ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

การปรุงแต่งรสชาติและกลิ่นของอาหาร, การปรุงแต่งรสชาติและกลิ่นของอาหาร หมายถึง, การปรุงแต่งรสชาติและกลิ่นของอาหาร คือ, การปรุงแต่งรสชาติและกลิ่นของอาหาร ความหมาย, การปรุงแต่งรสชาติและกลิ่นของอาหาร คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
การปรุงแต่งรสชาติและกลิ่นของอาหาร

          การปรุงแต่งอาหารด้วยเครื่องปรุงบางชนิดทำให้รสชาติของอาหารเปลี่ยนไปได้ หรือการเสริมเครื่องปรุงบางชนิดในอาหารก็ทำให้อาหารเหล่านั้นรสดีขึ้นได้เช่นกัน อาหารไทยมีคุณสมบัติพิเศษที่สามารถปรุงแต่งรสชาติ กลิ่น สีให้ชวนรับประทานได้มาก ตัวอย่างเช่น

          การทำอาหารคาว เช่น น้ำพริกเผา ต้องเผาเครื่องปรุงทุกชนิดให้สุกเสียก่อน (ปัจจุบันใช้ทอด) จึงนำมาปรุงได้  น้ำพริกปลาร้า ต้องเผาหอม กระเทียม พริกอ่อน เช่นกัน แม้กระทั่งการทำน้ำพริกกะปิก็นิยมเผากะปิให้หอมเสียก่อนจึงนำไปปรุง เป็นต้น

          การทำอาหารหวาน มีการเสริมรสให้เด่นขึ้น โดยนำไปอบให้หอม การอบอาหารให้หอมมี ๒ วิธี คือ การอบแห้ง และการอบน้ำ
          ๑. การอบแห้ง ได้แก่ การนำดอกมะลิสด กุหลาบสด หรือดอกกระดังงาลนไฟใส่ลงในภาชนะที่บรรจุขนมที่ทำสุกแล้ว  ปิดฝาให้สนิท หรืออบด้วยควันเทียน โดยจุดเทียนอบให้ติดสักครู่แล้วดับเทียน เทียนที่ดับแล้วจะมีควันคลุ้งอยู่ นำเทียนที่มีควันคลุ้งใส่ลงในภาชนะที่บรรจุขนม อบไว้ ๑ คืน ขนมที่นิยมอบด้วยดอกไม้สดหรือควันเทียน ได้แก่ ขนมกลีบลำดวน ข้าวตู เป็นต้น
          ๒. การอบน้ำ ต้องใช้น้ำสะอาดใส่ลงในภาชนะ นำดอกมะลิหรือกุหลาบสด ใส่ลงไปให้มีที่ว่างพอสมควร  ปิดฝาทิ้งไว้  ๑  คืน รุ่งเช้าจึงหยิบดอกไม้ออก น้ำที่อบใช้ทำขนมต่างๆ ได้แก่ ถั่วกวน ขนมชั้น หรือน้ำเชื่อม ทำให้มีกลิ่นหอม น่ารับประทาน

          พืชบางชนิด เช่น ใบเตย ดอกอัญชัน เปลือกมะพร้าวเผา เป็นต้น สามารถนำมาคั้น หรือแช่น้ำใช้ใส่ขนม เพื่อช่วยให้มีสีสวยงามและมีกลิ่นหอม

          นอกจากนี้ ยังมีสิ่งสำคัญอีกชนิดหนึ่งที่ช่วยเพิ่มความสวยงาม ทำให้อาหารมีรูปทรงน่ารับประทานยิ่งขึ้น สิ่งนั้นคือ น้ำปูนใส
          อาหารคาวบางชนิดที่ประกอบขึ้นจากการชุบแป้ง เช่น กุ้งชุบแป้งทอด ไก่ทอด หรือ ผักชุบแป้งทอด หากใช้น้ำปูนใสผสมลงในแป้งเมื่อทอดแล้วจะทำให้อาหารชนิดนี้น่ารับประทานและกรอบอร่อย
          อาหารหวานหลายชนิดที่ปรุงขึ้นจากแป้ง เช่น ขนมเปียกปูน ลอดช่อง เมื่อผสมด้วยน้ำปูนใส จะทำให้มีกลิ่นหอม ขนมบางชนิด เช่น กล้วยเชื่อม มันเชื่อม ฯลฯ ถ้าแช่ด้วยน้ำปูนใสจะทำให้ชิ้นขนมคงรูปหรือแม้กระทั่งของรับประทานเล่นอื่นๆ เช่น มะม่วงดอง มะม่วงแช่อิ่ม มะดันแช่อิ่ม มะกอกแช่อิ่ม ผลไม้ที่ใช้ทำอาหารเหล่านี้ หากนำไปแช่ด้วยน้ำปูนใส  นอกจากจะช่วยให้กรอบแล้ว ยังช่วยให้มีความอยู่ตัวอีกด้วย




การปรุงแต่งรสชาติและกลิ่นของอาหาร, การปรุงแต่งรสชาติและกลิ่นของอาหาร หมายถึง, การปรุงแต่งรสชาติและกลิ่นของอาหาร คือ, การปรุงแต่งรสชาติและกลิ่นของอาหาร ความหมาย, การปรุงแต่งรสชาติและกลิ่นของอาหาร คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 13

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu