ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

หลักเกณฑ์การตั้งชื่อวิทยาศาสตร์สำหรับสัตว์*, หลักเกณฑ์การตั้งชื่อวิทยาศาสตร์สำหรับสัตว์* หมายถึง, หลักเกณฑ์การตั้งชื่อวิทยาศาสตร์สำหรับสัตว์* คือ, หลักเกณฑ์การตั้งชื่อวิทยาศาสตร์สำหรับสัตว์* ความหมาย, หลักเกณฑ์การตั้งชื่อวิทยาศาสตร์สำหรับสัตว์* คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
หลักเกณฑ์การตั้งชื่อวิทยาศาสตร์สำหรับสัตว์*

          การตั้งชื่อวิทยาศาสตร์สำหรับสัตว์มีหลักเกณฑ์สำคัญก็คือ ต้องตั้งเป็นภาษาละติน หรือถ้าเป็นภาษาอื่นก็ต้องทำให้มีลักษณะเป็นภาษาละตินเสียก่อนหลักการตั้งชื่อจะได้กล่าวเป็นตอนๆ ตามหัวข้อในอนุกรมวิธานสัตว์ดังต่อไปนี้คือ

* ตัดตอนและปรับปรุงจาก "ชื่อวิทยาศาสตร์ในสัตวศาสตร์" โดยอนุวรรตน์ วัฒนพงศ์ศิริ วิทยาศาสตร์การเกษตร ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๑๐ หน้า๒๑-๕๓        ๑. ต้องเป็นคำนามเอกพจน์ ในกรรตุการกในภาษาละติน หรือภาษากรีก ถ้าหากคำนั้นไม่ใช่คำละติน ให้ทำคำลงท้ายให้เป็นภาษาละตินและควรเป็นคำง่ายๆ
        ๒. ชื่อกลุ่มสกุล ต้องเขียนขึ้นด้วยอักษรตัวพิมพ์ใหญ่เสมอ
        ๓. ชื่อกลุ่มสกุล ที่มีมากกว่าหนึ่งพยางค์ ถ้าจะนำมาต่อกันจะต้องเป็นภาษาเดียวกัน เช่น คำละตินกับละติน หรือกรีกกับกรีก
        ๔. ชื่อกลุ่มสกุล ที่ตั้งจากชื่อคน คนมีชื่อเสียงในสมัยโบราณ หรือชื่อตัวเอกในวรรณคดีโบราณถ้าไม่ใช่ภาษาละตินแล้วให้เปลี่ยนท้ายคำของชื่อเหล่านั้นให้เป็นลักษณะภาษาละติน
        ๕. ชื่อกลุ่มสกุล ที่ตั้งจากชื่อคนในสมัยปัจจุบันเพื่อเป็นเกียรติแก่นักวิชาการในสาขาวิชานั้นๆหรือผู้ที่ให้ความร่วมมือในการค้นคว้าและวิจัย เป็นต้นให้กระทำดังนี้
                ก) ถ้าชื่อคนลงท้ายด้วยพยัญชนะให้ต่อท้ายด้วย "-ius","-ia" หรือ "-ium" เช่น -ius, Selysเป็น Selysius หรือ -ia,Lamarck เป็น Lamarckia และ -ium,Mathews เป็น Mathewsium
                ข) ถ้าชื่อคนลงท้ายด้วยสระ e,i,o,u หรือ y ให้ต่อท้ายด้วย "-us","a" หรือ "-um" เช่น Milneเติม "-um" เป็น Milneum
                ค) ถ้าชื่อคนลงท้ายด้วยสระ "a" ให้ต่อ ท้ายด้วย "-ia" เช่น Dana เติม -ia เป็น Danaia
                ง) ถ้าชื่อคนมีคำนำหน้าดังต่อไปนี้
                        (๑) Mac, Mc, M  และตามด้วยอักษรตัวต่อไปที่เขียนด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ ให้เปลี่ยนเป็น
อักษรตัวเล็ก และเขียนเต็มติดกัน เช่น Mc Cookเป็น Macookius หรือ Maccookia
                        (๒) ถ้าเป็น "O" และมีเครื่องหมายอะโพสโทรฟี (apostrophe) อยู่เป็น "O" ให้ตัดอะโพสโทรฟีออกเสีย และอักษรตัวต่อไปที่ตามมาให้เปลี่ยนเป็นตัวพิมพ์เล็กและเขียนติดกัน แล้วปฏิบัติตามกฎข้อ ก) ข) และ ค) ข้างต้น เช่น O' Connorเป็น Oconnor และเป็น Oconnorius, Oconnoria หรือOconnorium
                        (๓) คำนำหน้านาม (articles) เช่นle, la, l', les, el, il, lo หรือ du, de, des, del, della ให้เขียนติดกับอักษรถัดไป โดยกำหนดว่าถ้าอักษรถัดไป เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ ให้ลดลงเป็นตัวพิมพ์เล็ก แล้วต่อท้ายตามกฎข้อ ก) ข) หรือ ค) แล้วแต่กรณี เช่นDu Bysson เป็น Dubyssonium
                        (๔) ถ้าเป็นคำซึ่งชี้แจงลักษณะในศาสนาคริสต์ เช่น เซนต์ (St.) ให้ตัดคำนั้นออกแล้วต่อท้ายตามกฎข้อ ก) ข) และ ค) เช่น St.Clair เป็นClarius, Claria และ Clarium เป็นต้น
                        (๕) ถ้ามีคำนำหน้าซึ่งเป็นคำในภาษาเยอรมันหรือภาษาดัทช์  ถ้าเขียนด้วยตัวอักษรพิมพ์ใหญ่และเขียนติดกันให้คงไว้ ถ้าเขียนด้วยอักษรพิมพ์เล็กและเขียนแยกกันให้ตัดออก แล้วต่อท้าย
    ตามกฎข้อ ก) ข) และ ค) เช่น Vanhausen เป็น Vanhau-senius, Vanhausenia Von Ihering เป็น Iheringius,Iheringia, Iheringium Van der Vecht เป็น Vechtius,Vechtia, Vechtium
                        (๖) ถ้ามีคำนำหน้านอกจากที่กล่าวมาแล้วในข้อ (๑)-(๕) ให้ตัดออกแล้วต่อท้ายตามกฎอ ก) ข) และ ค) แล้วแต่กรณี
        ๖. ถ้าชื่อกลุ่มสกุล ที่ตั้งจากชื่อเรือต้องต่อท้ายชื่อเรือนั้นตามกฎข้อ ๕ ก) ข) และ ค) แล้วแต่กรณี ดังเช่น Challenger เป็น Challengeria
        ๗. ชื่อกลุ่มสกุล อาจจะมีทั้งภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาคลาสสิก หรือภาษาอินโดยูโรเพียน (Indo European) ได้แก่ Vanikoro, Zua๘. ชื่อกลุ่มสกุล ที่ตั้งจากการเลือกตั้งอักษร มารวมกัน เช่น Velletia, Neda, Salifa.
        ๙. ชื่อกลุ่มสกุล ที่ตั้งขึ้นด้วยการเปลี่ยนตำแหน่งอักษรสลับกันไป เช่น Limax เป็น Milax
        ๑๐. ชื่อกลุ่มสกุล ที่ตั้งจากภาษาละติน หรือกรีกแสดงถึงการลดน้อยลง การเปรียบเทียบกับความคล้ายคลึงกัน หรือแสดงความเป็นเจ้าของเช่น Dolium เป็น Doliolum Limax เป็น Limacella
        ๑๑. ชื่อกลุ่มสกุล ที่ตั้งขึ้นโดยเติมคำนำหน้าลงในชื่อสกุลเดิมที่ตั้งไว้แล้ว เช่น จากสกุล Triatoma ซึ่งตั้งโดย La Porte เป็น Patriatoma ตั้งโดย Barberเป็น Neotriatoma ตั้งโดย Pinto เป็น Eutriatoma
        ๑๒. ชื่อกลุ่มสกุล ที่ตั้งขึ้นโดยเปลี่ยนคำพยางค์หน้า แต่ให้พยางค์หลังคงที่ เช่น Chionaspisเป็น Diaspis

หลักเกณฑ์การตั้งชื่อวิทยาศาสตร์สำหรับสัตว์*, หลักเกณฑ์การตั้งชื่อวิทยาศาสตร์สำหรับสัตว์* หมายถึง, หลักเกณฑ์การตั้งชื่อวิทยาศาสตร์สำหรับสัตว์* คือ, หลักเกณฑ์การตั้งชื่อวิทยาศาสตร์สำหรับสัตว์* ความหมาย, หลักเกณฑ์การตั้งชื่อวิทยาศาสตร์สำหรับสัตว์* คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 2

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu