วัชพืชแบ่งตามลักษณะที่อยู่ออกได้เป็น ๒ พวกใหญ่ ๆ คือ
หมายถึง วัชพืชที่เกิดบนบก แบ่งตามลักษณะทั่วไปได้เป็น ๓ ชนิด คือ ไม้ต้น (trees) ไม้พุ่ม (shrubs) ไม้ล้มลุกลำต้นอ่อน (herbs) ไม้ต้น และไม้พุ่ม ไม่ค่อยพบว่าเป็นวัชพืชที่ร้ายแรง ทั้งนี้เพราะก่อนดำเนินการเกษตรนั้น จำเป็นต้องปรับที่โค่นต้นไม้ใหญ่ ถอนรากโคนทิ้งเสียก่อน ฉะนั้น จึงไม่ค่อยมีปัญหาในด้านการกำจัดวัชพืชที่เป็นไม้ต้น และไม้พุ่มเท่าใดนัก นอกจากในที่ดินที่บุกเบิกใหม่ เพื่อการเพาะปลูก ถ้ายังมีรากไม้ต้นและไม้พุ่มหลงเหลืออยู่ ต้องคอยหมั่นดูแลขุดทำลายเสีย หรือใช้สารกำจัดวัชพืชทำลายโคนต้นให้เน่าผุก่อน วัชพืชก็จะค่อยๆ ลดน้อยลงไป ส่วนวัชพืชที่เป็นปัญหาในด้านการกำจัด ได้แก่ พวกไม้ต้นเล็กเนื้ออ่อนหรือ พืชล้มลุก ซึ่งแบ่งออกได้ตามอายุเป็น ๒ พวก พวกหนึ่งได้แก่ พืชล้มลุก อายุสั้น มีวงชีพอยู่ได้เพียงฤดูเดียว (annual) และอีกพวกหนึ่งเป็นพืชต้นเล็กเนื้ออ่อน ยืนต้น มีอายุข้ามปีหรือตั้งแต่ ๒ ปีขึ้นไป (perennial) พืชพวกนี้มักจะมีไหล (stolon) ซึ่งสามารถแตกรากตามข้อที่นอนแตะพื้นดิน เช่น แห้วหมู หญ้า ชันอากาศ
ทั้งวัชพืชน้ำและวัชพืชบก มิได้หมายถึง พืชที่มีดอกและเมล็ดเท่านั้น ยังรวมถึงพืชจำพวกสาหร่าย (algae) พืชไม่มีดอก ได้แก่ เฟิร์น (fern) และตะไคร่ (moss) เช่น สาหร่าย อีกด้วย วัชพืชในนาข้าวเป็นพืชพวกแอลจี แต่สาหร่ายข้าวเหนียว สาหร่ายฉัตร สาหร่ายพุงชะโด ฯลฯ เป็นพืชมีดอกและเมล็ด เฟิร์นหลายชนิดที่เป็นวัชพืชในสวนยาง เช่น โชน ผักกูด และที่เป็นวัชพืชในนาข้าว ได้แก่ ผักกูดนา ผักแว่น แหนแดง จอกหูหนู นอกจากพืชที่กล่าวมาแล้ว ยังมีพวกพืชอาศัย๑ (parasitic plants) เช่น กาฝาก ฝอยทอง
๑ หนังสือเกี่ยวกับวัชพืชของต่างประเทศบางเล่มได้รวมพืชอาศัย เช่น กาฝาก ฯลฯ เป็นวัชพืช ให้ดูเรื่องพืชอาศัยได้ในเรื่อง "โรคพืช" ของ ดร.ธีระ สูตะบุตร