วิธีการปรุงยาสมุนไพร
วิธีการปรุงยาสมุนไพร, วิธีการปรุงยาสมุนไพร หมายถึง, วิธีการปรุงยาสมุนไพร คือ, วิธีการปรุงยาสมุนไพร ความหมาย, วิธีการปรุงยาสมุนไพร คืออะไร
ตำรายาไทยส่วนใหญ่กล่าวถึงวิธีปรุงยาไว้ ๒๔ วิธี แต่บางตำราเพิ่มวิธีที่ ๒๕ คือ วิธีกวนยา ทำเป็นขี้ผึ้งปิดแผลไว้ด้วย
ในจำนวนวิธีปรุงยาเหล่านี้มีผู้อธิบายรายละเอียดวิธีปรุงที่ใช้บ่อยๆ ไว้ดังนี้คือ
ยาต้ม
การเตรียม ปริมาณที่ใช้โดยทั่วไป คือ ๑ กำมือ เอาสมุนไพรมาขดมัดรวมกันเป็นท่อนกลมยาวขนาด ๑ ฝ่ามือ กว้างขนาดใช้มือกำได้โดยรอบพอดี ถ้าสมุนไพรนั้นแข็ง นำมาขดมัดไม่ได้ให้หั่นเป็นท่อนยาว ๕-๖ นิ้วฟุต กว้าง ๑/๒นิ้วฟุต แล้วเอามารวมกันให้ได้ขนาด ๑ กำมือ
การต้ม เทน้ำลงไปพอให้น้ำท่วมยาเล็กน้อย(ประมาณ ๓-๔ แก้ว) ถ้าปริมาณยาที่ระบุไว้น้อยมาก เช่น ใช้เพียง ๑ หยิบมือ ให้เทน้ำลงไป ๑ แก้ว (ประมาณ ๒๕๐ มิลลิลิตร) ต้มให้เดือดนาน ๑๐-๓๐ นาที แล้วแต่ว่าต้องการให้น้ำยาเข้มข้นหรือเจือจาง ยาต้มนี้ต้องกินในขณะที่ยายังอุ่นๆ
ยาชง
การเตรียม ปกติใช้สมุนไพรแห้งชง โดยหั่นต้นสมุนไพรสดให้เป็นชิ้นเล็กๆ บางๆ แล้วผึ่งแดดให้แห้ง ถ้าต้องการให้ไม่มีกลิ่นเหม็นเขียวให้เอาไปคั่วเสียก่อนจนมีกลิ่นหอม
การชง ใช้สมุนไพร ๑ ส่วน เติมน้ำเดือดลงไป ๑๐ ส่วน ปิดฝาตั้งทิ้งไว้ ๑๕-๒๐ นาที
ยาดอง
การเตรียม ปกติใช้สมุนไพรแห้งดอง โดยบดต้นไม้ยาให้แหลกพอหยาบๆ ห่อด้วยผ้าขาวบางหลวมๆ เผื่อยาพองตัวเวลาอมน้ำ
การดอง เติมเหล้าโรงให้ท่วมห่อยา ตั้งทิ้งไว้ ๗ วัน
ยาปั้นลูกกลอน
การเตรียม หั่นสมุนไพรสดให้เป็นแว่นบางๆ ผึ่งแดดให้แห้ง บดเป็นผงในขณะที่ยายังร้อนแดดอยู่เพราะยาจะกรอบบดได้ง่าย
การปั้นยา ใช้ผงยาสมุนไพร ๒ ส่วน ผสมกับน้ำผึ้งหรือน้ำเชื่อม ๑ ส่วน ตั้งทิ้งไว้ ๒-๓ ชั่วโมง เพื่อให้ยาปั้นได้ง่ายไม่ติดมือ ปั้นยาเป็นลูกกลมๆ เล็กๆ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๑ เซนติเมตร เสร็จแล้วผึ่งแดดจนแห้ง จากนั้นอีก ๒ สัปดาห์ ให้นำมาผึ่งแดดซ้ำอีกทีเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อราขึ้นยา
ยาตำคั้นเอาน้ำกิน
การเตรียม นำสมุนไพรสดๆ มาตำให้ละเอียดหรือจนกระทั่งเหลว ถ้าตัวยาแห้งไปให้เติมน้ำลงไปจนเหลว
การคั้น คั้นเอาน้ำยาจากสมุนไพรที่ตำไว้นั้นมารับประทาน สมุนไพรบางอย่าง เช่น กระทือกระชายให้นำไปเผาไฟให้สุกเสียก่อนจึงค่อยตำ
ยาพอก
การเตรียม ใช้สมุนไพรสดตำให้แหลกที่สุดให้พอเปียกแต่ไม่ถึงกับเหลว ถ้ายาแห้งให้เติมน้ำหรือเหล้าโรงลงไป
การพอก เมื่อพอกยาแล้วต้องคอยหยอดน้ำให้ยาเปียกชื้นอยู่เสมอ เปลี่ยนยาวันละ ๓ ครั้ง จะเห็นว่าการปรุงยาไทย มักใช้สมุนไพรหลายชนิด และใช้วิธีการต่างๆ ตามความเหมาะสม เพื่อให้ได้ผลในการรักษา และคำนึงถึงความปลอดภัยไปพร้อมกัน จึงกำหนดอายุของยาไว้ด้วยดังนี้
๑. ยาผงที่ผสมด้วยใบไม้ล้วนๆ มีอายุได้ประมาณ ๓-๖ เดือน
๒. ยาผงที่ผสมด้วยแก่นไม้ล้วนๆ มีอายุได้ระหว่าง ๖-๘ เดือน
๓. ยาผงที่ผสมด้วยใบไม้และแก่นไม้อย่างละเท่ากัน มีอายุได้ประมาณ ๕-๖ เดือน
อายุของยาที่เป็นเม็ดเป็นแท่ง หรือลูกกลอนมีกำหนดอายุไว้ดังนี้
๑. ยาเม็ดที่ผสมด้วยใบไม้ล้วนๆ มีอายุประมาณ ๖-๘ เดือน
๒. ยาเม็ดที่ผสมด้วยแก่นไม้ล้วนๆ มีอายุประมาณ ๑ ปี
๓. ยาเม็ดที่ผสมด้วยหัวหรือเหง้าของพืช รวมกับแก่นไม้ มีอายุประมาณ ๑ ปีครึ่ง
ทั้งยาเม็ดและยาผง ถ้าเก็บรักษาไว้ดีจะมีอายุยืนยาวกว่าที่กำหนดไว้ และถ้าเก็บรักษาไม่ดีก็อาจเสื่อมเร็วกว่ากำหนดได้
วิธีการปรุงยาสมุนไพร, วิธีการปรุงยาสมุนไพร หมายถึง, วิธีการปรุงยาสมุนไพร คือ, วิธีการปรุงยาสมุนไพร ความหมาย, วิธีการปรุงยาสมุนไพร คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!