สภาพแวดล้อมกับการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในประเทศไทย ในภาคเหนือ
สภาพแวดล้อมกับการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในประเทศไทย ในภาคเหนือ, สภาพแวดล้อมกับการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในประเทศไทย ในภาคเหนือ หมายถึง, สภาพแวดล้อมกับการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในประเทศไทย ในภาคเหนือ คือ, สภาพแวดล้อมกับการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในประเทศไทย ในภาคเหนือ ความหมาย, สภาพแวดล้อมกับการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในประเทศไทย ในภาคเหนือ คืออะไร
นับตั้งแต่บริเวณเหนือเขตจังหวัดอุตรดิตถ์ตาก เพชรบูรณ์ ขึ้นไป เป็นเขตที่ภูมิประเทศเปลี่ยนเป็นบริเวณที่มีภูเขาทอดกันลงมาคล้ายกับนิ้วมือที่แผ่อยู่บนฝ่ามือในลักษณะจากเหนือลงใต้และช่องว่างระหว่างเชิงเขาหรือระหว่างนิ้วมือนั้นคือบริเวณที่ราบลุ่มในหุบเขาที่มีลำน้ำไหลผ่านอาจแบ่งบริเวณหุบเขาใหญ่ๆ ออกได้ตามลำน้ำสำคัญๆ โดยเริ่มทางด้านตะวันตกไปตะวันออกได้แก่ บริเวณลุ่มน้ำปิงที่อยู่ในเขตจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน ลุ่มน้ำวังในเขตจังหวัดลำปาง ลุ่มน้ำยมในเขตจังหวัดแพร่ และลุ่มน้ำน่านในเขตจังหวัดน่าน ถัดมาทางด้านตะวันออกเป็นบริเวณลุ่มน้ำของลำน้ำที่เป็นสาขาของแม่น้ำโขง ได้แก่ที่ราบลุ่มน้ำแม่ลาว แม่กก และแม่วัง ซึ่งเป็นบริเวณที่อยู่ในเขตจังหวัดเชียงรายและพะเยา
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าบริเวณที่เป็นภาคเหนือทั้งหมด มีลักษณะภูมิประเทศที่ประกอบด้วยที่ราบลุ่มตามหุบเขา และบริเวณภูเขาที่เป็นที่สูงบริเวณหุบเขาเป็นที่ราบลุ่มมีลำน้ำไหลผ่าน เป็นที่เหมาะแก่การกสิกรรมโดยเฉพาะการปลูกข้าวส่วนบริเวณที่สูงภูเขานั้นมีป่าไม้และพันธุ์ไม้ใหญ่ นานาชนิดขึ้นปกคลุม โดยเฉพาะไม้สักซึ่งเป็นทรัพยากรทางธรรมชาติที่สำคัญของภูมิภาค การตั้งหลักแหล่งชุมชนของผู้คนในภาคเหนือนี้ มีทั้งในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ และสมัยหลังๆ ลงมาในยุคประวัติศาสตร์ ปัจจุบันนักโบราณคดีสำรวจและขุดพบหลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงให้เห็นว่าเมื่อประมาณ ๑๐,๐๐๐ ปีมาแล้ว มีผู้คนอาศัยอยู่ตามถ้ำใกล้ธารน้ำตามภูเขาในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งอยู่ทางด้านตะวันตกของจังหวัดเชียงใหม่ (พิสิฐ เจริญวงศ์ ๒๕๒๕: ๑๐๕-๑๐๗) ผู้คนเหล่า นี้นอกจากหาเลี้ยงชีพด้วยการเก็บผลหมากรากไม้ของป่า และล่าสัตว์เพื่อเลี้ยงชีพ ยังน่าจะรู้จักทำการเพาะปลูกพอสมควร มีความรู้ในการทำเครื่องปั้นดินเผาอย่างหยาบๆ ขึ้นมาใช้ และในสมัยหลังๆ ลงมาก็รู้จักใช้ต้นไม้มาขุดทำเป็นที่บรรจุศพคนตายไว้ตามถ้ำต่างๆ แต่ว่าเครื่องมือส่วนใหญ่ก็ยังคงเป็นหินกะเทาะแบบหยาบๆ สมัยต่อมาในยุคที่มนุษย์รู้จักทำเครื่องมือหินขัด และตามมาด้วยยุคโลหะ พบโบราณวัตถุตามเนินเขาและที่ราบลุ่มบ้างเล็กน้อย ที่แสดงให้เห็นว่ามีผู้คนในยุคนี้ผ่านเข้ามา แต่คงยังไม่มีการตั้งหลักแหล่งเป็นบ้านเมืองใหญ่โตกันเท่าใด เพราะไม่พบหลักฐานอะไรมากไปกว่านี้ อย่างไรก็ตาม อาจกล่าว ได้ว่ากลุ่มชนในภาคเหนือนั้นส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามภูเขาและที่สูงสืบเนื่องเรื่อยมาตั้งแต่สมัยก่อน ประวัติศาสตร์ เกิดเป็นเผ่าพันธุ์หลายหมู่เหล่าประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๕ ก็มีผู้คนจากบริเวณอื่นที่อาจจะเคลื่อนย้ายมาจากบริเวณภาคกลางและบริเวณที่ราบลุ่มทางแม่น้ำโขงด้านตะวันออกและด้านเหนือ เข้ามาตั้งหลักแหล่งและผสมผสานกับกลุ่มชนบางเผ่าบางเหล่าที่เคลื่อนย้ายลงมาจากภูเขาและที่สูง มีการจัดตั้งบ้านเมืองขึ้นในที่ราบลุ่ม
หลักฐานทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ขณะนี้ แสดงให้เห็นว่า บริเวณลุ่มน้ำแม่ปิงในเขตที่ราบลุ่มเชียงใหม่และลำพูน เกิดเป็นบ้านเมืองที่เป็นรัฐเรียกว่า หริภุญชัย ก่อน มีเมืองศูนย์กลางอยู่ที่เมืองลำพูน มีกษัตริย์ปกครองและมีการติดต่อกับทางเมืองละโว้หรือลพบุรีในภาคกลาง และเกี่ยวข้องกับเมืองมอญในลุ่มน้ำสาละวินในประเทศพม่า ร่องรอยของซากเมืองโบราณสมัยหริภุญชัย แสดงให้เห็นว่า เป็นการตั้งหลักแหล่งในที่ราบลุ่มอย่างแท้จริง เพราะบรรดาเมืองเหล่านั้นล้วนตั้งอยู่ริมแม่น้ำและลำน้ำทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม หลักฐานทางเอกสารชี้ให้เห็นว่า ผู้คนของรัฐหริภุญชัยมีทั้งพวกเม็ง หรือมอญ พวกละโว้ที่อยู่บนพื้นราบ และพวกละโว้ที่อยู่บนที่สูงผสมปนเปกัน นอกจากมีการตั้งบ้านเมืองในบริเวณลุ่มน้ำแม่ปิงแล้ว สมัยหลังๆ ลงมายังมีการขยายตัวไปสร้างเมืองในลุ่มน้ำแม่วังในเขตจังหวัดลำปางอีกด้วย เพราะพบหลักฐานทางโบราณคดีและ หลักฐานทางเอกสารที่กล่าวว่า ชนกลุ่มเดียวกัน ที่มาจากเมืองลำพูนได้สร้างเมืองเขลางค์นคร ซึ่งต่อมาคือนครลำปาง (ศรีศักร วัลลิโภดม ๒๕๒๕: ๗๓-๙๖, กรมศิลปากร ๒๕๓๑: ๒๒-๔๒)
ทางบริเวณที่ราบลุ่มเชียงราย-พะเยา ในเขตลุ่มน้ำแม่สวง แม่กก และแม่อิง นั้น มีเอกสารด้านตำนานและพงศาวดาร กล่าวถึงการสร้างบ้านแปงเมืองโดยกลุ่มชนที่อพยพมาจากทางเหนือและตะวันออก กับกลุ่มชนที่เคลื่อนย้ายลงมาจากเทือกเขา เช่น เทือกเขาบริเวณดอยตุงในอำเภอแม่สาย เป็นต้น แต่หลักฐานทางโบราณคดีนั้นพบซากเมืองและโบราณสถานวัตถุที่สัมพันธ์กับพุทธศาสนาตั้งแต่สมัยราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐ เป็นส่วนมากเห็นจะมีที่มีร่องรอยเก่าแก่กว่านี้ก็ที่เมืองพะเยา ซึ้งตั้งอยู่ริมกว๊านพะเยาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา เพราะพบโบราณวัตถุที่มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ลงมา อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ทางที่ราบลุ่มเชียงใหม่ มีเมืองลำพูนเป็นศูนย์กลางในบริเวณลุ่มน้ำแม่ปิงนั้น ทางที่ราบลุ่มเชียงรายและพะเยาก็มีเมืองสำคัญอยู่ที่เชียงรายบนฝั่งแม่น้ำกก และเมืองพะเยาริมกว๊านพะเยา อันเป็นบริเวณต้นน้ำของแม่น้ำวัง ในตอนต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ เจ้าผู้ครองนครเชียงราย คือ พญามังราย ได้รวบรวมบ้านเมืองในเขตที่ลุ่มเชียงรายและพะเยาให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แล้วยกกองทัพข้ามเทือกเขามาตีรัฐหริภุญชัย หลังจากตีได้แล้วก็ผนวกบ้านเมืองทางภาคเหนือทั้งหมดให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยการสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้นเป็นศูนย์กลางของรัฐใหม่ที่เรียกว่า ล้านนา แคว้นล้านนาหรือลานนาไทยนี้มีกษัตริย์ปกครองมาช้านาน จนกระทั่งสมัยรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์จึงได้ผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรไทยอย่างสมบูรณ์ (คงเดช ประพัฒน์ทอง ๒๕๒๙:๑๘๑-๒๐๘, ถนอม อานามวัฒน์ และคณะ ๒๕๑๘: ๔๖-๕๘, ฮันส์ เพนธ์ ๒๕๑๗)
นับตั้งแต่มีการสร้างบ้านแปงเมืองขึ้นเป็นรัฐเป็นต้นมา ชาวภาคเหนือหรือพวกล้านนาส่วนใหญ่จะตั้งหลักแหล่งบนที่ราบลุ่มในหุบเขาตามริมลำน้ำหรือลำธาร และมีอาชีพส่วนใหญ่ในการทำนา การขยายตัวของการตั้งถิ่นฐานนั้นก็คือเคลื่อนย้ายเข้าไปหักร้างถางพงตามหุบเขาที่ยังไม่เคยมีผู้คนเข้าไปอยู่ จนกระทั่งปัจจุบันนี้อาจกล่าวได้ว่า เกือบไม่มีหุบเขาใดในภาคเหนือที่ยังว่างโดยไม่มีผู้คนเข้าไปสร้างบ้านแปงเมือง แต่ทว่าการที่ตั้งหลักแหล่งในหุบเขาดังกล่าวนี้ ทำให้ชุมชนบ้านเมืองในภาคเหนือของประเทศต่างก็อยู่ในลักษณะที่กระจายและแยกออกจากกัน ในสมัยก่อนๆ ต่างแยกกันอยู่ตามลำพัง จะมีความสัมพันธ์กันก็แต่เพียงเรื่องทางการเมืองและวัฒนธรรม คือ เมืองหนึ่งๆ ในแต่ละหุบเขาก็เป็นเครือข่ายในการปกครองของเมืองที่เป็นศูนย์กลาง และมีการนับถือพระพุทธศาสนา ตลอดจนการประกอบพิธีกรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีบางอย่างเหมือนกัน ส่วนในด้านสังคมและเศรษฐกิจดูเหมือนจะจำกัดอยู่ในกลุ่มแต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ (ศรีศักร วัลลิโภดม ๒๕๓๔: ๒๑๘- ๒๒๖)
ลักษณะเด่นชัดในทางสังคมและวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของชุมชน ในภาคเหนือที่ไม่เหมือนกับภาคอื่นๆ ก็คือ บรรดาชุมชนหมู่บ้านต่างๆ ที่อยู่ในหุบเขาเดียวกันนั้น จะต้องมีความสัมพันธ์กันทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมอย่างใกล้ชิด จึงจะอยู่ร่วมกันได้ สิ่งนี้แลเห็นได้จากการร่วมมือกันในการทำให้มีการชลประทาน เหมืองฝายขึ้น นั่นก็คือ แต่ละชุมชนจะต้องมาร่วมกันทำ ฝาย หรือเขื่อนกั้นน้ำ และขุดลอกลำเหมืองเพื่อระบายน้ำจากฝายที่กั้นลำน้ำไปเลี้ยงที่นาของแต่ละชุมชน ทั้งนี้เป็นเพราะในแต่ละหุบเขานั้นลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ลาดลงสู่บริเวณที่เป็นแอ่งตอนกลางที่มีลำน้ำไหลผ่านลำน้ำดังกล่าวนี้ เกิดจากลำธารหรือลำน้ำสาขาที่ไหลลงจากที่สูงทั้งสองข้างหุบเขามาสมทบด้วย จำนวนลำน้ำเหล่านี้ มีจำกัดไม่เพียงพอแก่การเพาะปลูกของผู้คนทั่วไป จึงจำเป็นต้องทำฝายทดน้ำ และขุดเหมืองจากบริเวณลำน้ำหรือธารน้ำนั้นเข้าไปเลี้ยงที่นาและ เพื่อการใช้น้ำของชุมชน จึงต้องมีการออกแรงร่วมกัน เกิดมีกฎเกณฑ์และแบบแผนในการร่วม แรงกันทำเหมืองฝายมาแต่โบราณ จึงเป็นกิจกรรม ที่กษัตริย์เจ้าเมืองหรือนายบ้านจะต้องคอยควบคุมดูแลให้มีการร่วมมือกัน และลงโทษผู้ที่ไม่ร่วมมือแต่ทว่าลักน้ำขโมยน้ำจากผู้อื่น จึงเกิดมีกฎหมายโบราณขึ้น ที่เรียกว่ากฎหมายมังราย เชื่อว่าพญามังรายผู้สร้างแคว้นล้านนาเป็นผู้บัญญัติขึ้น
กฎหมายมังรายนี้มีการคัดลอกและจดจำกันสืบต่อมาจนสมัยหลังๆ ปัจจุบันนี้การออกแรงร่วมมือกันทำเหมืองฝายหรือซ่อมแซมเหมืองฝายก็ยังคงมีทำกันอยู่ แม้ว่าทางรัฐบาลจะกำหนดให้เป็นหน้าที่ของกรมชลประทานเข้ามาดำเนินการแล้วก็ตาม การที่ชุมชนแต่ละแห่งต้องร่วมมือกันในเรื่องการชลประทานเหมืองฝายนี้ เป็นผลให้มีความสัมพันธ์กันทางสังคมและวัฒนธรรมอย่างลึกซึ้ง ดังจะเห็นได้ว่าแม้ในปัจจุบันถ้าหมู่บ้านใดหมู่บ้านหนึ่งมีงานประเพณีหรือจัดกิจกรรมทางสังคมขึ้นแล้ว ชุมชนที่อยู่ใกล้เคียงจะมาร่วมงานด้วยเสมอเช่น มีงานบุญเกิดขึ้นที่วัดหนึ่งของชุมชนหนึ่ง ชุมชนและวัดที่อยู่ใกล้และไกลจะพากันแห่เป็นขบวนมาร่วมเสมอ มีงานเลี้ยงงานบุญและงานสนุกสนานเฮฮาร่วมกัน นับว่าทำให้เกิดโครงสร้างทางสังคมที่กระชับกว่าชุมชนในภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศไทยทีเดียว (สิทธิ์ บุตรอินทร์ ๒๕๒๓, ศรีศักร วัลลิโภดม ๒๕๓๔)
ชุมชนในภาคเหนือส่วนใหญ่ตั้งเป็นกระจุกเล็กๆ กระจายกันอยู่ตามริมลำน้ำ โดยมีวัดเป็นศูนย์กลางแต่ละแห่งไม่มีขนาดใหญ่เหมือนกับทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง แต่ มักกระจายอยู่ตามพื้นที่ซึ่งเหมาะสม โดยทั่วไปแล้วในแต่ละหุบเขาหรือท้องถิ่นใหญ่ๆ ที่มีหลายชุมชนอยู่รวมกัน มักจะสร้างวัดหรือสถูปเจดีย์ขึ้นตามไหล่เขาหรือบนเขามองเห็นแต่ไกล เพื่อเป็นที่ผู้คนที่อยู่ต่างชุมชนกันมากราบไหว้ และประกอบพิธีกรรมทางศาสนา รวมทั้งมีงานประเพณีรื่นเริงกันเมื่อถึงเทศกาล การสร้างวัดหรือพระธาตุเจดีย์อันเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นดังกล่าวนี้เป็นประเพณีที่มีมาแล้วแต่โบราณ จึงมักพบซากวัดร้าง หรือพระสถูปเจดีย์ร้างบนภูเขาบน ดอยอยู่ทั่วไป ยิ่งกว่านั้นผู้ครองบ้านเมืองในอดีต ยังได้สร้างพระมหาธาตุเจดีย์ขึ้นตามภูเขาหรือดอยที่เป็นประธานของบ้านเมือง พระมหาธาตุเจดีย์เหล่านี้ เป็นส่วนมากทีเดียวที่ได้รับการปฏิสังขรณ์ให้เป็นศาสนสถานที่สำคัญของบ้านเมืองสืบมาจนทุกวันนี้ อย่างเช่น ที่เมืองพะเยามีพระธาตุจอมทองเมืองแพร่มีพระธาตุช่อแฮ และเมืองน่านมีพระธาตุแช่แห้ง เป็นต้น
การตั้งถิ่นฐานเพื่อสร้างที่พักอาศัย เป็น ความต้องการขั้นพื้นฐานอย่างหนึ่งเพื่อการอยู่รอดของมนุษย์ วิวัฒนาการของการตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยเริ่มจากการเร่ร่อนของกลุ่มชนเล็กๆ ที่อาศัยแหล่งธรรมชาติตามถ้ำและเพิงหินที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำและอาหารครั้งสมัยก่อนประวัติศาสตร์เมื่อหลายหมื่นปีมาแล้ว ถึงสมัยประวัติศาสตร์ที่มีการสร้างบ้านเมืองอยู่อย่างถาวร มีประชากรเป็นร้อยเป็นพันมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์และปัจจุบัน ซึ่งมีประชากรเป็นแสนเป็นล้านตามเมืองขนาดใหญ่ การที่มนุษย์มีประสบการณ์ที่ทำให้เขาสามารถคาดคะเนปรับตัว และปรับสภาพแวดล้อมเพื่อทำการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ได้นั้น ทำให้มนุษย์หยุดเร่ร่อนและมีเวลาพัฒนาสังคมและวัฒนธรรม จนถึงระดับที่มีความซับซ้อนมากดังเห็นได้จากการสร้างศาสนสถาน หรือปราสาทหินขนาดใหญ่หลายแห่ง การติดต่อค้าขายกับสังคมภายนอกก็มีส่วนในการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ โดยเฉพาะตามเมืองท่า หรือเมืองที่ตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าจากริมฝั่งทะเลเข้าไปถึงชุมชนภายในของภาคต่างๆ เมื่อสภาพเส้นทางของแม่น้ำเปลี่ยนแปลงไป เมืองที่สำคัญก็ได้โยกย้ายไปสร้างใหม่อยู่ในที่สำคัญกว่า ทำให้เมืองเก่าต่างก็หมดบทบาทหน้าที่และความสำคัญไปดังเห็นได้จากเมืองโบราณที่ถูกละทิ้งไปในภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ของ ประเทศไทย
สภาพแวดล้อมกับการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในประเทศไทย ในภาคเหนือ, สภาพแวดล้อมกับการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในประเทศไทย ในภาคเหนือ หมายถึง, สภาพแวดล้อมกับการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในประเทศไทย ในภาคเหนือ คือ, สภาพแวดล้อมกับการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในประเทศไทย ในภาคเหนือ ความหมาย, สภาพแวดล้อมกับการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในประเทศไทย ในภาคเหนือ คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!