ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

อาคารประกอบของเขื่อนทดน้ำ, อาคารประกอบของเขื่อนทดน้ำ หมายถึง, อาคารประกอบของเขื่อนทดน้ำ คือ, อาคารประกอบของเขื่อนทดน้ำ ความหมาย, อาคารประกอบของเขื่อนทดน้ำ คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
อาคารประกอบของเขื่อนทดน้ำ


          นอกจากฝายหรือเขื่อนระบายน้ำ   ซึ่งสร้างขึ้นสำหรับทดน้ำให้มีระดับสูงตามที่ต้องการแล้ว ที่บริเวณต้นน้ำของโครงการชลประทาน หรือที่บริเวณใกล้กับอาคารเขื่อนทดน้ำ ยังจะต้องสร้างอาคารซึ่งเป็นอาคารประกอบอื่นๆอีกตามความจำเป็น  เพื่อให้การทดน้ำและการส่งน้ำเป็นไปอย่างสมบูรณ์  อาคารประกอบที่สำคัญมีดังต่อไปนี้
          
          ก. ประตูหรือท่อปากคลองส่งน้ำสายใหญ่ ที่บริเวณปากคลองส่งสายน้ำใหญ่ ซึ่งรับน้ำจากแหล่งน้ำหน้าเขื่อนทดน้ำทุกแห่ง จะต้องมีอาคารสำหรับควบคุมจำนวนน้ำที่จะให้ไหลเข้าคลองส่งน้ำตามที่ต้องการ  คลองส่งน้ำที่มีขนาดใหญ่อาจจะสร้างเป็นอาคารที่มีรูปร่างคล้ายกับเขื่อนระบายน้ำ   แต่มีขนาดเล็กกว่าโดยให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำที่ต้องการสูงสุดของคลองส่งน้ำนั้นและที่บริเวณด้านหน้าของช่องระบายน้ำ ก็จะมีบานประตูเพื่อใช้ปิดและเปิดสำหรับควบคุมปริมาณน้ำให้ได้ตามจำนวนด้วย  ส่วนคลองส่งน้ำที่มีขนาดเล็ก อาจจะสร้างเป็นอาคารแบบท่อ   และมีบานประตูติดตั้งไว้ที่ปากทางเข้าท่อ  สำหรับใช้เพื่อควบคุมปริมาณน้ำด้วยเช่นกัน

          ข. ประตูระบายทราย ปกติแล้วมักจะสร้างควบคู่ไปกับเขื่อนทดน้ำประเภทฝาย โดยมีช่องระบายน้ำลึกลงไปจนถึงระดับท้องน้ำธรรมชาติ สำหรับระบายตะกอนทรายที่บริเวณหน้าประตูหรือท่อปากคลองส่งน้ำสายใหญ่   และบริเวณด้านหน้าของฝายบางส่วนทิ้งไปทางด้านท้ายฝาย  เพื่อป้องกันไม่ให้ตะกอนไหลเข้าไปตกจนในคลองส่งน้ำจมตื้นเขิน    นอกจากนี้ในฤดูน้ำหลาก ซึ่งมีปริมาณน้ำไหลมามาก  ก็จะสามารถช่วยระบายน้ำได้อีกด้วย นอกเหนือจากการที่น้ำไหลล้นข้ามสันฝายตามปกติส่วนเขื่อนระบายน้ำจะมีช่องระบายน้ำผ่านตัวเขื่อนลึกถึงระดับท้องน้ำจะทำหน้าที่ระบายตะกอนทรายที่บริเวณด้านหน้าเขื่อนได้ดีอยู่แล้ว จึงไม่ต้องสร้างประตูระบายทรายเหมือนกับงานฝาย

          อาคารประตูระบายทรายโดยมากจะสร้างติดกับฝาย  ทางด้านที่มีประตูหรือท่อปากคลองส่งน้ำ  ลักษณะของอาคารจะสร้างเป็นช่องระบาย ซึ่งมีระดับพื้นต่ำกว่าพื้นของประตูหรือท่อปากคลองส่งน้ำ   โดยจะมีขนาดความกว้างตามปริมาณของตะกอนทรายที่คาดว่าจะต้องระบายทิ้งไป หรือตามปริมาณน้ำส่วนหนึ่งที่ต้องการระบายในฤดูน้ำหลากนั้น

          ค. ทางสำหรับซุงผ่าน   ในลำน้ำที่มีการล่องซุงเป็นประจำ  จะนิยมสร้างร่องน้ำสำหรับให้ซุงผ่านไว้ที่ตัวฝาย  โดยลดระดับให้ต่ำลงมาจากสันฝาย  เมื่อมีการล่องซุงถึงบริเวณร่องน้ำดังกล่าว ก็จะสามารถผ่านไปได้โดยไม่ติดค้างอยู่ที่สันฝาย  ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายแก่ตัวฝาย  หรือเป็นอุปสรรคต่อการทดและส่งน้ำได้

          ลักษณะของร่องน้ำจะต้องมีขนาดกว้างและลึกลงไปจากสันฝาย พอที่จะให้ซุงขนาดใหญ่จำนวนหนึ่งผ่านไปได้ในคราวเดียวกัน   ท้องร่องน้ำจะมีความลาดเอียงไปทางด้านท้ายฝายพร้อมกับมีกำแพงกันอยู่ทั้งสองด้าน    และที่ปากทางเข้าของร่องน้ำจะต้องติดตั้งบานประตู สำหรับป้องกันไม่ให้น้ำทางด้านหน้าฝายไหลผ่านไปได้ตลอดเวลาด้วย

          ง. บันไดปลา เป็นร่องน้ำขนาดเล็ก ซึ่งสร้างไว้ที่บริเวณปลายฝายหรือเขื่อนระบายน้ำด้านใดด้านหนึ่ง  มีลักษณะเป็นบ่อขังน้ำที่มีความลาดเอียงและเป็นขั้นบันได โดยปากทางเข้าจะลดระดับให้ต่ำกว่าระดับน้ำที่ต้องการทดอัดเล็กน้อย เมื่อน้ำถูกอัดจนถึงระดับที่ต้องการแล้ว จะมีน้ำไหลลงไปตามร่องน้ำ  ซึ่งจะมีน้ำขังอยู่เป็นแอ่ง  และไหลตกเป็นขั้นบันไดเตี้ยๆ  ทำให้ปลาสามารถว่ายทวนน้ำจากทางด้านท้ายอาคารไต่ขั้นบันไดที่มีน้ำไหลตลอดเวลานั้นขึ้นไปทางด้านหน้าของอาคารได้    ดังนั้นในลำน้ำที่มีน้ำไหลตลอดปีและเป็นแหล่งที่มีปลา  การสร้างบันไดปลาไว้ด้วย จะเป็นการช่วยสงวน   และขยายพันธุ์ปลาตามธรรมชาติให้เหมือนกับสภาพเดิมที่เคยเป็นอยู่  ซึ่งถ้าไม่มีบันไดปลาแล้ว ปลาจะว่ายข้ามสันฝายหรือผ่านเขื่อนระบายน้ำไปได้ยากเพราะน้ำที่ไหลข้ามฝายหรือผ่านเขื่อนระบายน้ำมานั้นมีความแรงมาก

          จ. ประตูเรือแพสัญจร ในลำน้ำที่ใช้เป็นทางคมนาคมด้วยนั้น จำเป็นที่จะต้องสร้างอาคารสำหรับให้เรือและแพซุงผ่านไปมาได้   โดยสร้างไว้ทางด้านใดด้านหนึ่งติดกับเขื่อนทดน้ำ หรือในบริเวณที่เหมาะสมใกล้ๆกับตัวเขื่อน    ประตูเรือแพสัญจรนี้นอกจากจะสร้างคู่กับเขื่อนทดน้ำแล้ว  ยังจะต้องสร้างคู่กับอาคารทดน้ำของคลองส่งน้ำขนาดใหญ่   ซึ่งใช้เป็นทางคมนาคมด้วยเสมอ    ประตูเรือแพสัญจรนี้อาจเรียกกันทั่วไปอีกอย่างหนึ่งว่า "ประตูน้ำ"

          ลักษณะของประตูเรือแพสัญจร   ประกอบด้วยร่องหรืออ่างพักน้ำขนาดใหญ่พอที่จะให้เรือและแพผ่านไปมาได้  ซึ่งทั้งทางด้านหน้าและด้านท้ายของร่องน้ำจะติดตั้งบานประตูสำหรับเปิดและปิดไว้  เมื่อเรือและแพซุงจะผ่านไปทางด้านท้ายเขื่อน  บานประตูด้านท้ายของร่องน้ำหรืออ่างพัก ซึ่งปิดไว้ ทำให้ระดับน้ำในอ่างพักเท่ากับระดับน้ำด้านหน้าเขื่อน    เมื่อเรือและแพซุงผ่านเข้ามาในอ่างพักแล้ว จึงปิดบานประตูด้านหน้า  แล้วระบายน้ำในอ่างพักออกทางช่องระบายน้ำ  จนระดับน้ำในอ่างพักเท่ากับระดับน้ำทางด้านท้ายเขื่อน จึงจะเปิดประตูให้เรือและแพออกไป หากจะนำเรือผ่านขึ้นไปด้านเหนือเขื่อน ก็เปิดบานประตูทางด้ายซ้าย รับเรือเข้าไปในอ่างพัก ในขณะที่บานประตูทางด้านเหนือเขื่อนยังปิดอยู่  หลังจากนั้นจึงปิดบานประตูด้านท้ายพร้อมกับระบายน้ำจากด้านหน้าเขื่อนเข้าไปในอ่างพักจนมีระดับน้ำเท่ากัน  แล้วจึงเปิดบานประตูด้านหน้าให้เรือผ่านออกไปทางด้านเหนือเขื่อนได้

อาคารประกอบของเขื่อนทดน้ำ, อาคารประกอบของเขื่อนทดน้ำ หมายถึง, อาคารประกอบของเขื่อนทดน้ำ คือ, อาคารประกอบของเขื่อนทดน้ำ ความหมาย, อาคารประกอบของเขื่อนทดน้ำ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 7

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu