ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

วิธีการและขั้นตอนในการเห่เรือพระราชพิธี, วิธีการและขั้นตอนในการเห่เรือพระราชพิธี หมายถึง, วิธีการและขั้นตอนในการเห่เรือพระราชพิธี คือ, วิธีการและขั้นตอนในการเห่เรือพระราชพิธี ความหมาย, วิธีการและขั้นตอนในการเห่เรือพระราชพิธี คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
วิธีการและขั้นตอนในการเห่เรือพระราชพิธี

          การจัดกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคทั้งอย่างใหญ่และอย่างน้อย  เป็นการพระราชพิธีสำคัญที่มีความเป็นระเบียบแบบแผนตามโบราณราชประเพณี  และเกี่ยวเนื่องกับองค์ประกอบอื่นที่จำเป็นอีกหลายประการ  ได้แก่ การจัดตำแหน่งกระบวนเรือ การแต่งกายของฝีพาย และจังหวะในการพายเรือ โดย มีสิ่งสำคัญที่ถือได้ว่าเป็นหัวใจของกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคก็คือ  การเห่เรือ  ซึ่งมีวิธีการและขั้นตอน  ดังนี้
            การเห่เรือในปัจจุบันยังคงรักษารูปแบบในสมัยโบราณไว้  แต่มีการปรับเปลี่ยนวิธีการ และขั้นตอนบางประการไปตามข้อจำกัดของปัจจัยแวดล้อมตามความเหมาะสม คือ

           - การจัดกระบวนเรือ   จะจัดเรือทุกลำไว้กลางแม่น้ำ  ยกเว้นเรือพระที่นั่งทรงและเรือพระที่นั่งรอง จะจอดเทียบท่าเพื่อรอเสด็จพระราชดำเนินก่อน   การจัดและควบคุมกระบวนเรือทั้งหมดเป็นหน้าที่ของผู้บัญชาการกระบวนเรือ  โดยใช้สัญญาณแตร   และผู้บัญชาการกระบวนเรือจะต้องประจำอยู่ในเรือกลองใน  หรือเรือแตงโม  ซึ่งแล่นนำหน้าเรือพระที่นั่ง

           -   เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมาถึง  และประทับในเรือพระที่นั่งทรงแล้ว จึงเป็นหน้าที่ของนายเรือเป็นผู้ให้สัญญาณจับพายด้วยการรัวกรับและให้สัญญาณมือแก่ผู้ถือแพนหางนกยูง  หัวเรือพระที่นั่งเพื่อโบกแพนหางนกยูงให้สัญญาณเริ่มเดินพายแก่ฝีพายอีกทอดหนึ่ง

           -   การให้จังหวะในการพายเรือพระที่นั่ง จะใช้กรับแทนการกระทุ้งเส้าให้จังหวะแก่ฝีพาย

           - การเห่เรือในกระบวนพยุหยาตรา อย่างใหญ่  แต่เดิมต้นเสียงจะต้องเห่ในเรือ พระที่นั่งทรง  และห่างจากบุษบก ๑ เมตร   แต่ปัจจุบันเปลี่ยนมาเห่ในเรือพระที่นั่งอนันต-นาคราช  และมีฝีพายเป็นลูกคู่รับ การรับจะร้องรับเพียงลำเดียวเท่านั้น ลำอื่นๆ ไม่ต้องร้องรับ

          -  การเห่เรือในกระบวนพยุหยาตราอย่างน้อยกระบวนราบใหญ่  และกระบวนราบน้อย ต้นเสียงจะต้องเห่ในเรือทรงผ้าไตร

          -  พนักงานเห่เรือ  จะเริ่มเกริ่นเห่เรือเกริ่นโคลงได้  เมื่อเรือพระที่นั่งทรงออกจากท่าแล้วกำลังจะเข้ากระบวนเมื่อเกริ่นโคลงจบเรือพระที่นั่งก็พร้อมที่จะเคลื่อนตามเรือทั้งกระบวนพอดี

          -  การขานเสียงรับ ฝีพายจะขานรับข้ามที่ประทับไม่ได้   เช่น   ต้นเสียงเห่อยู่ตอนหัวเรือก็ให้ขานรับเฉพาะฝีพายที่อยู่ตอนหัวเรือ  ฝีพายท้ายเรือขานรับไม่ได้  ถือว่าการขานเสียงข้ามที่ประทับเป็นเรื่องต้องห้าม

          - พลฝีพายในเรือพระที่นั่งทรง   เรือพระที่นั่งรอง  และเรือทรงผ้าไตร  ทั้ง ๓ ลำนี้ สำนักพระราชวังจะเป็นผู้กำหนดให้แต่ง กายรับเสด็จอย่างเต็มยศ   หรือครึ่งยศ   หากแต่งกายเต็มยศ พลฝีพายใช้พายเงินพายทอง  แต่หากแต่งกายปกติ    จะแต่งกายดำ   สวมหมวกกลีบลำดวน  ใช้พายทาน้ำมัน

          - ท่าพายเรือที่ใช้สำหรับพายในเรือพระที่นั่งจะเป็นท่านกบินเป็นหลัก     หากจะเปลี่ยนท่าพายเรือต้องขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตก่อนเสมอ

          - การเสด็จพระราชดำเนินกลับ  หากเป็นยามพระอาทิตย์อัสดงแล้ว ต้องโห่ ๓ ลา ก่อน   จึงจะออกเรือพระที่นั่งได้

วิธีการและขั้นตอนในการเห่เรือพระราชพิธี, วิธีการและขั้นตอนในการเห่เรือพระราชพิธี หมายถึง, วิธีการและขั้นตอนในการเห่เรือพระราชพิธี คือ, วิธีการและขั้นตอนในการเห่เรือพระราชพิธี ความหมาย, วิธีการและขั้นตอนในการเห่เรือพระราชพิธี คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 30

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu