีเมื่ออายุ  ๓-๓ ๑ ๒ปี  ส่วนตัวเมียใช้ผสมพันธุ์เมื่ออายุ  ๒ ๑๒ - ๓ ปี ทั้งนี้อาจผสมพันธุ์ได้เร็วขึ้น หากได้รับการเลี้ยงดูและอาหารดี  วัวตัวผู้หนึ่งตัวใช้คุมฝูงผสมพันธุ์กับตัวเมียได้  ๓๐-๔๐   ตัว  ต่อฤดูกาลผสมพันธุ์อาจใช้ตัวผู้ผสมกับตัวเมียจำนวนมากกว่านั้น  แต่ต้องบำรุงรักษาตัวผู้พ่อพันธุ์อย่างดี หรือใช้การผสมพันธุ์วิธีพิเศษ
          วัวตัวเมียจะตกไข่ ๒๑ วัน / ๑ ครั้ง เมื่อตกไข่แม่วัวจะมีอาการเป็นสัด  และยอมให้พ่อวัวขึ้นทับเพื่อผสมพันธุ์ แม่วัวตั้งท้องนานโดยเฉลี่ย ๒๘๓ วัน ถ้าให้อาหารคุณภาพดีและเลี้ยงดูใกล้ชิด  แม่วัวอาจให้ลูกปีละตัวได้ แต่โดยทั่วไปวัวในหมู่บ้านจะให้ลูก ๒ ตัว/ ๓ ปี โดยให้ลูกเพียงคราวละตัว นาน ๆ จึงจะพบว่า แม่วัวมีลูกแฝด
          วัวไทยที่ฆ่าแล้วจะมีน้ำหนักซากประมาณ  ๔๕- ๕๐ เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักก่อนฆ่า ตารางที่ ๘ แสดงรายละเอียดของน้ำหนักอวัยวะภายในของวัวไทยที่มีน้ำหนักประมาณ ๑๕๐-๒๐๐ กิโลกรัมเมื่อก่อนฆ่า

          ตารางที่ ๘  น้ำหนักอวัยวะภายในคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัววัวไทย

วัวไทย, วัวไทย หมายถึง, วัวไทย คือ, วัวไทย ความหมาย, วัวไทย คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 3

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu