ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

เครื่องมือทุ่นแรงและเครื่องจักรกลเกษตร, เครื่องมือทุ่นแรงและเครื่องจักรกลเกษตร หมายถึง, เครื่องมือทุ่นแรงและเครื่องจักรกลเกษตร คือ, เครื่องมือทุ่นแรงและเครื่องจักรกลเกษตร ความหมาย, เครื่องมือทุ่นแรงและเครื่องจักรกลเกษตร คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
เครื่องมือทุ่นแรงและเครื่องจักรกลเกษตร

         พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบดีว่าการทำไร่ทำนานั้นมีความยากลำบากและเป็นงานหนักที่ต้องใช้แรงงานมาก เกษตรกรจะต้องไถเตรียมดิน ปลูก ดูแลรักษาพืช เก็บเกี่ยวและนวดขนย้ายผลิตผล งานต่างๆ ที่ชาวไร่ชาวนาต้องทำจะต้องทำให้ดี ทันต่อระยะเวลาและฤดูกาลพระองค์ทอดพระเนตรการณ์ไกลถึงความจำเป็นที่เกษตรกรจะต้องใช้เครื่องจักรกลเกษตรที่เหมาะสมมาใช้งาน ดังนั้นจึงได้ทรงพระราชดำริกับหม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล หัวหน้ากองเกษตรวิศวกรรม กรมการข้าว ในสมัยเมื่อ ๔๐ ปีก่อน ให้ทำงานวิจัยพัฒนาเครื่องจักรกลเกษตรต่างๆ ให้เหมาะสมต่อการผลิตและการใช้งานในประเทศไทย
        เครื่องจักรกลเกษตรประเภทต่างๆ ที่ได้มีการวิจัยพัฒนาในสมัยนั้น เช่น ท่อสูบน้ำเทพฤทธิ์ควายเหล็ก เครื่องนวดข้าว และเครื่องสีข้าวแบบแรงเหวี่ยง ได้รับพระราชทานพระราชวินิจฉัยอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นแนวทางการปรับปรุงเครื่องจักรกลเกษตรเหล่านั้นให้ใช้งานได้ดี  เป็นผลให้ปัจจุบันมีการผลิตโดยโรงงานเอกชนในประเทศผลิตเครื่องจักรกลเกษตรในราคาไม่แพงนัก และเกษตรกรได้ใช้งานเป็นกำลังสำคัญในการผลิตผลิตผลการเกษตรของประเทศไทย
        ในปี พ.ศ. ๒๕๐๔ จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมการข้าว (เดิม) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นำพันธุ์ข้าวต่างๆ มาทดลองปลูกในบริเวณสวนจิตรลดา และให้หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล นำควายเหล็กหรือรถไถแบบ ๔ ล้อ ใช้เครื่องยนต์ดีเซล ๘.๕ แรงม้า ไปใช้งานเตรียมดิน และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานคำแนะนำในการปรับปรุง "ควายเหล็ก" ให้ได้รูปแบบที่ดีเหมาะสมกับการใช้งาน และผลิตในประเทศไทยซึ่งในตอนนั้นพระองค์ท่านทรงขับรถไถนา ควายเหล็ก เพื่อเตรียมแปลงปลูกข้าว
         ด้วยสายพระเนตรที่กว้างไกล ทรงเล็งเห็นถึงความจำเป็นที่ชาวไร่ชาวนาจะต้องใช้เครื่องจักรกลเกษตร ตั้งแต่เมื่อ ๔๐ ปีก่อน ทำให้ปัจจุบันประเทศไทยมีความก้าวหน้าในการผลิตเครื่องจักรกลเกษตรใช้เองในประเทศ เช่น ควายเหล็ก หรือรถไถเดินตามประเภท ๒ ล้อ มีโรงงานเอกชนประมาณ ๓๐ แห่ง ผลิตปีละประมาณ ๗๐,๐๐๐เครื่อง เป็นกำลังสำคัญในการทำไร่ ทำนา และส่งออกจำหน่ายให้ประเทศใกล้เคียง และในยุโรป
         ปัจจุบันได้มีการดำเนินการต่อเนื่องจากภาครัฐและเอกชนในแนวทางที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชดำริไว้ ทำให้มีการผลิตและการใช้งานเครื่องจักรกลเกษตรอย่างแพร่หลายในประเทศไทย

         การใช้เครื่องมือทุ่นแรงการเกษตรนั้น บางท่านอาจจะมีข้อข้องใจว่า จะช่วยลดต้นทุนการผลิตได้อย่างไร ในเมื่อเกษตรกรต้องใช้เงินลงทุนซื้อเครื่องทุ่นแรง ซึ่งบางครั้งอาจจะสูงเกินกำลังความสามารถของเกษตรกรก็ได้  ดังนั้นจึงขอทำความเข้าใจในขั้นนี้ก่อนว่าเครื่องมือทุ่นแรงจะสามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ต่อเมื่อเกษตรกรสามารถใช้งานเครื่องมือทุ่นแรงต่างๆ ที่ตนซื้อมาได้อย่างคุ้มค่า กล่าวคือ มีจำนวนชั่วโมงการใช้งานเพียงพอมิฉะนั้นอาจจะกลายเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิตก็ได้ดังนั้นเงื่อนไขประกอบการพิจารณาข้อแรกก่อนการลงทุนซื้อเครื่อง ก็คือ เกษตรกรมีงานที่จะใช้กับเครื่องมือทุ่นแรงมากน้อยเพียงไร  สามารถจะใช้รับจ้างได้แค่ไหน แล้วนำมาพิจารณาดูความเหมาะสมว่าควรจัดซื้อไว้ใช้งานของตนหรือไม่หรือเกษตรกรอาจจะใช้วิธีว่าจ้างจากเจ้าของเครื่องที่รับจ้างอยู่ในพื้นที่ของตน

การใช้เครื่องมือทุ่นแรงจะทำให้เกิดประโยชน์ดังนี้
         
๑. เครื่องมือทุ่นแรงทำงานได้รวดเร็วทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจ้างแรงงานคนและสามารถทำงานได้ทันต่อช่วงเวลาการเพาะปลูกที่เหมาะสม
          ๒. เกษตรกรสามารถเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกได้มากขึ้น เนื่องจากเครื่องมือทุ่นแรงสามารถช่วยแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับแรงงานคนและช่วงเวลาที่มีอยู่จำกัด  อันจะเป็นการช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร
          ๓. เครื่องมือทุ่นแรงช่วยให้เกษตรกรสามารถปฏิบัติงานตามขั้นตอนต่างๆ ของการเพาะปลูกได้อย่างประณีต เช่น กำจัดวัชพืชได้อย่างสะดวก ปลูก เก็บเกี่ยว และนวดหรือกะเทาะได้ทันฤดูกาล ทำให้ผลิตผลต่อไร่สูงขึ้น
         ๔. ลดการสูญเสียผลิตผลในช่วงการเก็บเกี่ยวและนวด ซึ่งการใช้แรงงานคนจะทำให้มีการร่วงหล่นของเมล็ดพืชมาก
         ๕. นอกจากที่กล่าวมาข้างต้น ประโยชน์ทางอ้อมที่สำคัญประการหนึ่งของเครื่องมือทุ่นแรงก็คือ การลดความเหนื่อยยากลำบากของเกษตรกรในการประกอบเกษตรกรรม
         จากตารางที่ ๑ จะเห็นว่าเครื่องจักรกลเกษตรได้มีการใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
         การทำเกษตรกรรมเพาะปลูกพืช ประกอบด้วยกิจกรรมหรืองานที่จะต้องทำซึ่งแบ่งออกเป็นกิจกรรม ๕ ขั้นตอนด้วยกัน คือ ขั้นตอนการเตรียมดิน ขั้นตอนการปลูกพืช ขั้นตอนการดูแลและอารักขาพืช ขั้นตอนการเก็บเกี่ยวและนวดขั้นตอนสุดท้ายคือการลดความชื้นเมล็ดพืช

 ตารางที่ ๑ เครื่องจักรกลเกษตรที่สำคัญซึ่งเกษตรกรใช้อยู่ เปรียบเทียบระหว่างปี พ.ศ.๒๕๒๓ กับ พ.ศ.๒๕๓๓

รายการ

พ.ศ. ๒๕๒๓

พ.ศ. ๒๕๓๓

เปอร์เซ็นต์การเพิ่ม

  รถไถเดินตาม ๒ ล้อ
  รถแทรกเตอร์ขนาดใหญ่
  เครื่องพ่นยาชนิดใช้แรงงาน
  เครื่องพ่นยาชนิดใช้เครื่องยนต์
  เครื่องสูบน้ำ
  เครื่องนวดเมล็ดพืช

      ๒๘๐,๕๙๑
       ๓๗,๑๗๗
๑,๑๓๘,๐๒๕
    ๑๓๐,๑๑๘
    ๕๑๗,๙๗๕
       ๑๘,๓๙๔

     ๗๕๐,๕๔๒
        ๕๗,๗๓๙
๓,๒๖๔,๖๐๔
    ๒๒๓,๔๓๓
๑,๑๐๑,๘๕๐
        ๔๑,๘๗๖

๑๖๗.๔๙
     ๕๕.๓๑
๑๘๖.๘๖
   ๗๑.๘๖
๑๑๒.๗๒
๑๒๗.๖๖


แหล่งที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

เครื่องมือทุ่นแรงและเครื่องจักรกลเกษตร, เครื่องมือทุ่นแรงและเครื่องจักรกลเกษตร หมายถึง, เครื่องมือทุ่นแรงและเครื่องจักรกลเกษตร คือ, เครื่องมือทุ่นแรงและเครื่องจักรกลเกษตร ความหมาย, เครื่องมือทุ่นแรงและเครื่องจักรกลเกษตร คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 22

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu