ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

การชำระพระไตรปิฎก, การชำระพระไตรปิฎก หมายถึง, การชำระพระไตรปิฎก คือ, การชำระพระไตรปิฎก ความหมาย, การชำระพระไตรปิฎก คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
การชำระพระไตรปิฎก

          การชำระพระไตรปิฎก คือ การตรวจสอบแก้ไขด้วยอักษรที่จดจารึกหรือที่จะพิมพ์ใหม่ให้ถูกต้องตามที่ควร แต่ไม่ใช่การตัดหรือเติมข้อความตามความพอใจ ในการนี้มีการสอบทานฉบับที่จะพิมพ์ใหม่กับฉบับอักษรของชนชาติต่าง ๆ ด้วย เช่น พระไตรปิฎกฉบับอักษรลังกาหรือสีหล  ฉบับอักษรเทวนาครีของอินเดียฉบับอักษรพม่า  ฉบับอักษรรามัญหรือมอญและฉบับอักษรโรมันที่จัดพิมพ์ขึ้นในประเทศอังกฤษ แล้วทำหมายเหตุถ้อยคำที่แตกต่างกันเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อเป็นหลักฐานเพราะในการจดจารึกหรือในการจัดพิมพ์ที่แล้วมา อาจมีที่ผิดพลาดตกหล่น เมื่อมีการตรวจชำระก็จะทำให้ทุกถ้อยคำและตัวอักษร มีความถูกต้องสมบูรณ์ปราศจากข้อผิดพลาด
          โดยเฉพาะในประเทศไทย ได้มีการตรวจชำระพระไตรปิฎกหลายครั้ง ดังต่อไปนี้
          
          ครั้งที่ ๑ เมื่อ พ.ศ. ๒๐๒๐ พระเจ้าติโลกราชทรงอุปถัมภ์ให้มีการทำสังคายนาตรวจชำระพระไตรปิฎกขึ้นที่เมืองเชียงใหม่
          ครั้งที่  ๒  เมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๑  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระมหากษัตริย์พระองค์แรกแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ทรงประกาศให้มีการสังคายนาตรวจชำระพระไตรปิฎก ถือว่าเป็นครั้งที่ ๙ (นวมสังคายนา)โดยจัดลำดับ ๓ ครั้งในอินเดีย ๔ ครั้งในศรีลังการวมเป็น ๗ ครั้ง  ครั้งที่ ๘ ที่เชียงใหม่และครั้งที่ ๙ ที่กรุงเทพมหานคร แต่การสังคายนครั้งที่ ๘ และ ๙ นั้นก็ยังมิได้มีการจัดพิมพ์คงทำเพียงการจดจารึกหรือจารข้อความในพระไตรปิฎกที่ตรวจชำระแล้วลงในใบลานแต่ก็ต้องถือว่าเป็นกิจกรรมที่สำคัญยิ่งเพราะต้องใช้ผู้มีความรู้ทั้งฝ่ายสงฆ์และฝ่ายคฤหัสถ์จำนวนมาก และต้องได้รับพระบรมราชูปถัมภ์จึงสำเร็จได้ด้วยดี
          ครั้งที่ ๓ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่  ๕แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงประกาศให้มีการสังคายนา จัดพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นเล่มหนังสือนับเป็นการพิมพ์พระไตรปิฎกครั้งแรกในประเทศ-ไทย พิมพ์เสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๖ ถ้าจะนับตามประกาศในรัชกาลที่ ๑ ครั้งนี้นับเป็นการสังคายนาครั้งที่ ๑๐
          ครั้งที่ ๔ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๘ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงเปิดโอกาสให้พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ พ่อค้า และประชาชนโดยเสด็จพระราชกุศลจัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ ๔๕ เล่มเพื่อให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น พิมพ์เสร็จเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๓ ครั้งนี้ได้มีการสอบทานกับพระไตรปิฎกฉบับอักษรโรมัน อักษรพม่า และอักษรลังกา มีข้อน่าสังเกตในครั้งนี้ก็คือไม่มีการประกาศว่าเป็นการสังคายนา
          ครั้งที่ ๕ มีประกาศพระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เรื่องสังคายนาพระธรรมวินัยตรวจชำระพระไตรปิฎกลงวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๒๘ ปรารภคำถวายพระพรของสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (วาสน์ วาสโน) วัดราชบพิธ เห็สมควรดำเนินการสังคายนาพระธรรมวินัยชำระพระไตรปิฎกฉบับหลวง เฉลิมพระเกียรติในศุภวาระดิถีมหามงคลที่ทรงเจริญพระชนพรรษา ๕ รอบในวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๐ และรัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรี ได้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการสังคายนาพระธรรมวินัยตรวจชำระพระไตรปิฎก เมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์  ๒๕๒๘ และสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงมีพระบัญชาแต่งตั้งคณะกรรมการสังคายนาพระธรรมวินัยตรวจชำระพระไตรปิฎกคณะต่าง ๆ รวม ๗ คณะ ได้เร่งรัดตรวจชำระจัดพิมพ์แล้วเสร็จ ทันเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๐

การชำระพระไตรปิฎก, การชำระพระไตรปิฎก หมายถึง, การชำระพระไตรปิฎก คือ, การชำระพระไตรปิฎก ความหมาย, การชำระพระไตรปิฎก คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 16

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu