ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

เครื่องปั้นดินเผาสมัยลวปุระ (ลพบุรี), เครื่องปั้นดินเผาสมัยลวปุระ (ลพบุรี) หมายถึง, เครื่องปั้นดินเผาสมัยลวปุระ (ลพบุรี) คือ, เครื่องปั้นดินเผาสมัยลวปุระ (ลพบุรี) ความหมาย, เครื่องปั้นดินเผาสมัยลวปุระ (ลพบุรี) คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
เครื่องปั้นดินเผาสมัยลวปุระ (ลพบุรี)

          วัฒนธรรมของรัฐลวปุระหรือละโว้ในประเทศไทยนั้น เป็นวัฒนธรรมที่กล่าวได้ว่าในระยะแรกสืบทอดมาจากวัฒนธรรมทวารวดี จนเมื่อเมืองพระนคร หรือขอมโบราณ มีอำนาจแผ่อิทธิพลมาทางตะวันออกเฉียงเหนือสู่ภาคกลางของรัฐทวารวดีในราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๖รูปแบบศิลปกรรมในศาสนาฮินดูและพุทธศาสนาลัทธิมหายานจากเมืองพระนครได้เข้ามาเป็นที่นิยมและเจริญรุ่งเรืองอย่างมากในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ แห่งเมืองพระนคร โดยมีศูนย์กลางความเจริญอยู่ที่เมืองลวปุระ (ละโว้) ดังนั้นศิลปกรรมของภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือในประเทศไทย ที่มีรูปแบบที่คล้ายกับขอมโบราณ เรียกว่า "ศิลปะลวปุระหรือลพบุรี" แม้ว่าจะมีรายละเอียดของลักษณะงานศิลปกรรมที่แตกต่างออกไปบ้างตามรสนิยมของคนท้องถิ่นนี้ ที่นิยมความอ่อนช้อยนุ่มนวลมากกว่าความแข็งกระด้างที่แสดงพลังแห่งอำนาจที่แฝงอยู่ภายใน อันเนื่องจากพลังแห่งตรีมูรติในศาสนาฮินดูร่วมกับหลักธรรมของพุทธ-ศาสนามหายานลัทธิวัชรยาน อันก่อให้เกิดลัทธิเทวราชาและพุทธราชาขึ้น
           เครื่องถ้วยสมัยลพบุรีมีแหล่งผลิตที่สำคัญอยู่ในจังหวัดบุรีรัมย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่อำเภอบ้านกรวด และอำเภอละหานทราย ได้พบแหล่งเตาเผาโบราณจำนวนมาก ลักษณะเครื่องถ้วยสมัยลพบุรีเป็นเครื่องถ้วยเคลือบสีเขียวใสแบบสีน้ำแตงกวา เครื่องถ้วยเคลือบสีน้ำตาล และเครื่องถ้วยชนิดไม่เคลือบ ทุกแหล่งเตาเผาจะผลิตของคล้ายกันเกือบทุกประเภท เช่น ตลับทรงฟักทองตลับลูกพลับ กระปุกขนาดเล็ก กระปุกรูปนกประติมากรรมรูปสัตว์ เช่น แพะ ช้าง ม้า กระต่าย
ซึ่งมีทั้งแบบตันเป็นรูปสัตว์จริงๆ หรือทำเป็นกระปุกหรือคนทีก็มี นอกจากนี้มีชาม ถ้วยตะคันทรง ชาม โถทรงโกศ โถทรงแตง ไหเท้าช้าง ไหไม่มีเชิงขนาดต่างๆ ตั้งแต่ขนาดสูง ๓๐-๘๐ เซนติเมตร ไหเหล่านี้บางครั้งก็ประดับเป็นรูปหน้าคนที่ส่วนคอไห หรือบางครั้งก็ประดับด้วยรูปหัวช้าง หัวม้า หรือหัวกวาง ตามบริเวณไหล่ของไห นอกจากนี้ลักษณะการตกแต่งภาชนะมีทั้งการใช้ลายกลีบบัว  ลายขูดขีด  ลายกากบาทชั้นเดียว ลายกากบาทสองชั้น ลายซิกแซก ลายเส้นคดโค้ง ลายคลื่น ลายโค้งแบบระย้า และลายหวี เครื่องปั้นดินเผาเหล่านี้จะขึ้นรูปด้วยแป้นหมุนรอยในเนื้อดินปั้นที่ก้นภาชนะจะมีลักษณะเป็นวงหมุนเวียนขวาซึ่งเกิดจากการใช้แป้นหมุนอย่างเด่นชัด ส่วนลวดลายพิเศษที่ใช้ประดับ เช่น รูปหัวช้าง หัวม้า หรือรูปศีรษะคน ก็ใช้แม่พิมพ์กดออกมาแล้วนำมาต่อเข้ากับตัวภาชนะ เช่น ไหหรือคนโท ที่ขึ้นรูปไว้แล้ว จากนั้นจึงชุบน้ำเคลือบและนำเข้าเผา
          เครื่องถ้วยเหล่านี้ โดยทั่วไปแล้วจะพบอยู่ตามโบราณสถานที่สร้างขึ้นในศิลปะแบบลพบุรีอันหมายถึงศาสนสถานที่สร้างตามแบบศิลปะขอมโบราณซึ่งเรียกกันว่า ปราสาทหิน ทั้งที่อยู่ในเขตจังหวัดบุรีรัมย์  หรืออยู่ในจังหวัดต่างๆของภาคอีสานตอนใต้ หรืออีสานส่วนล่าง เช่นจังหวัดนครราชสีมา สุรินทร์ ศรีสะเกษ โดยใช้ในพิธีกรรมภายในศาสนสถาน ใช้ในชีวิตประจำวันหรือใช้ในพิธีการเผาศพ โดยนำมาบรรจุอัฐิและอังคาร ภาชนะดินเผาบรรจุอัฐินี้มีลักษณะพิเศษเช่น ไหรูปช้าง โถรูปลิง หรือกระปุกที่มีฝาเป็นรูปคน ส่วนใหญ่เมื่อบรรจุอัฐิแล้วจะนำไปฝังไว้รอบฐานอาคารศาสนสถาน นอกจากนี้พบว่ามีการเขียนข้อความไว้บนเครื่องปั้นดินเผา เช่น กระดึงผูกคอวัว และไหเคลือบสีน้ำตาล ตัวอักษรนี้เมื่อนำไปศึกษาเปรียบเทียบกับอักษรในศิลาจารึกก็พบว่ามีอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๙ทำให้พอจะสันนิษฐานอายุของเครื่องถ้วยโบราณของจังหวัดบุรีรัมย์ได้ว่า  น่าจะมีอายุร่วมสมัยกับปราสาทหินที่สร้างขึ้นคือระหว่างพุทธศตวรรษที่๑๕-๑๙
         เครื่องถ้วยเหล่านี้ผลิตขึ้นเพื่อส่งไปจำหน่ายหรือส่งไปเพื่อใช้ในพิธีกรรมตามศาสนสถานหรือปราสาทหินที่ต่างๆ ทั้งในอีสานตอนใต้และในประเทศกัมพูชา รวมทั้งในท้องถิ่นอื่นๆภายในประเทศ เป็นสินค้าอุตสาหกรรมที่ยิ่งใหญ่ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๙ ทัดเทียมกับเครื่องถ้วยสังคโลกจากเตาเผาในจังหวัดสุโขทัยในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๘-๒๒

เครื่องปั้นดินเผาสมัยลวปุระ (ลพบุรี), เครื่องปั้นดินเผาสมัยลวปุระ (ลพบุรี) หมายถึง, เครื่องปั้นดินเผาสมัยลวปุระ (ลพบุรี) คือ, เครื่องปั้นดินเผาสมัยลวปุระ (ลพบุรี) ความหมาย, เครื่องปั้นดินเผาสมัยลวปุระ (ลพบุรี) คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 22

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu