ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

เครื่องหนัง, เครื่องหนัง หมายถึง, เครื่องหนัง คือ, เครื่องหนัง ความหมาย, เครื่องหนัง คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
เครื่องหนัง

          หนังสัตว์ เป็นวัตถุธรรมชาติอีกชนิดหนึ่งที่นำมาใช้ประดิษฐ์งานหัตถกรรมพื้นบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวหนัง จะขอกล่าวถึงตัวหนังตะลุง ซึ่งเป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของการละเล่นพื้นบ้าน ชนิดที่ใช้ตะเกียงส่องตัวหนังเพื่อให้เกิดเงาไปตกทอดบนจอผ้า   ที่ขึงเตรียมรับไว้ นอกจากนี้แล้วก็มีบทพากย์ บทเจรจา ดนตรี และการเชิด สำหรับกำเนิดของหนังตะลุงนั้นมีอยู่หลายความคิดด้วยกัน เช่น หนังตะลุงเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ โดยที่เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) นำจากจังหวัดพัทลุงเข้ามาเล่นในกรุงเทพฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นครั้งแรกที่บางปะอิน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๙ พระองค์ทรงถามว่ามาจากไหน ซึ่งได้รับคำตอบจากคนใต้ซึ่งชอบพูดสั้นๆ ว่า "หนังลุง" ซึ่งหมายถึงหนังที่มาจากเมืองพัทลุง จึงเรียกกันมาว่า "หนังตะลุง" ส่วนพวกชาวบ้านควนมะพร้าว จังหวัดพัทลุง เรียกกันว่า "หนังควน" อีกความเห็นหนึ่งกล่าวว่า หนังตะลุงได้รับอิทธิพลมาจากหนังของชวา โดยผ่านทางมาเลเซีย ซึ่งต่างก็ได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียอีกต่อหนึ่งด้วยกัน
          หนังตะลุงนิยมเล่นกันในจังหวัดภาคใต้ เรื่องที่แสดงกันคือ เรื่องรามเกียรติ์ แต่ได้นำมาเพิ่มเติมหรือเสริมแต่งนิทานพื้นบ้านผสมเข้าไปบ้าง เพื่อให้เกิดความเพลิดเพลินและแสดงให้เห็นถึงความผูกพันกับชีวิตและขนบประเพณีของชาวบ้าน ในสมัยก่อนมักจะเล่นในงานบวชนาค งานศพ และงานวัด ปัจจุบันเล่นได้ทุกโอกาส ตัวหนังตะลุงแต่ละคณะมีจำนวนไม่เท่ากันตั้งแต่ประมาณ ๑๐๐-๓๐๐ ตัว ตามความจำเป็นที่ต้องใช้ อันประกอบด้วยรูปฤาษี พระอิศวรปรายหน้าบท ตัวตลก เจ้าเมือง มนุษย์ ยักษ์ โจร ต้นไม้ ยานพาหนะ ปราสาท อาวุธ สัตว์ มีขนาดความสูงประมาณ ๑-๒ ฟุต ทำด้วยหนังวัวดิบที่ตากแห้ง ขึงใส่สะดึงเพื่อให้หนังตึง เมื่อแผ่นหนังจวนแห้งจึงนำมาขูดด้วยกะลามะพร้าวทั้งด้านนอกและด้านใน เพื่อให้ขนและเนื้อเยื่อออกหมดจนบางจนกระทั่งดูโปร่งแสง เมื่อแผ่นหนังแห้งดีแล้ว ก็ใช้ถ่านกะลามะพร้าวหรือถ่านใบลำโพงดำละลายน้ำข้าวทาให้ทั่วแผ่นหนังจะมีสีดำ หลังจากนั้นก็เริ่มร่างภาพหนัง ช่างร่างภาพกับช่างสลักหนังนั้น บางทีก็เป็นคนๆ เดียวกัน การร่างภาพนั้นมีหลายวิธีด้วยกัน เช่น ร่างภาพบนผ้าขาวผืนใหญ่หรือบนแผ่นกระดาษ แล้วจึงนำกระดาษที่ร่างนั้นไปปิดบนแผ่นหน้าแล้วใช้ตุ๊ดตู่และสิ่วขนาดหน้าต่างๆ ฉลุตามรอยร่องหรือใช้ดินสอขาวร่างลงบนแผ่นหนังเลยก็ได้ ช่างร่างจะต้องเป็นผู้ออกแบบท่าทางและจัดองค์ประกอบด้วยตนเอง ส่วนช่างฉลุจะฉลุเป็นตัวโปร่งโดยจะต้องรู้ว่าจะฉลุเส้นอย่างไร จะเว้นช่องว่างอย่างไร จึงจะเกิดช่องไฟที่พอดี มีพื้นหนังทึบสำหรับให้หนังเกาะยึดติดกันอยู่ได้ นอกจากนี้แล้วยังจะต้องทำแขนให้เคลื่อนไหวได้ โดยมีคันไม้เล็กๆ โยงแขนหรือมือให้เคลื่อนไหวออกท่าทางได้ในเวลากระตุก ถ้าเป็นตัวตลกจะมีไม้ชักให้ส่วนปากอ้าพูดได้ ตัวหนังจะมีทั้งหนังทาดำและสีอื่นๆ สีที่ใช้ทาก็มี หมึกจีน สีย้อมผ้าหรือสีหมึก (สีแดง เหลือง เขียว) ที่ตัวหนังจะมีไม้ประกบตามตัวหนังเลยลงมาด้านล่าง สำหรับมือจับเชิดอันเดียวและมีคันไม้โยงสำหรับชักให้แขนของตัวเคลื่อนไหวไปตามบทของตัวหนังตะลุง ตามที่กล่าวมานี้ มีลักษณะเป็นหนังเดี่ยว คือเป็นภาพๆ เดียว จะเป็นตัวพระหรือตัวอื่นใดก็ได้ ซึ่งไม่มีขอบ

   

เครื่องหนัง, เครื่องหนัง หมายถึง, เครื่องหนัง คือ, เครื่องหนัง ความหมาย, เครื่องหนัง คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 13

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu