ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

จิตเวชเด็ก, จิตเวชเด็ก หมายถึง, จิตเวชเด็ก คือ, จิตเวชเด็ก ความหมาย, จิตเวชเด็ก คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
จิตเวชเด็ก

          เมื่อเด็กเจ็บป่วย  พ่อแม่จะพาไปหากุมารแพทย์หรือแพทย์ประจำครอบครัว เมื่อแพทย์ตรวจแล้วเห็นว่าเด็กควรได้รับการรักษาจากจิตแพทย์เด็ก  ก็จะแนะนำหรือส่งต่อจิตแพทย์เด็ก  ความผิดปกติทางจิตเวชในเด็กมีสาเหตุจากปัจจัย ๒ ประการ คือ
          ๑. โครงสร้างของเด็กเอง  เมื่อเด็กคลอดออกมาก็จะมีลักษณะที่แตกต่างกัน เช่น บางคนหงุดหงิดบางคนร้องบ่อย บางคนนอนสงบ บางคนมีเชาวน์ปัญญาดี  บางคนมีความกังวลโดยเฉพาะเด็กหญิงสำหรับเด็กชายมักมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าวสูงกว่า
          ๒. สิ่งแวดล้อม  ซึ่งจะมีอิทธิพลต่อพัฒนาการของเด็กเป็นอย่างมาก ได้แก่
               ๒.๑ ท่าทีของพ่อแม่ต่อเด็ก อาจไม่รักเด็กถ้าเด็กที่เกิดมาพิการ หรือปกป้องคุ้มครองตามใจมากเกินไป
               ๒.๒ ลำดับการเกิดของเด็ก ถ้าเป็นลูกคนแรก แม่อาจกังวลในการเลี้ยงมากกว่าลูกคนรองๆ ลงมา ลูกคนกลางอาจได้รับการเอาใจใส่น้อยลง  ลูกคนสุดท้องอาจได้รับความทะนุถนอมและตามใจมาก จนทำให้เด็กไม่รู้จักช่วยตัวเอง  และมักถือตนเองเป็นใหญ่
               ๒.๓ เหตุการณ์อื่นๆ  ที่มีผลกระทบต่อบรรยากาศทางอารมณ์ในครอบครัว เช่น ความยากจน การหย่าร้าง การมีลูกมากเกินไป ทำให้เด็กขาดความรักความใจใส่  ไม่ได้รับการสนองตอบความต้องการที่จำเป็น ขาดปัจจัยต่างๆ ในการช่วยให้เรียนรู้          ความผิดปกติทางจิตเวชเด็กมีหลายแบบ  องค์การอนามัยโลกได้จำแนกความผิดปกติทางจิตเวชเด็กไว้ดังนี้
          ๑. ความประพฤติแปรปรวน จะมีพฤติกรรมในทางก้าวร้าว ทำลายข้าวของ วิวาทชกต่อยพูดปด ลักขโมย เป็นต้น
          ๒. อารมณ์แปรปรวน  โดยเฉพาะในเด็กและวัยรุ่น แสดงออกด้วยความกังวลมากเกินไปขี้อาย แยกตัว อิจฉาพี่น้อง กลัวโรงเรียน เป็นต้น
          ๓. อารมณ์เคลื่อนไหวมากผิดปกติ ขาดการยับยั้งควบคุม สนใจสิ่งต่างๆ ชั่วครั้งคราว  อารมณ์เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว  ก้าวร้าว  โผงผาง  ความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นไม่ดี
          ๔. พัฒนาการล่าช้าเฉพาะด้าน  เนื่องจากปัจจัยทางชีวะร่วมกับทางอารมณ์ เช่น มีพัฒนาการ  ล่าช้าในการอ่าน ในการคำนวณ เป็นต้น
          ๕. ความผิดปกติทางสรีรวิทยาเนื่องจากสาเหตุทางจิตใจ  อาการของความผิดปกติอาจเกิดขึ้นในระบบใดระบบหนึ่ง หรือมากกว่าหนึ่งระบบก็ได้  ที่พบบ่อยๆ คือ ความผิดปกติเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ จะแสดงออกด้วยการหอบ เหนื่อย แน่นหน้าอก ความผิดปกติเกี่ยวกับระบบไหลเวียนของเลือด  จะแสดงออกด้วยการเป็นลมหน้ามืด ใจสั่นเวียนศีรษะ ความผิดปกติเกี่ยวกับระบบผิวหนัง จะมีอาการเป็นผื่น เป็นลมพิษ ความผิดปกติเกียวกับระบบขับถ่ายและอวัยวะสืบพันธุ์ จะมีการถ่ายปัสสาวะบ่อยและการปวดรอบเดือน ความผิดปกติเกี่ยวกับระบบประสาทและกล้ามเนื้อ จะมีอาการกระตุก ปวดศีรษะ และเจ็บปวดตามที่ต่างๆ ที่พบบ่อยมากคืออาการหายใจเกิน คือ มีอาการหายใจลำบาก หายใจไม่อิ่ม หายใจเร็ว หอบลึก ชาตามริมฝีปากปลายมือ ปลายเท้า มือเกร็งหงิกงอ วิงเวียนอ่อนเพลีย มีท่าทางสีหน้าวิตก หวาดกลัว มักพบร่วมกับโรคประสาทชนิดกังวลแบบเฉียบพลัน
         ๖. โรคประสาทในเด็ก  มักจะมีอาการคละปนกันแบบผสม คือ อาการเศร้าแฝงก้าวร้าว ดื้อดึง ต่อต้าน หงุดหงิด มีพฤติกรรมในทางทำลายตนเอง  เช่น มักทำอะไรเสี่ยงต่ออันตราย หรือทำให้ตนเองต้องเจ็บปวด เป็นต้น
         เด็กที่แม่เลี้ยงมาอย่างทะนุถนอมเกินไปเมื่อถึงเวลาไปโรงเรียน  เกิดความกังวลต่อการแยกหรือการจาก ทำให้เกิดอาการกลัวไม่อยากไปโรงเรียนอาจเกิดอาการตั้งแต่วันแรก    หรือหลังเข้าเรียนนานแล้วก็ได้   คือ แสดงอาการปวดศีรษะ ปวดหลัง อาเจียน แน่นหน้าอกตอนเช้า หรือภายหลังไปถึงโรงเรียนสักพัก เมื่อครูส่งกลับบ้านอาการจะหายไป   วิธีที่ครูควรปฏิบัติ คือ ไม่ส่งเด็กกลับบ้าน   แต่ให้ความใกล้ชิดเด็กมากขึ้น   หาทางให้เด็กสนใจเรื่องอื่น เพราะถ้าพ่อแม่และครูให้เด็กหยุดเรียนนานจะยิ่งทำให้กังวลมากขึ้น  จะยิ่งเรียนไม่ทัน และห่างเหินครูและเพื่อนๆมากขึ้น
          ๗. โรคจิตใจเด็ก มีหลายชนิด เช่น ก่อนอายุ ๓ ปี ดูเสมือนเลี้ยงง่าย ไม่กวน ไม่สนใจใคร ไม่พูด หรือพูดคำแปลกๆ พูดลอยๆ แต่ถ้าถูกรบกวน เช่น ไปเปลี่ยนที่ของที่วางไว้  เขาจะแสดงอารมณ์โกรธรุนแรง และแสดงพฤติกรรมแปลกๆ 
         หลังอายุ  ๑๘  เดือน  -๓ ปี ติดพี่เลี้ยง หรือผู้ใหญ่คนใดคนหนึ่งมากผิดปกติ  ถ้าผู้ที่เขาติดจากไปไหน เด็กจะอาละวาดมาก และอาจมีพฤติกรรมแปลกๆ และขณะเดียวกันเด็กจะบังคับหรือกระทำการใดๆ กับผู้ที่เขาติดนั้น  และถ้าไม่พอใจจะทุบหยิกข่วน กัด
         อายุ  ๓-๔  ปีขึ้นไป  จะแยกตัวไม่พูดกับใคร หรือพูดมากด้วยภาษาแปลกที่ไม่มีใครฟังเข้าใจบางทีมีสีหน้าอารมณ์เฉย  หัวเราะคนเดียว หลงผิดว่าตนเป็นผู้มีอภินิหาร กระโดดลงมาจากหน้าต่าง 
         เริ่มวัยรุ่น จะพบอาการโรคจิตทางอารมณ์เช่นเดียวกับผู้ใหญ่
          ๘. อาการสมองพิการและพฤติกรรมแปรปรวน  เด็กที่เกิดความพิการทางสมองตั้งแต่คลอดหรือเมื่อกำลังเจริญวัยจนถึงวัยรุ่น  ถ้าเกิดสมองอักเสบหรือเป็นโรคลมชัก หรือสมองเสื่อมจากพิษสารเคมีที่ ทำลายเซลล์ของสมองจะมีอารมณ์และพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปมาก เช่น เคลื่อนไหวซุกซนมากผิดปกติอยู่ไม่สุข  ทำลายของ ขาดสมาธิ อารมณ์ผันแปรง่ายโต้ตอบโผงผาง  เด็กเหล่านี้จะเรียนหนังสืออย่างปกติไม่ได้เพราะมีภาวะที่เรียกว่า ปัญญาอ่อน  และอารมณ์ที่ผิดปกติจะทำให้การเข้าใจภาษาบกพร่องเข้ากับใครไม่ได้ จึงมักไม่มีเพื่อน

จิตเวชเด็ก, จิตเวชเด็ก หมายถึง, จิตเวชเด็ก คือ, จิตเวชเด็ก ความหมาย, จิตเวชเด็ก คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 10

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu